การศึกษาหัวข้อเฉพาะการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

Special Topics in Logistics and Supply Chain Management

เพื่อศึกษาศึกษา วิเคราะห์และอภิปราย ในหัวข้อที่น่าสนใจทางการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
** ไม่มี  เนื่องจากเป็นหลักสูตรใหม่ ที่เปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2560
ศึกษา วิเคราะห์และอภิปราย ในหัวข้อที่น่าสนใจทางการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
-  อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
 - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1. มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
2.  แสดงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ
3.  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
4.  เคารพในระเบียบและกฎเกณฑ์ขององค์กรและสังคม
1.  ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
2.  เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และแสดงถึงการมี เมตตา กรุณา และความเสียสละ
3.  เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนเองที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.   การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
2.   สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
3.   นักศึกษาประเมินการแต่งกายของเพื่อนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
1.  เข้าใจ และวิเคราะห์หลักการและทฤษฎีพื้นฐานด้านโลจิสติกส์
2.  สามารถนำไปประยุกต์ในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ได้
3.  เข้าใจ และวิเคราะห์หลักการของศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ เช่น หลักเศรษฐศาสตร์ หลักกฎหมาย หลักการจัดการ เป็นต้น และสามารถนำมาประยุกต์หรือเป็นพื้นฐานของโลจิสติกส์
2.  ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.  จัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.  ฝึกการแก้ปัญหาจากการสร้างสถานการณ์จำลอง
4.  จัดศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมการเรียนรู้
1.   ประเมินจากแบบทดสอบด้านทฤษฎี สำหรับการประเมินจากผลงาน
2.   การสอบย่อย
1. มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในสถานการณ์จริง
2. สามารถแก้ปัญหาทางโลจิสติกส์ได้โดยนำหลักการต่างๆมาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม
3. มีความใฝ่หาความรู้
1.   ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา ( Problem Based Instruction )
2.   ให้นักศึกษาคิดและวิเคราะห์จากสถานการณ์จริง
3.   มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์
1.   ประเมินจากการรายงานผลการดำเนินงานและแก้ปัญหา
2.   ประเมินผลการคิดจำลองสถานการณ์จริง
3.   ประเมินจากผลงานที่มอบหมายแก่นักศึกษา
1.  สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
2.  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3.  สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.  มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
5.  มีภาวะผู้นำ
1.  ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2.  ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับในงานกลุ่ม
1.  ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
2.  ประเมินพฤติกรรมภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
3.  ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
1. มีทักษะการใช้ภาษาไทยในการอธิบายหลักการและสถานการณ์ตลอดจนการสื่อสารความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน
3.  มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในอันที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ตลอดจนนำเสนอข้อมูลโดยใช้คณิตศาสตร์หรือสถิติ
4. ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้
1.  ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
2.  มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ และให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้น
3.  การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับหมอบหมาย
1.  สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
2.  ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
1. มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
1. สร้างเจตคติที่ดีต่อการในการใช้เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพ
2.   ฝึกนักศึกษาให้มีกิจนิสัยที่ดีในการทำงานกลุ่มโดยยึดแนวทางของการควบคุมคุณภาพ
1.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานและจดบันทึก
2. สร้างแบบประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงาน
3.  พิจารณาผลการรวมทั้งงานที่มอบหมายจากอาจารย์ผู้สอน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1,3.2, 3.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.3, 5.4, 6.1, 6.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9, 18 สอบกลางภาค 25% สอบปลายภาค 25%
2 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1,3.2, 3.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.3, 5.4, 6.1, 6.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1,3.2, 3.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.3, 5.4, 6.1, 6.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
Best Practices & Lessons Learned. การเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาตอุตสาหกรรม พื้นที่ภาคเหนือ. สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม.
อรุณ  บริรักษ์. Logistics Cast Study in Thailand. เล่มที่ 11 – 15.
วารสาร Logistics Thailand
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
      4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
      4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
      5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
            5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ