ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

Accounting Information System

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจ เพื่อให้นักศึกษามมีทักษะในการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐานได้แก่ วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง วงจรการบริหารการเงิน ประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจร ทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบสารสนเทศทางการบัญชีและสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านการบัญชีของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและคณะกรรมการบริหารวิชาชีพการบัญชี (การบัญชี)
ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจ การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐาน วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง วงจรการบริหารเงิน ประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจร ทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
อาจารย์ผู้สอนในชั่วโมง Home Room หรือรายกลุ่มตามต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัยมาเรียนตรงต่อเวลา ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และ สิ่งแวดล้อม
สอนหัวข้อจรรยาบรรณของนักบัญชีและความสำคัญของการรักษาจรรยาวิชาชีพ พร้อมยกตัวอย่าง กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และสุ่มนศ. อภิปรายในชั้นเรียนวันละ 1 -2 เรื่อง โดยใช้เวลา 15 นาทีก่อนเรียนเนื้อหาวิชา การสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในการสอน กำหนดกติกาการเข้าเรียน การส่งงาน และการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิด การเรียนรู้ในชั้นเรียน ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติ
ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ประเมินผลจากการแสดงความคิดเห็นในเชิงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพจากการ อภิปราย กรณีเหตุการณ์จริงและกรณีศึกษา
1) ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบ สารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงาน เพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจ
2) ความรู้ในเทคนิควิธีการวิเคราะห์การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี วงจร ธุรกิจขั้นพื้นฐาน วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต ประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่ เกี่ยวข้องในแต่ละวงจร ทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
3) ความรู้ความสามารถในนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี มาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ใน แต่ละช่วงเวลา
4) การความรู้ในการนำผลการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศทางการบัญชี มาใช้ในการนำเสนอผู้บริหารเพื่อ ประกอบในการวางแผนควบคุม และตัดสินใจ ในการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและต่อไปในอนาคต ได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ
1) ใช้การสอนแบบกรณีศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น สอบถามในประเด็นที่ไม่ เข้าใจ
2) ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้ นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต
3) ให้ทำงานกลุ่ม ในรูปแบบ Team based Learning และมอบหมายให้ออกแบบระบบสารสนเทศ ทางการบัญชี วงจรธุรกิจพื้นฐาน
4) เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศทางบัญชี/ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง มาให้ความรู้เพิ่มเติมกับ นักศึกษาเพื่อเกิดการเรียนรู้จากผู้มีประสบการโดยตรง
ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษา ที่มอบหมายให้ทำ ประเมินจากการทดสอบ การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล หลักฐาน แนวคิดต่าง ๆ ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มี ความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง

2) สามารถประยุกต์ความรู้ทางระบบสารสนเทศทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทาง วิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ อย่าง สร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดจากการตัดสินใจ
ทำแบบฝึกหัดโดยใช้โจทย์ปัญหา / กรณีศึกษา ที่ค่อนข้างซับซ้อน การอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับกรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมายและนำเสนอ
ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด แก้ปัญหาจากกรณีศึกษา ประเมินจากการสอบกลางภาค การสอบปลายภาค ผลงานกลุ่ม ประเมินจากคุณภาพของงานที่มอบหมายให้ทำ
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้มอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรม ขององค์กรได้เป็นอย่างดี สามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและบทบาทของผู้ร่วมงาน
จัดกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา จากการมอบหมายงาน และสลับกันเป็นผู้นำกลุ่มในการนำเสนอ จัดกิจกรรมตอบปัญหา ซักถาม แสดงความคิดเห็นในแต่ละประเด็นที่กลุ่มนำเสนอ
ให้นักศึกษาประเมินตนเองและสมาชิกในกลุ่ม และประเมินเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ ประเมินจากการเป็นผู้นำ และผู้ตามระหว่างเรียน รวมทั้งการส่งงาน
1) สามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางบัญชี เพื่อ อธิบายผลการดำเนินงาน แนะนำ การใช้ข้อมูลให้ผู้ต้องการใช้นำไปตัดสินใจ
2) สามารถรายงานผลออกแบบระบบทั้งด้วยวาจา และการเขียนรายงานสรุปผลการวิเคราะห์ได้ อย่างเหมาะสม
3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวม ข้อมูล แปลความหมาย และ สื่อสารสารสนเทศ ได้
จัดกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา และนำเสนองาน มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ตัวเลข โดยให้กลุ่มเป็นผู้ กำหนดหัวข้อศึกษาและนำเสนอในชั้นเรียน
การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค ผลงานกลุ่ม การสืบค้น การใช้ภาษาเขียนรายงาน และการนำเสนอในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและ รายกลุ่ม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2,3,5 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 9 18 30% 30%
2 1,2,3,4,5 การมอบหมายงาน 1.งานเดี่ยว แบบฝึกหัดและการอ่าน บทความ AIS ๒.รายงานกลุ่มระบบสารสนเทศและการประกอบการ และการนำเสนองาน 8 16-17 10% 20%
3 1,4 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน ตามข้อตกลง การแต่งกาย การส่งงานตามกำหนด ทุกสัปดาห์ ๑๐%
ศรัณย์ ชูเกียรติ. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2557
นิตยา วงศ์ภินันท์วัฒนา. ระบบการเงินและการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากรองค์กร. พิมพ์ครั้ง
ที่ 1. 2554
พลพธู ปียวรรณ และกัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 3.
2558
เว็บไซด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สภาวิชาชีพการบัญชี: www.fap.or.th
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า : www.dbd.go.th
ACCA: www.accaglobal.com
-
แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนที่อาจารย์ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนของอาจารย์ผู้สอนในระหว่างภาคการศึกษาและปลายภาคการศึกษา ในรูปแบบต่าง ๆ
ผลการสอบของนักศึกษาและการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อตรวจสอบมาตรฐานของข้อสอบ การสังเกตการณ์สอนของสาขา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหรือจากการสังเกตการสอนจากอาจารย์ในสาขา การทบทวนมาตรฐานการเรียนรู้
ในเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ด้วยวิธีการหลากหลายมากขึ้นและอธิบายได้ชัดเจนเข้าใจง่ายขึ้น เช่น นำตัวอย่างงานวิจัยระบบสารสนเทศทางบัญชี และกรณีศึกษามาเป็นประเด็นพูดคุยในห้องเรียน กำหนดให้นักศึกษานำเสนองาน หน้าชั้นเรียนเพิ่มขึ้น
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ได้จากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา การสอบถามนักศึกษา การพิจารณาผลการทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
นำข้อมูลสารสนเทศทางบัญชีใหม่ ๆในปัจจุบันมาปรับกระบวนการเรียนการสอน