ความแข็งแรงของวัสดุ 1

Strength of Materials 1

1.1 เข้าใจหลักของแรงและความเค้น
1.2 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด
1.3 คำนวณหาความเค้นและความเครียดในวัสดุภายใต้ แรงตามแนวแกน แรงบิด แรงตามแนวขวาง
1.4 คำนวณการโก่งตัวของคานภายใต้แรงกระทำลักษณะต่างๆ
1.5 วิเคราะห์หน่วยแรงรวมที่เกิดจากแรงชนิดต่างๆที่กระทำ ณ จุดใดๆของชิ้นส่วนโครงสร้างในเวลาเดียวกัน และประยุกต์ใช้วงกลมของมอร์
1.6 เห็นถึงความสำคัญของวิชาความแข็งแรงของวัสดุ 1
มีการปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเทคโนโลยีปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของแรงและความเค้น  ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด  แรงตามแนวแกน  แรงบิด  แรงเฉือนและโมเมนต์ดัด  ความเค้นในคาน การโก่งตัวของคาน หน่วยความเค้นประสมและวงกลมของมอร์
1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทยตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตาม ลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมิน  ผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบ ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
แนะนำในห้องเรียน อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานในเวลาที่กำหนด แบ่งกลุ่มงาน แบ่งกลุ่มทดสอบย่อย เปิดโอกาสให้มีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ ใช้กรณีศึกษาและการเสวนา ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ และปลูกฝังจรรณยาบรรณวิชาชีพ
สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา การขานชื่อ การให้คะแนนเข้าชั้นเรียน การส่งงานที่มอบหมายตามเวลา การทำงานร่วมกับผู้อื่น นำเสนองานที่มอบหมายในชั้นเรียนและนำเสนอเป็นกลุ่ม ประเมินผลจากกรณีศึกษาและการเสวนา
มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
สอน อธิบาย ยกตัวอย่างกรณีศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อธิบายความเชื่อมโยงของความรู้ในวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง สอนโดยเน้นหลักทางทฤษฏีและการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
งานที่มอบหมาย การสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ประเมินจากการเสวนา
มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง  เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
แนะนำในห้องเรียน อธิบาย สอน ยกตัวอย่าง มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ แนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา งานที่มอบหมาย การสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วน รวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถวางแผนและรับผิดชอบ ในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำ และผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ

มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
แนะนำในห้องเรียน ใช้สื่อการสอนที่ทำให้นักศึกษาเกิดความคุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศ ส่งเสริมทักษะการอยู่ในสังคม แบ่งกลุ่มทดสอบย่อย
สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา ประเมินจากการเสวนา ประเมินจากงานที่มอบหมาย
มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
สอน อธิบาย ยกตัวอย่างการใช้ Spreadsheet และ/หรือ Software ที่เกี่ยวข้อง แนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล ฝึกทักษะ ตามหัวข้อทางวิชาการให้นักศึกษาได้ปฏิบัติ
งานที่มอบหมาย การสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
สอน อธิบาย ยกตัวอย่าง สร้างเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงานกลุ่ม มอบหมายงานที่ส่งเสริมการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา ประเมินจากงานที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 - 2.5 3.1 – 3.5 4.4, 4.5 5.1 - 5.5 6.1, 6.2 สอบกลางภาค,สอบปลายภาค 8,17 35%,35%
2 1.2, 1.3 2.1 - 2.5 3.1 – 3.5 4.4, 4.5 5.1 - 5.5 6.1, 6.2 การส่งงานตามที่มอบหมาย (งานย่อย และงานproject) ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.5 1 – 6 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
A. Pytel & F.L.Singer, Strength of Materials, 4th ed. J.M.Gere & S.P.Timoshenko,  Mechanics of Materials

 
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ