คอมพิวเตอร์เพื่องานออกแบบภาพ 3 มิติ

Computer for 3-D Design

- มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพออกแบบสื่อสาร ความรู้ในเรื่องลิขสิทธิ์ในการทำงานออกแบบสามมิติ
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างงานโมเดลสามมิติ และการอ่านแบบ
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในการทางานสร้างงานโมเดลสามมิติ
- มีทักษะการปฏิบัติงานจากการวิเคราะห์ ประยุกต์ความรู้ในการสร้างงานโมเดลสามมิติกับงานด้านต่างๆ
- สามารถทำงานได้ตามกระบวนการออกแบบ และการสร้างงานโมเดลสามมิติได้อย่างเป็นระบบ
- สามารถทำงานเป็นทีม แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องผ่านอาจารย์ ได้อย่างเหมาะสม
- รู้หลักการสื่อสาร สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้สื่อสาหรับนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสม
ประสานกับวิชาอื่นเพื่อวางแผนการเรียนให้การทำงานสามมิติ สามารถที่จะใช้งานจากวิชาอื่นมาเป็นต้นแบบในการสร้างงานสามมิติ เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้การออกแบบสามมิติ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสื่อ มุ่งให้งานเป็นงานที่สามารถทำเสร็จในชั้นเรียน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ  ที่เหมาะสมกับการออกแบบ 3 มิติ การสร้างภาพเคลื่อนไหวเพื่อการออกแบบและจัดทำสื่อประเภทต่างๆ
2 ชั่วโมงโดยระบุ วัน เวลา ไว้ในตารางสอน แจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน และติดประกาศไว้ที่บอร์ดประจำสาขาวิชา
- แสดงออกซึ่งพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมที่สมาชิกที่มีคุณค่าของสังคมพึงมี อาทิ ซื่อสัตย์ มีจิตอาสา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เคารพกฎกติกาของสังคม  - มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพออกแบบสื่อสาร ความรู้ในเรื่องลิขสิทธิ์ในการทำงานออกแบบสามมิติ  - มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น  - เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
- บรรยายเรื่องการลอกเลียนผลงาน และข้อตกลงร่วมกันในการเรียน  - ปฏิบัติงาน  - การเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน
- การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา การแต่งกาย  - ประเมินจากผลงานปฏิบัติ  - ประเมินจากพฤติกรรมการเรียน
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างงานโมเดลสามมิติ และการอ่านแบบ  - สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในการทำงานสร้างงานโมเดลสามมิติ  - สามารถประยุกต์ใช้ความรู้การทำงานออกแบบโมเดลสามมิติกับงานประเภทอื่นๆได้
- บรรยาย  - สาธิต
- ประเมินจากการสอบข้อเขียน
- มีทักษะการปฏิบัติงานจากการวิเคราะห์ ประยุกต์ความรู้ในการสร้างงานโมเดลสามมิติกับงานด้านต่างๆ  - สามารถทำงานได้ตามกระบวนการออกแบบ และการสร้างงานโมเดลสามมิติได้อย่างเป็นระบบ
- มอบหมายงานบุคคล (งานในคาบเรียน)  - มอบหมายงานบุคคล (การบ้าน ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ)  - มอบหมายงานกลุ่มย่อย (ส่งแบบร่าง โครงงาน)
- ประเมินจากผลงานรายบุคคล (งานในคาบเรียน การบ้าน)  - ประเมินผลงานกลุ่ม (การตรวจแบบร่าง โครงงาน)  - ประเมินจากการสอบปฏิบัติ
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ ทั้งในฐานะผู้นาหรือสมาชิกของกลุ่ม  - สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการริเริ่มสิ่งใหม่ แก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน มีส่วนร่วมในการทำงาน การวิเคราะห์ปัญหา และการแก้ปัญหาในกลุ่ม  - สามารถทำงานเป็นทีม แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องผ่านอาจารย์ ได้อย่างเหมาะสม  - สามารถใช้ความรู้ด้านการสร้างงานโมเดลสามมิติมาใช้ในงานออกแบบบริการสังคม  
- มอบหมายงานบุคคล (งานในคาบเรียน)  - มอบหมายงานบุคคล (การบ้าน ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ)  - มอบหมายงานกลุ่มย่อย (ส่งแบบร่าง โครงงาน)  - นำเสนอข้อมูล 
- ประเมินจากการเข้าเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน  - ประเมินจากผลงานกลุ่ม (การตรวจแบบร่าง โครงงาน)  - ประเมินจากการสังเกตปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง (โดยผู้สอน/กลุ่ม)
- รู้หลักการสื่อสาร สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้สื่อสาหรับนาเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสม  - สามารถสืบค้นและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าวิจัย ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เพื่อต่อยอดงานให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  - สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง 
- มอบหมายงานบุคคล (การบ้าน ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ)  - มอบหมายงานกลุ่มย่อย (ส่งแบบร่าง โครงงาน)  - นำเสนอข้อมูล
- ประเมินจากผลงานรายบุคคล (งานในคาบเรียน การบ้าน)  - ประเมินผลงานกลุ่ม (การตรวจแบบร่าง โครงงาน)  - ประเมินจากการนำเสนอ (การพูด การตอบคำถาม ความพร้อมของทีม)  - ประเมินจากการสอบข้อเขียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 3 4 1 2 1 2 3
1 43011012 คอมพิวเตอร์เพื่องานออกแบบภาพ 3 มิติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.3, 4.1-4.3 1.1, 1.2, 4.1-4.3 การเข้าเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การสังเกตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง 1-16 5%
2 1.2,1.3 การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ความซื่อสัตย์ในการทำงานและการอ้างอิง 1-16 5%
3 1.3, 2.1-2.3, 3.1, 3.2, 5.2 ผลงานรายบุคคล (งานในคาบ, การบ้าน, ค้นคว้า, ฝึกปฏิบัติ) 6-10 40%
4 1.1, 1.4, 2.1-2.3, 3.2, 4.1-4.4, 5.1, 5.2 ผลงานกลุ่ม (การตรวจแบบร่าง โครงงาน) 1-4,6,11-13 25%
5 1.1, 1.4, 5.1, 5.3 การนำเสนอ 5,16 5%
6 2.1, 2.2, 3.2, 5.3 การสอบข้อเขียน (สอบข้อเขียน สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบปฏิบัติ) 9, 18 20%
เอกสารประกอบการสอน
สร้างโมเดล 3 มิติด้วย SketchUp 8 + โปรแกรมเสริม ฉบับสมบูรณ์ /จุฑามาศ จิวะสังข์ ; พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียรบรรณาธิการ.            SketchUp 8 + V-Ray /ผู้เขียน นพดล วศินสิทธิสุข.  Maya 3D Animation Basic/ผู้เขียน สุชีพ วงษ์ตาแสง.  สร้างและการจัดการแบบจำลอง 3 มิติ ด้วยโปรแกรม Maya 2017 /ปณิธิ  แก้วสวัสดิ์.  Maya for Beginners/ผู้เขียน พูนศักดิ์ ธนพันธ์พาณิช  MAYA REFERENCE /ผู้แต่ง พูนศักดิ์ ธนพันธ์พานิช
ให้นักศึกษาประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในประเด็นต่อไปนี้  1.1    ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้  - ความตรงต่อเวลา  - การแต่งกาย บุคลิกภาพ  - คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม  - การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน  - ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้  - แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน  - จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา  - การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน  1.2    ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้  - ความรู้ความสามารถโดยรวม และประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรายวิชานี้  - ความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชานี้  - ข้อเสนอแนะอื่นๆ
ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหรืออาจารย์ที่ได้รับมอบหมาย ดำเนินการดังต่อไปนี้  2.1    ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ 1  2.2    สุ่มสังเกตการสอนและประเมินการจัดการเรียนการสอน(โดยอาจารย์ประจำหลักสูตร) ในประเด็นต่อไปนี้  - ความตรงต่อเวลา  - การแต่งกาย บุคลิกภาพ  - คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม  - การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน  - ความรู้ความสามารถทางวิชาการในหัวข้อที่สอน  - ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้  - แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน  - จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา  - การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน  2.3    ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเองในประเด็นต่อไปนี้  - ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน  - ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน  - ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร มีกลไกและวิธีการปรับปรุงการเรียนการสอนดังนี้  3.1    ให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละหัวข้อบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการสอนที่สมควรนำเสนอให้พิจารณารวมทั้งสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในแต่ละคาบการสอน  3.2    ประชุม / สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนสำหรับปีการศึกษาต่อไปโดยอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้  - ผลการศึกษาของนักศึกษา  - ผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา  - ผลการประเมินการสอน  - มติในที่ประชุมอาจารย์ผู้สอน
สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ดังนี้  - การสุ่มสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการทวนสอบระดับหลักสูตร  - การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายใน/ภายนอก
เมื่อสิ้นสุดทุกปีการศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะจัดประชุม / ติดต่อขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ร่วมสอน รวมทั้งพิจารณาสรุปผลการประเมินการสอน ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา  เพื่อกำหนดประเด็นที่เห็นสมควรจัดให้มีการปรับปรุงในการศึกษาต่อไป ทั้งเนื้อหา ลำดับการสอน วิธีการสอนและการประเมินผล