ทักษะวิชาชีพประมง 1

Practical Skills in Fisheries 1

1. มีทักษะในการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญ
2. มีทักษะในการอนุบาลลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน
3. มีทักษะในการผลิตอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน
4. มีทักษะการจัดการบ่อและพื้นที่ที่ใช้อนุบาลสัตว์น้ำ
5. มีทักษะในการใช้เครื่องมือต่างๆในห้องปฏิบัติการทางการประมงและการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
 
 
 
 
 
เพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการด้านการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ อนุบาลสัตว์น้ำ
เลี้ยงสัตว์น้ำ การผลิตและให้อาหารสัตว์น้ำ และการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาและทำงานต่อไป
ฝึกปฏิบัติการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ การอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน การผลิตอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน การจัดการบ่อและพื้นที่ทีใช้ในการอนุบาลสัตว์น้ำ การใช้เครื่องมือต่างๆในห้องปฏิบัติการทางการประมง และการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ 
3.1 วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. สาขาวิชาประมง โทร 0862046622
3.2  e-mail;job6942@gmail.com เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
 
มีคุณธรรมและ จริยธรรม  1.2 มีจรรยาบรรณ
กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติให้นักศึกษาต้องถือปฏิบัติในการเรียนรายวิชานี้ เช่น การตรงเวลา การมีวินัยในห้องเรียน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา
- นักศึกษา ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่อาจารย์กำหนด
 
2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ
2.2 มีความรอบรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต
อธิบาย และปฏิบัติการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจบางชนิด การผลิตอาหารปลาวัยอ่อน การใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการ การจัดการคุณภาพน้ำในการเลี้ยงสัตว์น้ำและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ทดสอบจากการปฏิบัติงาน ความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 
3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ 3.2 สามารถคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์
3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้
 
ฝึกตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา เพื่อเป็นแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
- ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
4.1 มีภาวะความเป็นผู้นำ 4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ
- มอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม แล้วนำเสนอในชั้นเรียน และต้องแนะนำให้นักศึกษาเข้าใจใน การทำงานร่วมกัน
- ให้นักศึกษาทำงานร่วมกันเพื่อเกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงาน และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากกระบวนการทำงาน การจัดระบบในการปฏิบัติงาน
- ประเมินจากความเข้าใจในกระบวนการทำงานและการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสมในการออกปฏิบัติภาคสนาม
5.1 มีทักษะการสื่อสาร 5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
มอบหมายงานให้ศึกษาทำการคำนวณปริมาณฮอร์โมนที่ใช้ในการผสมเทียมสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจบางชนิด คำนวณส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์น้ำ ฝึกการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
- ประเมินจากความถูกต้องของปริมาณฮอร์โมน  ปริมาณสารเคมีในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ และปริมาณส่วนประกอบอาหารสัตว์น้ำที่ใช้
6.1 มีทักษะทางวิชาชีพ
การสอนแบบปฏิบัติ โดย
- กำหนดให้นักศึกษาฝึกทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
-กำหนดให้นักศึกษาฝึกทักษะในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้อย่างปลอดภัย
ประเมินจากงานที่นักศึกษาไดปฏิบัติ โดยการสอบปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ การคำนวณ การประกอบสูตรอาหารสัตว์น้ำ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 มีคุณธรรมและจริยธรรม 2 มีจรรยาบรรณ 1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ 2 มีความรอบรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต 1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ 2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ 1 ภาวะผู้นำ 2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ 1 มีทักษะการสื่อสาร 2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 มีทักษะทางวิชาชีพ
1 BSCAG311 ทักษะวิชาชีพประมง 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.2 และ1.1.3 -การเข้าเรียนตรงเวลา -การมีวินัยและมีความพร้อมเพียงในการร่วม -กิจกรรมเสริมหลักสูตร -ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและการแสดงออกต่อ ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1.1, 2.1.2 และ 2.1.3 -ทดสอบความเข้าใจโดยจะมีการสอบย่อย -ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน การตอบคำถาม และรายงานที่นำส่ง ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 3.1.1, 3.1.2, 4.1.1, 4.1.2, 5.1.1, 5.1.2 และ 5.1.3 -ความสามารถทำงานร่วมกันของนักศึกษาในการสืบค้นกรณีศึกษาและการมีส่วนร่วมในการอภิปรายโดยอยู่บนฐานความรู้ของรายวิชาได้อย่างเป็นระบบ ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 6.1.1 และ6.1.2 การมีความกระตือรือร้นในการลงมือปฏิบัติการ และความเข้าใจในการเครื่องมือ และอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และคำนึงถึงความปลอดภัยระหว่างการทำงาน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. โชคชัย เหลืองธุวปราณีต. 2548. หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 481 หน้า.
2. สุภาพร สุกสีเหลือง. 2550. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่อเสริมกรุงเทพ. 312 หน้า.
3. เวียง เชื้อโพธิ์หัก. 2542. โภชนศาสตร์สัตว์น้ำ และการให้อาหารสัตว์น้ำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 255 น.
ไม่มี
1. เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น เว็บไซต์กรมประมง
2. เอกสารรายงานวิจัยของกรมประมง
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3  ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
 
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ