คอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนองานออกแบบอุตสาหกรรม

Computer Presentation for Industrial Design

เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ แล้วนำเสนอผลงานในลักษณะ 2 มิติและ 3 มิติได้อย่างถูกต้องตามหลักการและทฤษฎีเบื้องต้น  โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ ในเรียนการสอนดังนี้  1.  มีความรู้ความเข้าใจในการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ แล้วนำเสนอผลงานในลักษณะ 2 มิติและ 3 มิติ 2.  เข้าใจหลักการ ขั้นตอน กระบวนการในการออกแบบ และการนำเสนอผลงาน 3.  มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปในการนำเสนอผลงาน 4.  เกิดความคิดในการคัดเลือกทรัพยกรเครื่องมือ โปรแกรมนำเสนอผลงานในลักษณะ 2 มิติและ 3 มิติ และใช้เครื่องมือหรือ  โปรแกรมสร้างผลงานนำเสนอผลงานในลักษณะ 2 มิติและ 3 มิติ 5. นำผลงานในลักษณะ 2 มิติและ 3 มิติไปประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านอื่นได้  6. เป็นผู้มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการสร้างสื่อ และงานกราฟิกอย่างมีคุณธรรม
นักศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะฝีมือในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปนำเสนอผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์แบบ 3 มิติ ภาพเคลื่อนไหว และมัลติมีเดีย โดย สามารถนำไปประยุกต์กับการนำเสนอในงานออกแบบในสาขาต่างๆ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปนำเสนอผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ในลักษณะสื่อมัลติมีเดีย และสื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ และปฏิบัติเกี่ยวกับ หลักการทำงานและการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ประกอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิกแต่ละประเภท กระบวนการออกแบบสร้างสรรค์และ การนำเสนองานคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
 - อาจารย์ประจำรายวิชา  ให้คำปรึกษาและแนะนำการปฏิบัติงานทุกครั้งที่ลงมือปฏิบัติงาน   - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
- มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- เคารพและให้เกียรติความคิดและความรู้ของบุคคลอื่น ๆ และมีความซื่อสัตย์สุจริต ต่อตนเองและผู้อื่น
- มีความอดทนอดกลั้น สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไม่มีอคติในการทำงาน โดยสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้
- มีการตกลงกับนักศึกษาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษาถึงระเบียบการเข้าเรียน การค้นคว้าและการส่งงาน และมีการตรวจสอบการเข้าเรียนของนักศึกษาทุกสัปดาห์  - มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเกี่ยวกับการสร้างงานโมเดลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเทคนิควิธีการต่างๆเพิ่มเติม โดยระบุให้มีการอ้างอิงในรายงานดังกล่าว และมีการประเมินผลโดยผู้สอนเป็นระยะ  - อาจารย์ผู้สอนมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของความซื่อสัตย์ ให้เกียรติความคิดและความรู้รวมถึงผลงานของผู้อื่น และมองเห็นว่าการเคารพตัวเองที่มีคุณค่ามากกว่าแค่ผลคะแนนที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติ และมีการมอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม
- ปฏิบัติและดำเนินการตามกฎข้อบังคับที่ได้ตกลงร่วมกัน
- ตรวจสอบพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
- มีการตรวจสอบและแนะนำในการศึกษา ที่เน้นการสร้างสรรค์งานและการประเมินผลการทำงานระบบทีม โดยให้นิสิตมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานระบบทีม
- ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างภาพ 3 มิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพ 3 มิติด้วยคอมพิวเตอร์
- ทักษะในการประยุกต์ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติต่างๆในการสร้างสรรค์งานออกแบบต่างๆ
การบรรยายหน้าชั้นเรียนจากวีดีทัศน์ เว็บไซต์  การสาธิต สื่อการสอน การทำรายงานเป็นกลุ่ม  การทำงานประจำสัปดาห์ และนำเสนอโครงการสรุปปลายเทอม
ทดสอบย่อยภาคทฤษฏีและปฏิบัติกลางภาคเรียน การตรวจงานประจำสัปดาห์  การตรวจรายงาน และการนำเสนองานโครงการปลายภาคเรียน
- การคิดวิเคราะห์ในการประยุกต์ใช้เครื่องมือในโปรแกรมและวิธีการขึ้นรูปโมเดลมาสร้างสรรค์งานขึ้นรูปด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์  - การนำเสนอผลงานในลักษณะสามมิติ ที่มีความคิดสร้างสรรค์เหมาะสมกับชิ้นงานที่ผลิต
การบรรยายหน้าชั้นเรียนจากวีดีทัศน์ ภาพนิ่ง เว็บไซต์  การสาธิต การทำรายงานเป็นกลุ่ม  การทำงาน  ประจำสัปดาห์ และนำเสนอโครงการสรุปปลายเทอม
ทดสอบย่อยกลางภาคเรียน การตรวจงานประจำสัปดาห์  การตรวจรายงาน และการนำเสนองาน โครงการปลายภาคเรียน
- ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย  - ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และการแก้ปัญหาในการทำงานเป็นกลุ่ม   - ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
- บรรยายพร้อมสาธิตตัวอย่างประกอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่ละสัปดาห์
- มอบหมายโครงการปลายภาคเรียนโดยให้ทำงานเป็นกลุ่ม
- การตรวจสอบพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานได้ตรงตามขอบเขต และเวลาที่กำหนดไว้
- การประเมินผลการงานทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมิน
ทักษะในการนำเสนอผลงาน  ทั้งในด้านชาร์ตนำเสนอ  และเอนิเมชั่น
มอบหมายให้มีการทำงานในชั้นเรียนแต่ละสัปดาห์ การเขียนรายงาน และศึกษาค้นคว้านอกเวลาเรียน  การปรึกษากันภายในกลุ่มในเรื่องของโครงการ
ประเมินผลด้วยการนำเสนอด้วยการพูด  การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์
- สาธิตหน้าชั้นเรียน ศึกษาจากเว็บไซต์ สื่อการสอน และการศึกษาด้วยตนเอง  - มอบหมายงานประจำรายสัปดาห์  - มอบหมายโครงการสรุปปลายภาคการศึกษา
ประเมินด้วยการนำเสนอของนักศึกษาตามแบบประเมินที่กำหนดไว้  แก้ไข
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 นักศึกษาส่งงานปฏิบัติรายสัปดาห์ หลังบทเรียน 70%
2 การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การส่งเอกสารค้นคว้ารายงาน หลังบทเรียน 10%
3 สอบปฏิบัติกลางภาค สอบปฏิบัติปลายภาค 8,17 10%,10%
4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ณัฐพงศ์ วณิชชัยกิจ.After Effects CS6 Essential.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ไอดีซี พรีเมียร์, 2556 

จุฑามาศ จิวะสังข์.สร้างสรรค์เอฟเฟ็กต์และตกแต่งงานวิดีโอ After Effects CS6 .กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ซิมพลิฟาย , 2556 

จุฑามาศ จิวะสังข์.Premiere Pro CS6 สำหรับผู้เริ่มต้น.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ซิมพลิฟาย , 2556 

ธันยพัฒน์ วงค์รัตน์.คู่มือการใช้งาน Premiere Pro CS6.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ สวัสดีไอที จำกัด, 2556 

Jun Sakurada (ซากุระดะ จุน).Basic InfoGraphic.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ พรีเมียร์, 2558 

มนัสสินี ล่าสันเทียะ. Workshop Illustrator CS6 Graphic Design.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ซิมพลิฟาย , 2556
- สังเกตการณ์จากพฤติกรรมของนักเรียน
  - แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 

- ให้อาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาแจ้งผู้รับผิดชอบรายวิชา ในกรณีที่มีปัญหาของนิสิต 

- เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในรายวิชานี้ 

- ข้อเสนอแนะผ่านแบบสอบถามที่ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำ
- การสังเกตการณ์การสอนของผู้ร่วมสอน  - แบบทดสอบย่อยในชั้นเรียน  - ผลการทำโครงการสรุปปลายภาคเรียนของนักศึกษา
- ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการประเมินการสอนและผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา  - ปรึกษาและสรุปทบทวนกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างผู้สอน  - สัมมนาการจัดการเรียนการสอนในระดับภาควิชา ร่วมกับผู้รับผิดชอบรายวิชาและผู้สอนในกลุ่มวิชาหลักสาขา  - วางแผนและดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
- ในระหว่างกระบวนการสอน มีการทบทวนผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ โดยการสอบถามจากนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน และแบบทดสอบย่อยในชั้นเรียน  - เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษา มีการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่มอาจารย์ผู้สอน และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบผลงาน วิธีการให้คะแนน และพฤติกรรมในการเรียนรู้และส่งงาน
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ควรมีการปรับปรุงรายละเอียดย่อยของรายวิชาตามผลการประชุมร่วมระหว่างผู้สอนเป็นรายปี และปรับปรุงรายวิชาทุก 4 ปี หรือตามข้อเสนอแนะ (จากผลการประชุมร่วมระหว่างผู้สอนและจากนักศึกษา) และผลการทวนสอบมาตรฐานสัมฤทธิ์