การทดลองอาหาร

Experimental Cookery

    
เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
1.1  อธิบายความหมาย ความสำคัญของการทดลองอาหาร
1.2  เข้าใจเทคนิคเบื้องต้นของการทดลองอาหาร
1.3  ทราบถึงหลักและวิธีการเขียนรายงานการทดลองอาหาร
1.4  ทราบถึงหลักการประเมินผลโดยใช้เครื่องมือและประสาทสัมผัส
1.5  ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้วิทยาศาสตร์ทางด้านการทดลองอาหารในงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคเบื้องต้นของการทดลองอาหาร หลักและวิธีการเขียนรายงานการทดลองอาหาร การค้นคว้า การเตรียมงาน หลักการประเมินผลโดยใช้เครื่องมือและประสาทสัมผัส การใช้วิทยาศาสตร์ทางด้านการทดลองอาหารในงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นวิชาโครงงาน การแปรรูปอาหาร ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงนำกรณีศึกษาที่เป็นปัญหาด้านอาหารมาใช้เป็นตัวอย่างในการทดลอง และให้นักศึกษาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเน้นให้สอดคล้องกับอาหารที่มีมากในท้องถิ่น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญของการทดลองอาหาร เทคนิคเบื้องต้นของการทดลองอาหาร หลักและวิธีการเขียนรายงานการทดลองอาหาร การค้นคว้า การเตรียมงาน หลักการประเมินผลโดยใช้เครื่องมือและประสาทสัมผัส การใช้วิทยาศาสตร์ทางด้านการทดลองอาหารในงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์และกรณีศึกษา
    3.1 วันพุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักครูสาขาอุตสาหกรรมเกษตร โทร 085 9108165
    3.2  e-mail; achara2518@yahoo.co.th เวลา 18.00 – 20.00 น. ทุกวัน
˜   มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
˜   มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
˜  มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
™ เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- การสอนแบบบรรยายเนื้อหาทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหลักการทดลองอาหารโดยสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถามเกี่ยวกับการทดลองอาหาร หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาเรียน
- สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของการวิจัย หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ
- สอนแบบฝึกทักษะโดยการปฏิบัติลงมือปฏิบัติทดลองงานทางด้านอาหาร
- การสังเกต พฤติกรรมและความสนใจ
- ประเมินผลงานที่รับผิดชอบร่วมกันของกลุ่ม
- พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
˜  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
˜  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
˜  สามารถบูรณาการความรู้กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทางโดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมในงานวิจัยใหม่ๆทางด้านอาหาร
- การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง ด้วยการค้นคว้างานวิจัยทางด้านอาหารทางอินเตอร์เน็ต
- การสอนที่ร่วมกับการเรียนรู้หลักการทดลองอาหารที่นิยมใช้ในงานวิจัยด้านอาหาร
- การสอนด้วยวิชาปฏิบัติการควบคู่ไปกับการเรียนการสอนภาคทฤษฎี
- ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
- ประเมินจากการฝึกปฏิบัติทดลองอาหาร
˜  มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
˜  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
- สอนโดยเน้นให้รู้ถึงเทคนิคเบื้องต้นของการทดลองอาหาร
- สอบแบบบรรยายพร้อมยกตัวอย่างหลักและวิธีการเขียนแผนการทดลองอาหาร
- สอนแบบบรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติการประเมินคุณภาพอาหารในรูปแบบต่างๆ
- สอนแบบบรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติการเขียนรายงานผลการทดลอง
- ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
- ประเมินจากเล่มรายงานโครงงานทดลองอาหาร
- การสอบย่อย การสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
˜  มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยามสังคมที่ดี
™ มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
˜  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
จากกิจกรรมการเรียนการสอนในชั่วโมงปฏิบัติการ
- มอบหมายงานกลุ่มจากกิจกรรมการเรียนการสอนในชั่วโมงปฏิบัติการ
-  กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาในการส่งงานและรายงาน
-  ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
-  ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน   
˜  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
˜  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
˜  สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่าง ประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มอบหมายงานค้นคว้างานวิจัยด้านอาหารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ  และให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้น
- นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 2 3 1 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 24054309 การทดลองอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การเตรียมความพร้อมทั้งวัสดุและอุปกรณ์ การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
2 ด้านความรู้ ปฏิบัติเพื่อทำโครงงาน สอบกลางภาค สอบปลายภาค 13-15 8 16 10 % 25 % 25 %
3 ด้านทักษะทางปัญญา สอบกลางภาค สอบปลายภาค ภาคปฏิบัติ 15 16 ตลอดภาค 10%
4 ด้านความสัมพันธ์ความรับผิดชอบ การสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน และงานที่มอบหมาย ตลอดภาคเรียน 10 %
5 ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร เล่มรายงาน 1-15 10%
    - อัจฉรา ดลวิทยาคุณ.  2556.  ทดลองอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.
    - คณาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร.  2552.  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร.  พิมพ์ครั้งที่ 6.  คณะอุตสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
- Belle Lowe.  2012. Experimental Cookery, from the Chemical and Physical Standpoint.  Hardpress.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 รายงานผลการปฏิบัติการทดลองอาหารจากเล่มเอกสารโครงงานด้านอาหาร
1.2 ความสนใจและตั้งใจในการทำงาน
1.3 ผลการเรียนของนักศึกษา
1.4 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          กลยุทธ์ในการประเมินการสอนในรายวิชานี้ ดูผลจากผลการประเมินผู้สอนของนักศึกษาและนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพการสอนต่อไป
หลังจากทราบผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
2.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก5 ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง