ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ

English for Professional

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษที่ใช้ในแต่ละอาชีพและสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งตระหนักในความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ และมีเจคคติที่ดีต่อการใช้ภาษาอังกฤษ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการประยุกต์ใช้ภาษาอังกฤษสำหรับศึกษาด้วยตนเอง วิชาชีพ และเป็นพื้นฐานในการเรียนในวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างภาษาอังกฤษที่ใช้ในงานอาชีพ และฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษเพือการสื่อสารในสาขาวิชาชีพ รวมถึงการนำเสนอโครงงาน 
- อาจารย์ประจำรายวิชา กำหนดเวลาในการให้คำปรึกษา
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.4 เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้ โดยเน้นการมีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้  ยังสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสิรมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
1. การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรีน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม 
2. ความีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3. ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4. ความซื้อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ควารู้ในการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือ เชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง 
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3. รายงานที่นักศึกษาจัดทำ
4. งานที่ได้รับมอบหมาย
5. การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
6. แฟ้มสะสมผลงาน
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่างๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานนการณ์จำลอง และกรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง 
1. บทบาทสมมติ หรือสถานการณ์จำลอง
2. การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่างๆ 
3. การนำเสนอรายงานในชั้นรเียน
4. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ดำเนินการสอนโดยกำหนดกิจกรรมกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในงานอาชีพ โดย
1. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3. สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นอย่างดี
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
5. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
6. มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย และสามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม 
1. พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
2. พฤติกรรมที่แสดงออกในการ่วมกิจกรรมต่างๆ 
5.1.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาละเทศ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล 
1. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร  ค้นคว้าหาข้อมูล การนำเสนอผลงาน และใช้ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฎิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม 
 
1. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และสามารถใช้นำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 GEBLC104 ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9, 17 25%, 25%
2 2.3, 3.2, 5.3 การนำเสนอโครงงานเป็นภาษาอังกฤษ 11 10%
3 2.3, 3.2, 4.2, 5.3 ทดสอบ Interview 16 10%
4 2.3, 3.2, 4.2, 4.4, 5.3 การส่งงานตามที่มอบหมาย การศึกษาค้นคว้าและการนำเสนอ การเข้าร่วมกิจกรรมและการฝึกปฏิบัติ การทำงานกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 20%
5 1.1, 1.21.4 การเข้าชั้นเรียน, การส่งงานตรงเวลา ความรับผิดชอบ มีคุณธรรมจริยธรรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
- Vaughan, A & Zemach, D.E. (2019). Get ready for international business: English
for the workplace (Student’s Book 2). London: Macmillan.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
https://www.resume.com/builder#Step1
https://www.eslfast.com/robot/topics/employment/employment04.htm
https://businesstown.com/articles/how-to-conduct-a-job-interview-a-sample-conversation/
https://www.princeton.edu/~archss/webpdfs08/BaharMartonosi.pdf
http://www.bbc.co.uk/worldservice/learningenglish/business/talkingbusiness/unit3presentations/expert.shtml
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา ดำเนินการดังนี้
1.1 นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
1.2 การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
1.3 ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
2.2 สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
2.3 ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจเนื้อหา
2.4 ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
3.1 ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
3.2 สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียนและปรับปรุงแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
3.3 สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งเพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อๆ ไป
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและรายงานโดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้าหรือไม่มี จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบาทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้นหรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
การวางแผนการปรับปรุงการสอนและเนื้อหาวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
5.2 มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ๆ และตามความน่าสนใจ
5.3 ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลายและสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียนหรือตามที่ได้ศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
5.4 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาและของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี