ปฏิบัติการเฉพาะหน่วยในอุตสาหกรรมอาหาร

Unit Operation in Food Industry

1.1 เพื่อเป็นพื้นฐานทางวิศวกรรมกระบวนการแปรรูปอาหารให้กับนักศึกษา
1.2 เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงหลักการทำงานของหน่วยปฏิบัติการในกระบวนการแปรรูปและสามารถนำความรู้ไปใช้ในกระบวนการผลิตอาหารในระดับอุตสาหกรรมได้
1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถออกแบบและเลือกใช้เครื่องมือที่ถูกต้องเหมาะสมในกระบวนการแปรรูปอาหาร
เพื่อให้เนื้อหาทันสมัยสอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาและทันต่อเทคโนโลยีการผลิตในอุตวาหกรรมอาหารในปปัจจุบัน
ปฏิบัติการเฉพาะหน่วยในอุตสาหกรรมอาหาร จลนศาสตร์ของอนุภาคและหลักการแยกอนุภาคทางกล การบดลดขนาดและการคัดแยก การกรอง การตกตะกอน การตกผลึก ฟลูอิดไดเซชั่น การกวน และการผสมของอาหารแข็งเหลว และหนืด รวมทั้งศึกษาถึงกำลังงานที่ใช้ในหน่วยปฏิบัติการวิศวกรรมอาหาร
อาจารย์ผู้สอนแจ้งเวลาให้นักศึกษามาปรึกษานอกตารางเรียนในครั้งแรกของการเรียนการสอนโดยจัดสรรเวลาให้อย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้

มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม

เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1  ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ โดยอาจยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ
1.2.2  สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ในคาบเรียนโดยการยกตัวอย่างข่าว ที่เกิดขึ้นในสื่อต่างๆที่กำลังเป็นที่สนใจ โดยเน้นความรับผิดชอบต่อสังคม การมีจิตสำนึก การรับผิดชอบต่อตนเอง
1.2.3  อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
1.3.1 ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในโอกาสที่สาขาวิชาฯ หรือวิทยาลัยฯ จัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม
1.3.2 ประเมินพฤติกรรมการซื่อสัตย์ในการเรียน ทั้งการสอบ และงานที่นักศึกษานำมาเสนอ หรือนำมาส่ง
1.3.3 การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งรายงาน
 
1.3.4 ประเมินพฤติกรรมการเคารพกฎระเบียบที่ได้กำหนดขึ้นสาหรับการเรียนในรายวิชานี้
1.3.5 ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา
1.3.6 นักศึกษาประเมินตนเอง
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การจัดการเรียนการสอน ควบคู่กับปฏิบัติการ และให้นักศึกษาค้นคว้าเอกสารเพิ่มเติม จากแหล่งสารสนเทศ เช่น website หรือ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นอกเหนือจากอาจารย์ผู้สอนบรรยายและสรุปเพิ่มเติมโดยเอกสารประกอบการสอน ร่วมกับการปฏิบัติการโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และจัดให้มีการฝึกฝนทักษะความชำนาญในการเรียน
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  ประเมินจากการนำเสนอรายงาน ผลการค้นคว้าข้อมูล  หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญา  พร้อมกับคุณธรรม และจริยธรรม โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
3.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL)
3.2.2 ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
3.2.3 มอบหมายงาน เช่น ศึกษาวิธีประเมินคุณภาพจากวารสารต่างประเทศ จัดทารายงาน และนำเสนอแนวทางในการควบคุมระบบการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรตามที่กำหนดหัวข้อกรณีตัวอย่างไว้
3.3.1 ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
3.3.2 รายงานกลุ่ม
  3.3.3 การนำเสนองาน
  3.3.4 การสอบย่อย การสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและบุคคลภายนอก
4.2.2 มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
4.2.3 กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
4.3.1 ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4.3.2 ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
4.3.3 ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ
4.3.4 ให้นักศึกษาประเมินนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
5.1.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
5.1.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
5.2.1  ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานสถิติกับงานวิเคราะห์คุณภาพ
5.2.2  ใช้ PowerPoint ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอน
ในชั้นเรียน
5.2.3  การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
5.2.4  การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
5.2.5  การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.6  การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
5.2.7  มีการสอนโดยแนะนำวิธีคิดคำนวณอย่างง่าย
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
นักศึกษามีความสามารถพัฒนาตนเองได้ และปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพของตนเอง โดยนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากทักษะการปฏิบัติ ดังนี้
                 6.1.1 มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย
                6.1.2 มีพัฒนาการทางด้านระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
                 6.1.3  มีพัฒนาการทางด้านบุคลิกภาr
6.2.1   การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของนักศึกษา
6.2.2   การฝึกปฏิบัติการทำงานระดับห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายให้มีความคล่องแคล่วในการทำงาน
6.3.1   ประเมินประสิทธิภาพในทักษะปฏิบัติ ความถูกต้องและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
6.3.2   ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 3.
1 52011309 ปฏิบัติการเฉพาะหน่วยในอุตสาหกรรมอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 ,2.1, 3.1, 4.1, 5.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 20% 20%
2 1.1 การเข้าชั้นเรียนการมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 3.1 สอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 2.1 รายงานปฏิบัติการ Assignment ตลอดภาคการศึกษา 20% 10%
รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต, 2541.วิศวกรรมอาหาร:หน่วยปฏิบัติการในอุตสาหกรรม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
อภิรักษ์ เพียรมงคล, 2545. ปฏิบัติการวิศวกรรมอาหาร: เอกสารประกอบการสอน. คณะอุตสาหกรรมเกษตร. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
Earle R.L., 2003, Unit Operations in Food Processing, 2nd ed., The New Zealand Institute of Food Science & Technology (Inc.), New Zealand. 314 pp.
McCabe, W.L. and J.C. Smith. 1976. Unit Operation of Chemical Engineering. 3rded. McGraw-Hill International Book Co., Auckland.
Albert Ibarz and Gustavo V. Barbosa-Cánovas, Unit Operations in Food Engineering, 2003, CRC Press LLC, Boca Raton, Florida, USA.
ไม่มี
  
  วิไล รังสาดทอง. 2543.เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร. คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. นนทบุรี
นิธิยา รัตนาปนนท์. 2544.หลักการแปรรูปอาหารเบื้องต้น.โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพฯ
Fellows, P. 1988. Food Processing Technology: Principles and Practice. Ellis Horwood, Singapore.
Geankoplis, C.J. 1993. Transport Processes and Unit Operations. 3rd ed. Prentice Hall P T R, New Jersey.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
 1.3 ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
2.2   ผลการทดสอบย่อย
2.3   ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
2.4   รายงานตามบทปฏิบัติการ
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1   ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษาโดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อปูพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
3.2   หาเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง
3.3   จัดทำใบงานก่อนการเรียนภาคปฏิบัติ เพื่อทดสอบความรู้ก่อนเรียนและเพื่อให้นักศึกษามองเห็นภาพรวมเนื้อหาวิชาที่จะเรียน
3.4 ให้นักศึกษาได้ออกแบบการทดลองเอง เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดและทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนมาในภาคทฤษฎี เพิ่มทักษะการคำนวณของนักศึกษาได้
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   ประเมินรายวิชาทุกปีตามแบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา