การแปลเชิงธุรกิจ

Business Translation

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานการแปลเชิงธุรกิจ การแปลและสร้างสรรค์งานโฆษณา การแปลสื่อประชาสัมพันธ์ด้านธุรกิจ การแปลสัญญาและเอกสารทางธุรกิจ รูปแบบและการจัดเรียงข้อความ คำศัพท์สำคัญทางธุรกิจจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในด้านการแปลงานเขียนเชิงธุรกิจ และสามารถนำความรู้จากการฝึกปฏิบัติและแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริงไปใช้ในวิชาชีพ รวมถึงเป็นพื้นฐานของวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานการแปลเชิงธุรกิจ การแปลและสร้างสรรค์งานโฆษณา การแปลสื่อประชาสัมพันธ์ด้านธุรกิจ การแปลสัญญาและเอกสารทางธุรกิจ รูปแบบและการจัดเรียงข้อความ คำศัพท์สำคัญทางธุรกิจจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่
1.1.1 ความมีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.2 ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
1.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณของการแปลในเนื้อหาของบทเรียน
1.2.2 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
1.2.3 กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.1 การทดสอบความเข้าใจในการสอบกลางภาคและปลายภาค
1.3.2 การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจ ทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องลักษณะของข้อเขียนทางธุรกิจ หลักการแปลข้อเขียนทางธุรกิจ ส่วนในทางปฏิบัติ เน้นการฝึกแปลข้อเขียนทางธุรกิจจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้เกี่ยวกับการแปลกับศาสตร์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
2.2.1 ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.2.4 พานักศึกษาไปดูงานด้านการแปลเอกสาร
2.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
2.3.2 การฝึกปฏิบัติการแปลข้อเขียนประเภทต่าง ๆ ทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารทั้งในและนอกชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการแปลงานเขียนประเภทต่าง ๆ ในระดับประโยค ย่อหน้า และข้อความ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1 ให้นักศึกษาวิเคราะห์งานแปลและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานแปลทางเชิงธุรกิจ
3.2.2 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารจริง
3.2.3 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายนอกชั้นเรียนโดยเลือกเอกสารเอง
3.3.1 การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
3.3.2 การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
3.3.3 การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักนำความรู้ในศาสตร์ของตน มาช่วยเหลือสังคมโดยรวมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
จัดให้นักศึกษาได้ทำฝึกปฏิบัติการแปลข้อเขียนทางธุรกิจและนำผลงานมาเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ
ประเมินจากการฝึกปฏิบัติการแปลของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการแปลอย่างเหมาะสม และสามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับบริบท
ประเมินจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา ได้แก่
5.2.1 สอดแทรกความรู้เกียวกับการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการแปลในบทเรียนต่าง ๆ
5.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line
5.2.3 ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการแปลข้อเขียนทางธุรกิจ
5.3.1 การทดสอบความรู้ด้านภาษาในการสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.2 ผลงานการทำแบบฝึกปฏิบัติการแปลในชั้นเรียน
5.3.3 ผลการทำงานมอบหมายนอกชั้นเรียน
5.2.3 ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการแปลข้อเขียนทางธุรกิจ
นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ได้
ฝึกฝนให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์ วิจารณ์
ประเมินจากงานที่มอบหมายให้นักศึกษาทำ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 นักศึกษามีความรู้คำศัพท์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สอบย่อยคำศัพท์พื้นฐานทางธุรกิจ 2 5%
2 ผลการเรียนรู้ นักศึกษาสามารถแปลข่าวทางธุรกิจทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษแบบสรุปความ(แบบย่อ)ได้ สอบข้อเขียนการแปลข่าวทางธุรกิจ(แบบย่อ) แบบสรุปความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 4 10%
3 ผลการเรียนรู้ นักศึกษาสามารถแปลข่าวทางธุรกิจทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษแบบสรุปความ(แบบสมบูรณ์)ได้ สอบข้อเขียนการแปลข่าวทางธุรกิจ(แบบสมบูรณ์) แบบสรุปความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 10%
4 ผลการเรียนรู้ นักศึกษาสามารถแปลข่าวทางธุรกิจ เอกสารทางราชการ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษแบบสรุปความ นักศึกษาแปลเอกสารทางราชการของตนเอง เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และนำมาส่งผู้สอน 8 5%
5 นักศึกษาเข้าใจคำศัพท์ทางกฏหมายธุรกิจ และสามารถแปลเอกสารสัญญาทางธุรกิจจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษได้ ทดสอบคำศัพท์ทางกฏหมายธุรกิจ 8 5%
6 นักศึกษาสามารถสร้างสรรค์สื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ได้ นักศึกษาสามารถผลิตสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ 14 25%
7 นักศึกษาสามารถแปลสคริปข่าว และสารคดี ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ แปลสคริปข่าว และสารคดีที่ผู้สอนมอบให้ 16 10%
8 สอบปลายภาค สอบปลายภาค 17 30%
หนังสือพิมพ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สื่อออนไลน์ นิตยสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หนังสือพิมพ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สื่อออนไลน์ นิตยสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หนังสือพิมพ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สื่อออนไลน์ นิตยสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชาหรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์