การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Computer Programming

เพื่อให้นักศึกษา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวคิดและองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์  ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมในปัจจุบัน
Study and practice of computer concepts, computer components, hardware and software interaction, current programming language, programming practices.
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ และทักษะในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์  เพื่อเป็นการประยุกต์ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของนักศึกษาและประยุกต์ใช้ในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับงานด้านวิศวอิเล็กทรอนิกส์และควบคุมอัตโนมัติที่มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวคิดและองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ปฏิสัมพันธ์(Interaction) ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมในปัจจุบัน
Study and practice of computer concepts, computer components, hardware and software interaction, current programming language, programming practics.
  - อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ หรือ  สื่อทางโซเชียลมีเดีย
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรม ดังต่อไปนี้
(1)           มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
(2)           เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
(3)           มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 1. เน้นสร้างสถานการณ์ เพื่อก่อให้เกิดพฤติกรรม ด้าน วินัยการแต่งกาย การตรงต่อเวลา ฝึกการรับผิดชอบต่อระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยการเสริมแรงทางบวก
2. สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมไทยทุกครั้งที่มีการเรียนการสอน
3. จัดให้มีการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกการทำงานเป็นทีม และฝึกการแก้ปัญหาจากส่วนที่เล็กๆ เพื่อได้ปรับตนเองเมื่อมีปัญหาใหญ่ขึ้น 
 1. สังเกตพฤติกรรมการแสดงออก
 2. ประเมินผลด้านวินัยการแต่งกาย การตรงต่อเวลา ตลอดจนความรับผิดชอบต่อหน้าที่  จากการบันทึกคะแนน และนำผลเป็นส่วนหนึ่งด้านจิตพิสัยของการวัดผล
นักศึกษาด้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
(1)           มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
(2)           มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
 (3)          สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฏี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพที่สามารถนำไปใช้งานจริง โดยให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน  และมอบหมายให้ค้นหา ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอเพื่อมาใช้ในงานปฏิบัติต่อไป
1.   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทางทฤษฏีและปฏิบัติ
2.   ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ และโครงการที่นำเสนอ
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ ในการสอนอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
(1)           มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
(2)           สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
(3)           สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.   การมอบให้นักศึกษาทำที่ใช้การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการสืบค้นข้อมูล
           ทั้งจากตำราเรียน ตำราในห้องสมุดหรือแหล่งความรู้อื่น รู้จักการสืบค้นทาง
           อินเตอร์เน็ต
2.  การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้น
           เรียนเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
3.  การมอบให้นักศึกษาทำการวิเคราะห์ และเขียนขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาทาง
           คอมพิวเตอร์กรณีศึกษาทางการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ จากการออกแบบและ
           เขียนโปรแกรมได้อย่างเหมาะสม
4.  ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริงด้วยการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาทาง
            คอมพิวเตอร์ในลักษณะมอบหมายเป็นใบงาน
1. วัดผลจากการประเมินผลงาน  และการนำเสนอผลงาน
2.  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
3.  การทดสอบโดยใช้การสัมภาษณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหาด้วยการ
           เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อนักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับ
           สถานการณ์ที่กำหนดให้ เป็นต้น
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้
(1)           สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
(2)           สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
(1)           สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
(2)           มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย                                      
(3)           สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
(4)           มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
(5)           ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
(1)           ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
(2)           ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
(3)           ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
(4)           สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
(1)           มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
(2)           สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
(3)           มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
(1)           จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิค การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ
(2)           ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
(1)           ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์
(2)           ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
(3)           สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
สามารถใช้เครื่องมือฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง    ปฏิบัติการเขียนโปรแกรมได้อย่างเป็นระบบ    โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ไขปัญหา และสามารถปฏิบัติงานเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล โดยใช้อุปกรณ์และวิธีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ ดังข้อต่อไปนี้
(1)           มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2)           มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
           1. มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน            2. มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน            3.  มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ            4.  มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา            5.  มีการให้คะแนนผลการปฏิบัติงานเขียนโปรแกรมในด้านต่างๆ
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค วัดผลภาคปฏิบัติ 9 17 ตลอดภาคการศึกษา 20% 20% 30%
2 งานตามที่มอบหมาย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 จิตพิสัย ได้แก่ การเข้าชั้นเรียน วินัยการแต่งกาย การรักษากฏระเบียบ การให้ความร่วมมือ ตลอดภาคการศึกษา 10%
[1] ธีรวัฒน์ ประกอบผล. การเขียนแอปพลิเคชั่นด้วยวิชวลเบสิก 2010 ฉบับสมบูรณ์.
     กรุงเทพฯ : Simplify.,2556.
[2] ศุภชัย สมพานิช. คู่มือการใช้งานวิชวลเบสิก. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.,2556.
[3] ฝ่ายตำราวิชาการคอมพิวเตอร์. หลักการเขียนโปรแกรม.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น., 2554.
[4] ฝ่ายตำราวิชาการคอมพิวเตอร์. วิทยาการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ด
    ยูเคชั่น.,2553
[5] เอกรินทร์ วทัญญูเลิศสกุล. การเขียนโปรแกรมภาษาวิชวลเบสิก. กรุงเทพฯ : เอกรินทร์.,
    2555.
[6] Jim Mokeown. Programming in Visual Basic 2010. USA,New York : CABRIDGE
    UNIVERSITY PRASS.,2010.
[7] Michael Halrorson. Microsoft Visual Basic 2010. USA, Washington : Microsoft
    Prass.,2010.
 
เว็บไซต์
http://visualgramming.blogspot.com
https://irh.inf.unideb.hu/
http://www.metrowerks.com
https://nualanong39.wordpress.com/2014/07/19/พื้นฐานของโปรแกรม-visual-basic-2010/     
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษารายหน่วยเรียน
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ