ปฏิบัติการระบบไฟฟ้าและการป้องกัน

Power System and Protection Laboratory

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติด้านระบบไฟฟ้ากำลัง และ การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง ในระบบการส่งและการจ่ายกำลังไฟฟ้า จากโรงผลิตไฟฟ้าซึ่งกระจายอยู่ทุกภูมิภาค ผ่านสายส่งไฟฟ้าแรงสูงไปสู่ชุมชน ซึ่งถูกเชื่อมโยงด้วยสายส่งไฟฟ้าแรงสูงในลักษณะเป็นโครงข่ายส่งถ่ายพลังงานทั่วประเทศ
 
 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติด้านโครงข่ายระบบไฟฟ้ากำลัง สามารถวิเคราะห์และควบคุมการไหลของกำลังไฟฟ้าผ่านสายส่งแรงสูง ได้อย่างมีเสถียรภาพ มั่นคง และประหยัดต้นทุนเชื้อเพลิงจากความสูญเสียโดยไม่จำเป็นในระบบไฟฟ้ากำลัง ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัย และเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจปัญหาและผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระบบไฟฟ้ากำลัง สามารถวัดและวิเคราะห์ผลจากการเกิดลัดวงจรในระบบไฟฟ้ากำลัง ทั้งแบบสมมาตรและไม่สมมาตร ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลังที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
 
ปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนในวิชา ENGEE118 ระบบไฟฟ้ากำลังและENGEE136 การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1) ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นใน สังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้ (1) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ คุณลักษณะพิเศษ กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนักศึกษา ด้านบุคลิกภาพ –มีการสอดแทรกเรื่อง การแต่งกาย การเข้าสังคม เทคนิคการ เจรจา สื่อสาร การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และในกิจกรรมปัจฉิม นิเทศ ก่อนที่นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษา ด้านภาวะผู้นำ และความรับผิดชอบ ตลอดจนมีวินัยในตนเอง – กำหนดให้มีรายวิชาซึ่งนักศึกษาต้องทำงานเป็นกลุ่ม และมี การกำหนดหัวหน้ากลุ่มในการทำรายงานตลอดจน กำหนดให้ ทุกคนมีส่วนรวมในการนำเสนอรายงาน เพื่อเป็นการฝึกให้ นักศึกษาได้สร้างภาวะผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่มที่ดี – มีกิจกรรมนักศึกษาที่มอบหมายให้นักศึกษาหมุนเวียนกันเป็น หัวหน้าในการดำเนินกิจกรรม เพื่อฝึกให้นักศึกษามีความ รับผิดชอบ – มีกติกาที่จะสร้างวินัยในตัวเอง เช่น การเข้าเรียนตรงเวลาเข้า เรียนอย่างสม่ำเสมอการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เสริมความกล้า ในการแสดงความคิดเห็น จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ – มีการให้ความรู้ถึงผลกระทบต่อสังคม และข้อกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ 137 (3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม (4) เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ นอกจากนั้น ยังมีรายวิชาส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษามีการพัฒนาจริยธรรม และจรรยาวิชาชีพ เช่น วิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม วิชาภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ ซึ่งอาจารย์ผู้ สอนสามารถสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจรรยาวิชาชีพ และสามารถจัดให้มีการวัดผลแบบมาตรฐานใน ด้านคุณธรรม จริยธรรมทุกภาคการศึกษา ด้วยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรม และมีการ กำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนจิตพิสัยในชั้นเรียน นักศึกษาที่คะแนน ความประพฤติไม่ผ่านเกณฑ์อาจต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพิ่มก่อนจบการศึกษา
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ ผู้สอนต้องสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษา มีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึก ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่างๆ ได้แก่ (1) การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม (2) ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริม หลักสูตร (3) ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (4) ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกัน ขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้น มาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้ (1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ ศึกษา 138 (2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ ศึกษา (3) สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง การทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการใช้ข้อสอบ วัดผลในรายวิชาที่เรียนทั้งการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดระยะเวลาของหลักสูตร
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การ บูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทาง ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชา นั้น ๆ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การ วัดผล ดังนี้ (1) การทดสอบย่อย (2) การสอบกลางภาคการศึกษาและปลายภาคการศึกษา (3) รายงานที่นักศึกษาจัดทำ (4) งานที่ได้มอบหมาย (5) การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน (6) แฟ้มสะสมผลงาน
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบ การศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญา พร้อมกับคุณธรรม และจริยธรรม โดย กระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิด และวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือ วิชาชีพ 139 (2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาใช้แนวข้อสอบที่ให้ นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้ วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำ งาน (Work-Integrated Learning) มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์ องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาเพื่อเป็น ตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น (1) บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง (2) การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่าง ๆ (3) การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน (4) การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
1) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มีความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นักศึกษาจึงต้องได้รับการฝึกประสบการณ์พื่อเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ดังนั้น ผู้สอนต้องแนะนำการวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม และทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้ (1) มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี (2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม (3) สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม (4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการ ทำกิจกรรมกลุ่มทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ
ดำเนินการสอนโดยการกำหนดกิจกรรมกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับ ผู้อื่น หรือค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในงานอาชีพ โดยมี 140 ความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้ (1) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี (2) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย (3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นอย่างดี (4) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (5) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม (6) มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย และสามารถ วางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติ เฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น (1) พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มใน ชั้นเรียน (2) พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการ ประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการ ปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่ เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้ เกี่ยวกับสาขาวิชา ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม (2) สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม (3) ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตาม กาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล การวัดและประเมินผลอาจจัดทำในระหว่างการสอนโดยการจัดกิจกรรมให้ นักศึกษาได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำมาเรียบเรียง นำเสนอและอภิปราย 141 แสดงความคิดเห็นในกลุ่ม หรือจัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการ ติดต่อสื่อสาร หรือนำเสนอผลงานต่าง ๆ
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรม Active Learming ที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้าน ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้ (1) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร (2) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล (3) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน (4) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียม ปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้ (1) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร (2) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล (3) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน (4) จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับ สถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะ ทางปัญญา 4.ทักษะ ความสัมพันธ์ ระหว่างบุคลและ ความรับผิดชอบ 5.ทักษะ การวิเคราะห์ 6. ด้าน ทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 2 3 4 5 1 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGEE124 ปฏิบัติการระบบไฟฟ้าและการป้องกัน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม การเข้าร่วมชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 6%
2 ความรู้ ตรวจสอบการบ้าน งานที่มอบหมาย และการสอบ ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 ทักษะทางปัญญา ตรวจสอบการบ้าน งานที่มอบหมาย และการสอบ ตลอดภาคการศึกษา 40%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ การทำงานกลุ่มและผลงาน 3, 4,5 6%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ตรวจสอบการบ้าน ตลอดภาคการศึกษา 8%
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ปฏิบัติการระบบไฟฟ้ากาลัง
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาผ่านเว็บของสำนักทะเบียนและวัดผล
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3   การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบ มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ