สัญญาณและระบบ

Signals and Systems

        เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน องค์ประกอบ ประโยชน์จากการใช้งานด้านสัญญาณและระบบทั้งแบบต่อเนื่องและแบบไม่ต่อเนื่อง  ผลกระทบ  การใช้งานด้านการสัญญาณและระบบในปัจจุบัน  ที่มีอิทธิพลต่อสังคม
        เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย โดยเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ เกี่ยวกับ สัญญาณและระบบแบบไม่ต่อเนื่อง    ผลการแปลงแซดการแปลงฟูรีเยร์  ซึ่ง เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ   ไปใช้ในการประยุกต์การประมวลผลสัญญาณดิจิตอล  การประมาณสเปกตรัมของกำลังทางความถี่   เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
        ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ การจำแนกประเภทและคุณสมบัติของสัญญาณและระบบ วิธีวิเคราะห์ระบบทั้งในเชิงเวลาและเชิงความถี่ ทฤษฎีคอนโวลูชั่น การแปลงแบบลาปลาซ การแปลงแบบฟูเรียร์ การแปลงแบบแซด การประยุกต์ใช้วิเคราะห์ในวงจรไฟฟ้าของการแปลงแบบต่างๆ ผังการไหลเวียน สัญญาณ แบบจำลองของโรงงานระบบวงจรเปิด ระบบวงจรปิด เสถียรภาพของระบบ แนวทางเดินของรากทฤษฎี การสุ่ม ผลตอบสนองเชิงเวลา ผลตอบสนองเชิงความถี่ ระบบป้อนกลับ  ชุดสมการแสดงสถานภาพของระบบและคำตอบ
        Study of classification and characterization of signals and systems; systems analysis in both time and frequency; convolution theory; laplace transform; fourier transform; z transform; the application with analyzes on the circuit's conversion types; the signal flow diagram; the model of factories; open circuit system; closed circuit system; system stability; the roots of the random theory; Time response; frequency response; feedback system; the status sets of the system and answer.
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย มีความรับผิดชอบ และเคารพกฎระเบียบ ตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
 1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
 1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
 1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายหลักการของสัญญาณและระบบแบบไม่ต่อเนื่อง   ผลการแปลงแซด    การแปลงฟูเรียร์    พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการ
1.2.2 การประยุกต์การประมวลผลสัญญาณ  การใช้โปรแกรมสำหรับออกแบบและวิเคราะห์สัญญาณ 
1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.2.4 อภิปรายกลุ่ม
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินจากการมีวินัยและเตรียมพร้อมของนักศึกษาในการเข้าเรียนและการส่งการบ้าน
1.3.4   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.5  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้ในหลักการ การจำแนกประเภทและคุณสมบัติของสัญญาณและระบบ วิธีวิเคราะห์ระบบทั้งในเชิงเวลาและเชิงความถี่ ทฤษฎีคอนโวลูชั่น การแปลงแบบลาปลาซ การแปลงแบบฟูเรียร์ การแปลงแบบแซด การประยุกต์ใช้วิเคราะห์ในวงจรไฟฟ้าของการแปลงแบบต่างๆ ผังการไหลเวียน สัญญาณ แบบจำลองของโรงงานระบบวงจรเปิด ระบบวงจรปิด เสถียรภาพของระบบ แนวทางเดินของรากทฤษฎี การสุ่ม ผลตอบสนองเชิงเวลา ผลตอบสนองเชิงความถี่ ระบบป้อนกลับ  ชุดสมการแสดงสถานภาพของระบบและคำตอบ   การใช้โปรแกรมสำหรับการออกแบบและวิเคราะห์สัญญาณ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์    เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ    ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4  สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 
2.1.5  สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
บรรยายหลักการทางทฤษฎี  และประยุกต์ใช้ด้านสัญญาณและระบบแบบไม่ต่อเนื่อง   ผลการแปลงแซด การแปลงฟูเรียร์   โดยสอดคล้องกับเนื้อหาการใช้โปรแกรมสำหรับการออกแบบและวิเคราะห์สัญญาณ  การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าเพิ่มเติม   ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – Based Learning
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ   สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณให้สอดคล้องตามหลักความเป็นจริง   มีการวิเคราะห์ทั้งในแง่โดเมนความถี่และโดเมนเวลา  เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการประยุกต์ ใช้ โปรแกรมสำหรับการออกแบบและวิเคราะห์สัญญาณ   โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้
3.1.1  มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3  สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4  มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำการวิเคราะห์  และเขียนขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์
3.2.2   การอภิปรายกลุ่ม
3.2.3   กรณีศึกษาทางการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์  จากการออกแบบและเขียนการวิเคราะห์สัญญาณที่ออกแบบได้อย่างเหมาะสม
3.2.4   ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริงด้วยการเขียนโปรแกรมออกแบบระบบสัญญาณ
3.2.5   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา    มีแนวคิดของการแก้ปัญหา  และหรือมีการวิเคราะห์แนวคิดในการเขียนโปรแกรมสำหรับการออกแบบสัญญาณ
3.3.2   วัดผลจากการประเมินวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา 
3.3.3   วัดผลจากทักษะการใช้โปรแกรมตามสภาพจริงของนักศึกษา
3.3.4   การทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์
3.3.5   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน    พัฒนาความเป็นผู้เขียนโปรแกรมและผู้ใช้โปรแกรมได้อย่างเป็นประสานสอดคล้องกัน     พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองพร้อมทั้งมีความรับผิดชอบในงานเขียนโปรแกรมได้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา    สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขความผิดพลาดจากการรันโปรแกรมได้อย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของส่วนรวม      โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม    สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำ และผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากการเขียนขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น  การประยุกต์ใช้โปรแกรมที่มีภาษาเป็นโครงสร้าง      การนำตัวอย่างโปรแกรมมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายแบบ  หรือ การอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ในชั้นเรียน
4.3.3   ประเมินจากสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูลที่ได้    
พัฒนาทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลขผสมผสานกับการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาทางการออกแบบสัญญาณดิจิตอล       พัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมเพื่อสื่อสารระหว่างซอฟต์แวร์ของตนเองกับผู้ใช้โปรแกรมผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์    พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษาการเขียนและอ่านโปรแกรม   พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต       โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้
5.1.1  มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2  มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4  มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5  สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3   มอบหมายให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์  อาจมีการวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์กับกลุ่มนักศึกษา
5.2.4   ให้นักศึกษาลงมือเขียนโปรแกรมด้วยตนเองเพื่อพิสูจน์ผลจากการวิเคราะห์
5.3.1   ประเมินจากผลลัพธ์การรันโปรแกรม  และแสดงรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้คำสั่งต่างๆ จากการเขียนโปรแกรม
5.3.3  ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎี  การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง
5.3.4  กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
สามารถใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์ทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง    ปฏิบัติการเขียนโปรแกรมออกแบบสัญญาณดิจิตอลได้อย่างเป็นระบบ    โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้
6.1.1  สามารถใช้อุปกรณ์ เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง   ปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและปลอดภัย
6.1.2  มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม   มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ   และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1  สาธิตการออกแบบสัญญาณและสอนการใช้โปรแกรมออกแบบและการรันโปรแกรมเพื่อพล็อตกราฟ 
6.2.2  ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
6.2.3  แสดงความชื่นชมในความสามารถและให้รางวัลแก่นักศึกษาที่มีผลงานการฝึกปฏิบัติดี
6.2.4   นำเสนอโดยใช้รูปแบบโจทย์ปัญหาและเทคโนโลยีที่เหมาะสม   เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์ และลงมือเขียนโปรแกรมด้วยใจ
      6.2.5  อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในการเขียนโปรแกรมและดูแลฝึกทักษะตลอดเวลา
6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2 มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
6.3.3 มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
6.3.4 มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา
6.3.5 มีการประเมินนักศึกษาในวิชาสหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2.
1 32092405 สัญญาณและระบบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 - 2.1.5, 3.1.1 - 3.1.5 สอบกลางภาค (ทฤษฎี), สอบปลายภาค (ทฤษฎี) 8, 17 7.5%, 7.5%, 5%, 5%
2 3.1.1 - 3.1.5, 4.1.1 - 4.1.5, 5.1.1 - 5.1.6, 6.1.1 - 6.1.2 การส่งแบบฝึกหัดในห้องเรียนทฤษฎี, การส่งงานตามที่มอบหมาย, การเขียนโปรแกรมออกแบบสัญญาณ, การรันโปรแกรมออกแบบสัญญาณ ตลอดภาคการศึกษา 7.5%, 7.5%, 5%, 5%
3 1.1.1 - 1.1.7, 3.1.1 - 3.1.5 การเข้าชั้นเรียน, การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 15%
Stergios stergiopoulos, “Advanced Signal Processing Handbook: Theory and Implementation for Radar, Sonar, and Medical Imaging Real Time Systems (Electrical Engineering & Signal Processing Series)”, 2000, CRC Press, ISBN-13: 978-0849336911, 752 Pages.
Stergios stergiopoulos, “Advanced Signal Processing Handbook: Theory and Implementation for Radar, Sonar, and Medical Imaging Real Time Systems (Electrical Engineering & Signal Processing Series)”, 2000, CRC Press, ISBN-13: 978-0849336911, 752 Pages.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
 ทุกๆ เว็บไซต์ที่ค้นหาในอินเตอร์เน็ต โดยให้ป้อนคำว่า  “Signals and Systems ” บน Search Engine
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้

การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
 
1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
 
1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
 
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี  หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ