จิตวิทยาสำหรับครู

Psychology for Teacher

เพื่อให้นักศึกษา
   1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยา และความสำคัญของจิตวิทยากับวิชาชีพครู
    2.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ ธรรมชาติ และการเรียนรู้ของผู้เรียน
   3.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนรู้และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
   4.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้
   5.มีทักษะเบื้องต้นในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับความแตกต่างและศักยภาพของมนุษย์ 
   6.มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน การพัฒนาบุคลิกภาพและการปรับตัวของผู้เรียน 
   7.สามารถประยุกต์ความรู้ด้านจิตวิทยาการแนะแนว การให้คำปรึกษาเพื่อการจัดการเรียนรู้และช่วยเหลือผู้เรียนตามศักยภาพ
   8. มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบวิชาชีพครูและใช้จิตวิทยาในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาผู้เรียนในมิติต่าง ๆ
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับคุณลักษณะของนักศึกษาที่เข้าศึกษาในรายวิชานี้ โดยวิเคราะห์จากองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. ความรู้พื้นฐานที่นักศึกษามีเกี่ยวกับทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา
2. คำนึงถึงการประยุกต์ความรู้ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาของนักศึกษา เช่น การยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง ฯ
ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับจิตวิทยาพื้นฐานและจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์ จิตวิทยาการเรียนรู้และจิตวิทยาการศึกษา ความแตกต่างระหว่างบุคคล การเรียนรู้ การถ่ายโยงความรู้ เชาวน์ปัญญา การจูงใจผู้เรียน บุคลิกภาพและการปรับตัว ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา การประยุกต์หลักการทางจิตวิทยาเพื่อการแนะแนว ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพและความถนัดรายบุคคล สามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ใช้จิตวิทยาเพื่อความเข้าใจและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
- แจ้งตารางสอนส่วนตัวให้นักศึกษาทราบวัน เวลาว่างของอาจารย์ผู้สอน
- แจ้งหมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัวและอีเมลล์ ไลน์กลุ่ม และ facebook ของรายวิชา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมของวิชาชีพครู อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1. มีความรอบรู้ในด้านแนวคิด ทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับจิตวิทยาพื้นฐานและจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์ จิตวิทยาการเรียนรู้และจิตวิทยาการศึกษา ความแตกต่างระหว่างบุคคล การเรียนรู้ การถ่ายโยงความรู้ เชาวน์ปัญญา การจูงใจผู้เรียน บุคลิกภาพและการปรับตัว ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา การประยุกต์หลักการทางจิตวิทยาเพื่อการแนะแนว ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.1.2. ตระหนักรู้หลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่าง แท้จริง
2.1.3. มีความสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าองค์ความรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานวิชาชีพครูอย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา การวิเคราะห์หลักจิตวิทยาในการเรียนการสอน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน สามารถประยุกต์ใช้จิตวิทยาในการช่วยเหลือพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6\.%7\.%8"; mso-level-tab-stop:none; mso-level-number-position:left; margin-left:90.0pt; text-indent:-72.0pt;} @list l0:level9 {mso-level-legal-format:yes; mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6\.%7\.%8\.%9"; mso-level-tab-stop:none; mso-level-number-position:left; margin-left:108.0pt; text-indent:-90.0pt;} ol {margin-bottom:0cm;} ul {margin-bottom:0cm;} -->

ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา การวิเคราะห์หลักจิตวิทยาในการเรียนการสอน
การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน อภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์กรณีศึกษาในการใช้จิตวิทยากับการเรียนการสอน การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์กรณีศึกษา การเรียนการสอนที่ใช้หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้จิตวิทยาสำหรับครู วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน

สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
 

การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา

                     4. การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
 
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การศึกษาทฤษฎีของนักจิตวิทยาการศึกษาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพครู การนำเสนอรายงาน

 
4. การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
 
ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง

 4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
 
ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม

 
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย

 
 
มีทักษะในการใช้จิตวิทยาในการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน การช่วยเหลือแนะแนวผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี

6.1.3 มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่มีรูปแบบหลากหลาย ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการ
(Formal) รูปแบบกึ่งทางการ (Non-formal) และรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ (Informal)
อย่างสร้างสรรค์ 6.1.4 มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในวิชาเอกที่จะสอนอย่างบูรณาการ
 
สร้างทักษะในการใช้จิตวิทยาการเรียนการสอน ทดลองปฏิบัติการใช้จิตวิทยาในการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล มอบหมายงานรายบุคคล และรายกลุ่ม
มีการประเมินพฤติกรรมการใช้จิตวิทยาในการเรียนการสอน สังเกตทักษะที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเรียนรู้ มีการประเมินผลการทำงานรายบุคคลและรายกลุ่ม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 ,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 10% 25% 10% 25%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
กุญชรี ค้าขาย. (2540). จิตวิทยาการเรียนการสอน. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
ทวีพร วิรัชชัยและสงวนศรี วิรัชชัย. (2541). จิตวิทยาการเรียนการสอน. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์
______ก 2545 (ารประยุกต์จิตวิทยาสำหรับครู.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
นุชลี อุปภัย.(2558). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546).จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
Sheffer R. David and Kipp Katherine. (2002). Developmental Psychology : Childhood and Adolescence. Wadsworth Thomson Learning: C.A.
Miller H. Patricia (2011). Theories of Developmental Psychology. Worth Publishers : C.A.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
1.2 การประเมินผลการสอนตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย และการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชา
1.3 การรับข้อมูลเสนอแนะจากนักศึกษา เพื่อพิจารณาพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและ กิจกรรมให้มีประสิทธิภาพ
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ การพิจารณาจากผลการประเมินผู้สอนโดยผู้เรียน
การปรับปรุงการสอน มีการนำผลการประเมินจากข้อ ๒-๓ มาใช้พิจารณาโดยใช้การระดมสมองจากผู้สอนในรายวิชานี้ร่วมกัน หาแนวทางและปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการจัดกระบวนการการเรียนการสอนกิจกรรม และสื่อประกอบที่ทันสมัย ตลอดจนเอกสารประกอบ
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินการสอน การปรับปรุงการสอน และทดสอบการสอนผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาได้มีการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลรายวิชา โดยมีการวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชา โดยมีการปรับปรุงรายวิชา ตามข้อเสนอแนะของผู้สอนและผู้เรียนหรือตามการทดสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ โดยมีการวางแผนปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
 
 
4.2 ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม