การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

Small Business Management

1.1. เพื่อให้นักศึกษารู้แนวทางการจัดการธุรกิจขนาดย่อมตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจ ช่วงเติบโต และการถอนตัวจากธุรกิจ
1.2. เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจการวางแผนกลยุทธ์ การตลาด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการคุณภาพ การจัดการหุ้นส่วนทางธุรกิจ และกฎหมายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
1.3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจขนาดย่อมได้
1.4. เืพื่อให้นักศึกษามีทักษะการเขียนแผนธุรกิจขนาดย่อม
     เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการให้นักศึกษาทราบว่าต้องเตรียมการด้านใด ปัจจัยใดส่งผลให้ดำเนินธุรกิจขนาดย่อมประสบความสำเร็จ และสามารถบูรณาการความรู้ทั้งด้านรูปแบบธุรกิจ การจัดการตลาด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางกลยุทธ์มาใช้ในการวางแผนดำเนินธุรกิจขนาดย่อม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
 
     ศึกษาถึงความท้าทายและประเด็นในการจัดการที่ธุรกิจขนาดย่อมต้องเผชิญตั้งแต่่การเริ่มต้นธุรกิจไปจนถึงช่วงของการเติบโต การวางกลยุทธ์และนำไปสู่การปฏิบัติ การทำการตลาดสำหรับธุรกิจขนาดย่อม การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการคุณภาพ การจัดการหุ้นส่วนทางธุรกิจ กฎหมายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และการถอนตัวจากธุรกิจ โดยนักศึกษาจะได้วิเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจขนาดย่อมจากกรณีศึกษา และผู้ประกอบการที่มาเป็นวิทยากรรับเชิญ
1 ชั่วโมง/สัปดาห์ เฉพาะนักศึกษารายบุคคลหรือรายกลุ่มที่ต้องการคำปรึกษาทางวิชาการ
1.1.1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
1.2.1. ยกตัวอย่างสอดแทรกจริยธรรม จรรยาบรรณของผู้ประกอบการที่ไม่มีธรรมาภิบาล โดยให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายว่าส่งผลกระทบต่อตนเอง องค์การ ชุมชน และสังคมอย่างไร
1.2.2. กำหนดให้นักศึกษาส่งงานหรือรายงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา โดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ศึกษาทุกครั้ง
1.2.3. มอบหมายให้นักศึกษารับผิดชอบในการปิดสวิทช์ไฟฟ้า พัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ จัดเก้าอี้เรียนให้เรียบร้อยทุกครั้งภายหลังเลิกเรียน
1.3.1. ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในการอภิปรายของนักศึกษา
1.3.2. ประเมินจากผลงานหรือรายงานของนักศึกษา
1.3.3. สังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบดูแลห้องเรียนภายหลังเลิกเรียน
 
2.1.1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษณฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการคามรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2.1.2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามรารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
2.1.3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
2.1.4. มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าในในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.2.1. สอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย บรรยายแบบตั้งคำถาม บรรยายเชิงปฏิบัติการ และอภิปรายกลุ่มแบบต่าง ๆ 
2.2.2. สอนโดยใช้กรณีศึกษาให้นักศึกษาวิเคราะห์
2.2.3. ฝึกเขียนแผนธุรกิจขนาดย่อม
2.2.4. มอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3.1. ประเมินผลจากการสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
2.3.2. ประเมินผลจากแผนธุรกิจขนาดย่อมและการนำเสนอ
2.3.3. ประเมินผลจากงานที่มอบหมายนักศึกษาและการนำเสนอ
2.3.4. ประเมินจากงานที่มอบหมายให้ค้นคว้าเพิ่มเติม
3.1.1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
3.1.3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาจากธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
3.2.1. มอบหมายให้วิเคราะห์กรณีศึกษา
3.2.2. มอบหมายให้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมในการทำงานและรายงานที่มอบหมาย รวมทั้งการจัดทำแผนธุรกิจ
3.3.1. ประเมินจากการวิเคราะห์กรณีศึกษา
3.3.2. ประเมินจากการสืบค้นข้อมูลจากสื่อหลายแหล่งในการจัดทำงาน รายงาน และแผนธูุรกิจ
4.1.1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความีับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อ่ืน รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
4.1.2. มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่างและแสดงความคิดเห็นใหม่่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.3. มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความีับผิดชอบยพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงานในการแก้ไขสถา่นการณ์ต่าง ๆ ท้งในบทบาทของผู้นำและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.2.1. จัดให้นักศึกษาทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
4.2.2. มอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
4.2.3. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล
4.3.1. สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
4.3.2. ประเมินจากผลงาน รายงาน และการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
5.1.2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจโดยใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิค วิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอต้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
5.2.1. ส่งเสริมให้ค้นคว้าข้อมูล เรียบเรียงข้อมูล สรุปและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.2.2. ส่งเสริมให้ค้นข้อมูลแนวโน้มเชิงสถิติเพื่อประกอบการตัดสินใจในการนำเสนอรายงาน 
5.2.3. มอบหมายให้นำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
5.3.1. ประเมินจากผลงานหรือรายงานที่มอบหมายเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5.3.2. ประเมินจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข
5.3.3. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
6.1.1. สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
6.1.3.สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
6.1.4. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความอย่างมีเหตุผล
6.2.1. จัดกิจกรรมวิเคราะห์กรณีศึกษา เพื่อให้บูรณาการองค์ความรู้หลายด้านมาใช้
6.2.2. มอบหมายให้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม 
6.2.3. ฝึกปฏิบัติวางแผนธุรกิจขนาดย่อมซึ่งต้องบูรณาการองค์ความรู้ทางบริหารธุรกิจและศาสตร์อื่น ๆ มาใช้
6.2.4. ฝึกวางกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจโดยนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้อย่างเป็นระบบ
6.3.1. ประเมินผลจากการวิเคราะห์กรณีศึกษา
6.3.2. สังเกตจากพฤติกรรม การแสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา 
6.3.3. ประเมินผลจากแผนธุรกิจที่นำเสนอ
6.3.4. ประเมินผลจากกลยุทธ์ธุรกิจที่นำเสนอ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.2.1. ยกตัวอย่างสอดแทรกจริยธรรม จรรยาบรรณของผู้ประกอบการที่ไม่มีธรรมาภิบาล โดยให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายว่าส่งผลกระทบต่อตนเอง องค์การ ชุมชน และสังคมอย่างไร 1.2.2. กำหนดให้นักศึกษาส่งงานหรือรายงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา โดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ศึกษาทุกครั้ง 1.2.3. ประเมินจากการเข้าชั้นเรียน และมอบหมายให้นักศึกษารับผิดชอบในการปิดสวิทช์ไฟฟ้า พัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ จัดเก้าอี้เรียนให้เรียบร้อยทุกครั้งภายหลังเลิกเรียน 2.2.1. สอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย บรรยายแบบตั้งคำถาม บรรยายเชิงปฏิบัติการ และอภิปรายกลุ่มแบบต่าง ๆ 2.2.2. สอนโดยใช้กรณีศึกษาให้นักศึกษาวิเคราะห์ 2.2.3. ฝึกเขียนแผนธุรกิจขนาดย่อม 2.2.4. มอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน 3.2.1. มอบหมายให้วิเคราะห์กรณีศึกษา 3.2.2. มอบหมายให้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมในการทำงานและรายงานที่มอบหมาย รวมทั้งการจัดทำแผนธุรกิจ 4.2.1. จัดให้นักศึกษาทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม 4.2.2. มอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน 4.2.3. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล 5.2.1. ส่งเสริมให้ค้นคว้าข้อมูล เรียบเรียงข้อมูล สรุปและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล 5.2.2. ส่งเสริมให้ค้นข้อมูลแนวโน้มเชิงสถิติเพื่อประกอบการตัดสินใจในการนำเสนอรายงาน 5.2.3. มอบหมายให้นำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.2.1. จัดกิจกรรมวิเคราะห์กรณีศึกษา เพื่อให้บูรณาการองค์ความรู้หลายด้านมาใช้ 6.2.2. มอบหมายให้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม 6.2.3. ฝึกปฏิบัติวางแผนธุรกิจขนาดย่อมซึ่งต้องบูรณาการองค์ความรู้ทางบริหารธุรกิจและศาสตร์อื่น ๆ มาใช้ 6.2.4. ฝึกวางกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจโดยนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้อย่างเป็นระบบ
1 BBABA212 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1., 2.1.2, 2.1.3, 2.1.4 1. สอบกลางภาคเรียน 2. สอบปลายภาคเรียน 9, 17 ร้อยละ 60
2 3.1.1, 3.1.3, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3, 5.1.2, 6.1.1, 6.1.3, 6.1.4 1. ประเมินผลจากแบบฝึกหัดและผลงานที่กำหนด 2. ประเมินผลจากแผนธุรกิจ 3. ประเมินผลจากการนำเสนอแผนธุรกิจ 4. ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมกิจกรรมกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 30
3 1..1.1 1.. ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในการอภิปรายของนักศึกษา 2.. ประเมินจากผลงานหรือรายงานของนักศึกษา 3. ประเมินจากการเข้าชั้นเรียน และสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบดูแลห้องเรียนภายหลังเลิกเรียน ตลอด ร้อยละ 10
กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพัลลิเคชั่น จำกัด, 2545.
สมชาย หิรํญกิตติ และศิริวรรณ เสรีรัตน์. การบริหารธุรกิจขนาดย่อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด, 2542.
อำนาจ ธีระวนิช. การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2544.
ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์. การจัดกาธุรกิจขนาดย่อม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต, 2544.
ผุสดี รุมาคม. การบริหารธุรกิจขนาดย่อม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, 2540.
ไม่มี
1. เว็บไซต์ธุรกิจแฟรนไชส์
2. เว็บไซต์เกี่ยวกับ Lean Canvas และ BMC
3. เว็บไซต์เกี่ยวกับแนวโน้มตลาดธุรกิจแต่ละประเภท
1. แบบประเมินผู้สอน
2. แบบฝึกหัด
3. สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนรายบุคคลและในการทำงานกลุ่ม
4. การมีส่วนร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในการทำงานกลุ่มและในชั้นเรียน
2.1. ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2. สังเกตความสนใจของผู้เรียน
2.3. ทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากค่าคะแนนจากการเรียนของนักศึกษาและการเสนอแผนธุรกิจของนักศึกษา พบว่า ควรให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนแผนธุรกิจในชั้นเรียนให้มากขึ้นเพือให้เกิดบูรณาการทฤษฎีมาใช้ปฏิบัติได้จริง
     ระหว่างกระบวนการสอนรายวิชามีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ โดยการสอบถามนักศึกษา และตรวจผลงาน แผนธุรกิจขนาดย่อมของนักศึกษา
     หลังจากการตัดเกรดผลการเรียนในรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา โดยการออกข้อสอบ การให้คะแนนสอบ งานที่มอบหมาย และแผนธุรกิจขนาดย่อม รวมถึงการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
     จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้วางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดรายวิชาโดยการจัดลำดับหน่วยเรียนที่ 3 และ 4 สลับกัน เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจแนวคิดทางการตลาดและเลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนจะเริ่มวางแผนธุรกิจ เพื่อให้เกิดคุณภาพมากข้ึนจึงปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4