ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

Accounting Information System

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐานได้แก่ วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง ระบบสินทรัพย์ถาวร และระบบบัญชีแยกประเภททั่วไปและการรายงาน ประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจร ทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบสารสนเทศทางการบัญชีและสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านการบัญชีของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและคณะกรรมการบริหารวิชาชีพการบัญชี (การบัญชี)
ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจ การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐาน วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง วงจรการบริหารเงิน ประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจร ทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
อาจารย์ผู้สอนในชั่วโมงกิจกรรม หรือรายกลุ่มตามต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
สอนหัวข้อจรรยาบรรณของนักบัญชีและความสำคัญของการรักษาจรรยาวิชาชีพ พร้อมยกตัวอย่าง กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และนำมาอภิปรายในชั้นเรียนวันละ 1 -2 เรื่อง โดยใช้เวลา 15 นาทีก่อนเรียนเนื้อหาวิชา การสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในการสอนทุกครั้ง กำหนดกติกาการเข้าเรียน การส่งงาน และการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติ
ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ประเมินผลจากการแสดงความคิดเห็นในเชิงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพจากการอภิปราย กรณีเหตุการณ์จริงและกรณีศึกษา
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เช่น ข้อมูลทางการบัญชี วงจรทางการบัญชี ลักษณะของข้อมูลทางการบัญชี และการจัดทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่กระบวนการป้อนข้อมูล การประมวลผลการรายงานผล และการควบคุมทางการบัญชี เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์กับองค์กรธุรกิจในแต่ละประเภทได้
บรรยาย อภิปราย ทำแบบฝึกหัด กรณีศึกษา มอบหมายให้หาตัวอย่างระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อนำมาศึกษาและวิเคราะห์ ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ประเมินผลจากการกรณีศึกษา และงานที่มอบหมายให้ทำ การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
สามารถสืบค้น ประมวลข้อมูล หลักฐาน แนวคิดต่าง ๆ ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตนเอง สามารถประยุกต์ความรู้ทางระบบสารสนเทศทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์  โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
ทำแบบฝึกหัดโดยใช้โจทย์ปัญหา และกรณีศึกษาพิเศษ การอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับกรณีศึกษาและนำเสนอ มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนโดยให้กลุ่มเป็นผู้กำหนดหัวข้อศึกษา
การทดสอบกลางภาค การทดสอบปลายภาค กรณีศึกษา และการทำรายงานกลุ่ม คุณภาพของงานที่มอบหมายให้ทำ
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้มอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
จัดกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนโดยให้กลุ่มเป็นผู้กำหนดหัวข้อศึกษา
ให้นักศึกษาประเมินตนเองและสมาชิกในกลุ่ม ประเมินผลงานจากการทำงานเป็นกลุ่ม
มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมายและการสื่อสารสารสนเทศ
จัดกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนโดยให้กลุ่มเป็นผู้กำหนดหัวข้อศึกษาและนำเสนอในชั้นเรียน
การทดสอบกลางภาค การทดสอบปลายภาค ผลงานกลุ่มและการนำเสนอในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3.
1 11014302 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียน การสอบปลายภาคเรียน 9, 17 70
2 3.1, 3.2, 4.1 งานที่มอบหมายและการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน บางสัปดาห์งานกลุ่ม และสัปดาห์ที่ 16 20
3 ทุกผลการเรียนรู้ สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา ตามข้อตกลงในการเรียน การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย และการส่งงานตามกำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10
ศรัณย์ ชูเกียรติ. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2557 นิตยา วงศ์ภินันท์วัฒนา. ระบบการเงินและการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากรองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2554 พลพธู ปียวรรณ และกัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 3. 2558
เว็บไซด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สภาวิชาชีพการบัญชี : www.fap.or.th กรมพัฒนาธุรกิจการค้า : www.dbd.go.th ACCA: www.accaglobal.com
ไม่มี
แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนที่อาจารย์ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนของอาจารย์ผู้สอนในระหว่างภาคการศึกษาและปลายภาคการศึกษา ในรูปแบบต่าง ๆ
ผลการสอบของนักศึกษาและการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อตรวจสอบมาตรฐานของข้อสอบ การสังเกตการสอนของภาควิชา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหรือจากการสังเกตการสอนจากอาจารย์ในภาควิชา การทบทวนมาตรฐานการเรียนรู้
การจัดทำการรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และวิเคราะห์ผลจากรายงานเพื่อนำมาปรับปรุงการสอน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ได้จากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา การสอบถามนักศึกษา การพิจารณาผลการทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
การนำผลการประเมินจาก ข้อ 1 2 และ 4 มาทบทวนและวางแผนเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาทุกปี