สัมมนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

Information Technology Seminar

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
       1.1 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสําคัญ ประเภท หลักการ และ กระบวนการจัดสัมมนา 
      1.2 เพื่อให้ฝึกการเตรียมจัดสัมมนาการวางแผนการเตรียมการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และ สถานที่ การดําเนินการ การประเมินผล การแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
      1.3 เพื่อให้รู้จักการหาและกําหนดหัวข้อสัมมนาที่มีประโยชน์และสามารถนําไปประยุกต์ใช้ ได้
      1.4 เพื่อให้รู้จักนําองค์ความรู้ ประสบการณ์ในวิชาชีพมาพัฒนาแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ
เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการทำงานบริหารโครงการและเพิ่มพูลความรู้ ประกอบด้วยคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบและทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ศึกษาค้นคว้าปัญหาและเรื่องที่สนใจและนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม รวบรวม เรียบเรียง และสรุปข้อคิดเห็นเพื่อนำเป็นข้อเสนอต่อที่ประชุมในกลุ่มสัมมนา โดยให้นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ (โปสเตอร์หรือนำเสนอในที่ประชุมหรือนิทรรศการ)
    3.1 วันอังคาร พุธ พฤหัสบดี เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์  โทร. 0832166619
    3.2 e-mail : Wanchanaj@rmutl.ac.th , เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
    3.3 อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านสื่อออนไลน์ Facebook ในกลุ่มห้อง คือ 
         เว็บ https://www.facebook.com/groups/ 1466063640377914/
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการไม่ละเมิดงานของผู้อื่น โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลําดับความสําคัญ
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค​์กรและสังคม
สามารถวิเคราะหผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคมมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
 

บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศ อภิปรายกลุ่ม กําหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกําหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากสื่อผสมที่นักศึกษาเขียนตามการใช้งานจริง
1.3.4 . ประเมินผลงานการพัฒนาชิ้นงานหน้าห้องเรียนและให้สมาชิกสอบถามและแนะนำ 
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจในระเบียบวิธีรูปแบบ ขั้นตอน และกระบวนการวิจัย
2.1.2 ประยุกต์ความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของกระบวนการวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2.1.3 มีทักษะในการแสวงหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
2.1.4 มีทักษะในการวางแผนการวิจัย
      บรรยายร่วมกับอภิปราย ตั้งคำถาม การทำงานกลุ่ม วิเคราะห์งานวิจัย การมอบหมายงาน
2.3.1 ทดสอบปฏิบัติย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทางปฏิบัติงานและทฤษฏีเนื้อหา
2.3.2 ประเมินจากการเขียนโปรแกรมตามที่มอบหมาย และนำเสนอผลการทำงานจากกรณีศึกษาที่นักศึกษาค้นคว้าและสร้างเอง หรือมีโจทย์จาก Problem – based Learning จากโจทย์ที่จะนำมาเป็นโปรเจคการศึกษาอิสระจบ
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถสืบค้นตีความและประเมินสารสนเทศเพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาพัฒนาชิ้นงานตามบทเรียนต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาจากการที่นักศึกษาได้ค้นคว้าเอง และนำเสนอผลงานของตนเอง
3.2.2 อภิปรายลักษณะงานโปรแกรม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำเทคโนโลยีอย่างที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติและการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยออกในรูปแบบผลงานนักศึกษาที่ได้ปฏิบัติจริง
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่เกี่ยวกับชิ้นงานที่สั่งเป็นส่วนประกอบ 
3.3.2 วัดผลจากการประเมินงานชิ้นงาน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาระหว่างปฏิบัติงาน
            4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
          4.1.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
          4.1.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
          4.1.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
          4.1.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
          4.1.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องคุณสมบัติต่างๆนี้สามารถวัดระหว่างการทำกิจกรรรมร่วมกัน
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล นำเสนอบทความวิชาการที่รีวิวมา
4.3.1  การตอบคำถาม
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานของนักศึกษา
4.3.3  ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.1.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียนเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.1.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
บรรยายร่วมกับอภิปราย การทำงานกลุ่ม มอบหมายงาน
5.3.1 ประเมินจากรายงาน ผลงาน  และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีนำเสนอตามผลงานในลักษณะงานของนักศึกษา
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย วิธีการตอบ และชิ้นงานที่นักศึกษาส่ง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทาง ปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5.ทักษะการ วิเคราะห์เชิง ตัวเลข การ สื่อสาร และ การใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 6 7 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 22101404 สัมมนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2, 2.1, 2.3, 3.1 ทดสอบปฏิบัติย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบปฏิบัติย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 9 12 16 10% 25% 10% 25%
2 1.1,1.2, 2.1-2.3 4.4, 5.1-5.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอผลงาน รายงานผล การทำงานกลุ่ม/เดี่ยวและผลงาน การเขียนโปรแกรมและสรุปผลการทำงาน การส่งงานตามที่มอบหมายตรงเวลา ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1,1.2, 3.1 4.4 5.1 , 5.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย/นำเสนอ เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ. การวิเคราะหและออกแบบระบบ. บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด, 2548.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้อง 
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพื่อสื่อสารเนื้อหาให้ผู้เรียนศึกษาก่อนล่วงหน้า
1.2 นักศึกษาประเมินผู้สอนและประเมินรายวิชา 
1.3 นักศึกษาเป็นผู้สะท้อนคิด
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน (หากมี)
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา ที่มีการสอบเก็บคะแนนแต่ละครั้งนำมาประเมิน
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ ให้งานตามที่มอบหมายและสังเกตพฤติกรรม
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน เพื่อปรับปรุงและแก้ไขกรณีในห้องเรียนและการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน 
4.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ