โครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า

Electrical Technical Education Project

ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนการสร้างโครงงาน ตามหัวข้อโครงงานในรายวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมเครื่องกล ออกแบบโครงงาน สร้างโครงงานตามแบบตลอดจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างผลงานอันเกิดประโยชน์ต่อสายวิชาที่ศึกษา หรือต่อสังคม และนำผลงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อสอบวิชาโครงงาน
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนการสร้างโครงงาน 2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบโครงงาน 3. มีความสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างผลงานสายวิชาที่ศึกษา
4. มีความสามารถในการนำผลงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อสอบวิชาโครงงาน
5. เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงการเรียนการสอนที่มีความต้องการโครงการคุรุศาสตร์อุตสาหกรรมเครื่องกล
 
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนการสร้างโครงงาน ตามหัวข้อโครงงานในรายวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมเครื่องกล ออกแบบโครงงาน สร้างโครงงานตามแบบตลอดจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างผลงานอันเกิดประโยชน์ต่อสายวิชาที่ศึกษา หรือต่อสังคม และนำผลงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อสอบวิชาโครงงาน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัยมีความซื่อสัตย์และ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางการศึกษา อภิปรายกลุ่ม

กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้เกี่ยวกับการสอนทางการศึกษาสามารถนำมาใช้ในกระบวนการที่เป็นระบบน่าเชื่อถือ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่สนใจย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้น ผู้สอนจะต้องดำเนินการต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่าง ซึ่งก็คือผลของการสอนจะต้องก่อให้เกิดสันติสุขแก่สังคม และฝึกฝนตนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้มีความรู้และปฏิบัติงานร่วมกันติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และเข้าใจถึงการสอนทางการศึกษา ผู้สอนจะต้องมีพลังกระตุ้นให้เกิดความริเริ่ม กระตือรือร้นที่จะสอนต่อไป และต้องรู้จักใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการสอน
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 สอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการวิจัยทางการศึกษา
3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การลำดับขั้นตอนในชการวิจัย ประโยชน์ของ การวิจัย คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับนักวิจัย
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การยกตัวอย่างข้อปัญหาจากที่พบในเหตุการณ์จำลองแบบรูปต่างรวมถึงการแก้ไขปัญหาหน้างานระหว่างการมอบหมายเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยนำทักษะทางวิชาการ คำนวณ ความเป็นเหตุเป็นผล ความเหมาะสมต่อสภาพงานพร้อมทั้งให้แสดงความเห็นประกอบ
การประเมินผลจากความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการติดต่อสื่อสาร การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล การนำเสนอผลงาน ความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหา การมีจรรยาบรรณและมารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ความสามารถในการถ่ายทอดหรือแนะนำผู้อื่น
6.1.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม  6.1.3 สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
การมอบหมายให้เข้าร่วมกิจกรรมและงานของหลักสูตรทั้งในและนอกเวลาเรียน การมอบหมายงานค้นคว้าและทดลองเพื่อหาข้อสรุปของปัญหา การระดมกลุ่มเพื่อปฏิบัติงานที่มอบหมาย
มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ผลการทำงานในภาคปฏิบัติและ/หรือกิจกรรมที่เข้าร่วม การนำความรู้และทักษะไปใช้ในการแก้ปัญหาภายนอกของผู้เรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
คู่มือการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างทักษะวิจัยให้นักศึกษาอาชีวศึกษา
เล่มหลักสูตร ข้อมูลระเบียบขั้นตอนการทำหลักสูตรของสำนักงานการอาชีวศึกษา สำนักงานการอุดมศึกษา สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คู่มือการทำปริญญานิพนธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ