สนามแม่เหล็กไฟฟ้า

Electromagnetic Field

เพื่อให้นักศึกษา

สามารถแสดงวิธีการวิเคราะห์เวกเตอร์เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาทางสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ สามารถบ่งบอกลักษณะสนามไฟฟ้า พฤติกรรมสนามไฟฟ้าสถิตได้ สามารถแสดงวิธีการคำนวณหาค่างานที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุผ่านสนามไฟฟ้าสถิตได้ สามารถแสดงวิธีการคำนวณหาค่าศักย์ไฟฟ้าที่เกิดจากสนามไฟฟ้าได้ สามารถนำความรู้เรื่องสนามไฟฟ้าไปศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองของ ตัวนำ ฉนวน ได้ อธิบายพฤติกรรมการทำงานของตัวเก็บประจุได้ อธิบายความหมายของกระแสไฟฟ้าได้ อธิบายถึงวิธีการเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านลวดตัวนำในลักษณะต่าง ๆ ได้ อธิบายพฤติกรรมของแรงที่เกิดจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้  อธิบายถึงกฎทางสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้  อธิบายที่มาของสมการแมกซ์เวลล์ และความหมายของสมการแมกซ์เวลล์ได้  มีทัศนคติที่ดีต่อรายวิชาวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ขั้นพื้นฐาน เข้าใจในเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า ตลอดจนการประยุกต์องค์ความรู้เรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าไปใช้เอื้อต่อการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมโทรคมนาคม ดังต่อไปนี้

เพื่อให้มีความชัดเจนในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนความทันสมัยของสื่อการเรียนการสอน และสอดคล้องกับผู้เรียน

เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ศึกษาเกี่ยวกับสนามไฟฟ้าสถิต ตัวนำและฉนวน ตัวเก็บประจุ การพาและการนำกระแส สนามแม่เหล็กสถิต ความเหนี่ยวนำ สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แปรตามเวลา สมการของแม็กเวลซ์ การเคลื่อนที่ของคลื่นผ่านตัวกลางต่างๆ การแผ่ของคลื่น ระบบสายส่งและท่อนำคลื่น
 ใช้เวลาให้คำปรึกษาในห้องเรียนและนอกห้องเรียนตามโอกาสของนักศึกษา ไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนเนื่องจากบริบทของผู้สอนและผู้เรียนมามหาวิทยาลัยและพบเจอกันตลอดในระหว่างมีการเรียนการสอน
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  สามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้
           1.1.1   มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
           1.1.2   มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
           1.1.3    มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
            1.1.4    เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1  บรรยายยกตัวอย่างเรื่องเล่าที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมร่วมในการจัดการเรียนการสอน
             1.2.2  สร้างข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด การแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
             1.2.3   ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรมกับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
1.3.1   มีการให้คะแนนการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงาน
             1.3.2   หากมีการกระทำทุจริตในการสอบถูกตัดคะแนน
            1.3.3   มีการให้คะแนนคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษาและการมีจรรยาบรรณในการอ้างอิงที่ไปที่มาของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงาน
มีความรู้และเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับสนามไฟฟ้าสถิต ตัวนำและฉนวน ตัวเก็บประจุ การพาและการนำกระแส สนามแม่เหล็กสถิต ความเหนี่ยวนำ สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แปรตามเวลา สมการของแม็กเวลซ์ การเคลื่อนที่ของคลื่นผ่านตัวกลางต่างๆ การแผ่ของคลื่น ระบบสายส่งและท่อนำคลื่น
การสอนในชั่วโมงทฤษฎี จำนวน 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผู้สอนสามารถใช้กลวิธการสอน เทคนิคการสอนที่เห็นว่าเหมาะสมกับเนื้อหาและเรื่องที่จะทำการสอนในแต่ละสัปดาห์รวมถึงพิจารณาจากสภาพผู้เรียน ห้องเรียน สื่อ
ใช้แบบทดสอบย่อย ข้อสอบลางภาค ข้อสอบปลายภาค
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์ และ บูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี
3.2.1   ให้ผู้เรียนนำความรู้ชั่วโมงทฤษฎีและข้อมูลจากการค้นคว้าเพิ่มเติมมาใช้ในการเรียนร่วม
            3.2.2     มีการมอบหมายงานให้นำเสนอร่วม
3.3.1   สอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และการคำนวณเพื่อการวิเคราะห์ บูรณาการองค์ความรู้ในเนื้อหาของรายวิชา
3.3.2   ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเนื้อหาวิชาหรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรายวิชา
4.2.2   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ผลของตัวอย่างวงจรที่กำหนดให้
5.1.4   พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ
5.1.5   พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
5.1.6   พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
          5.1.7  พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาได้
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   สังเกตทักษะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
.1.1 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานใน
วิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบ
หลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์
            6.1.2  แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึง
ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมี
นวัตกรรม
6.2.1   สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.3.1   ประเมินจากกิจนิสัยในการปฏิบัติงาน
6.3.2   ประเมินผลทักษะในการปฏิบัติงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
เอกสาร และไฟล์ประกอบการเรียนการสอนของอาจารย์อนุสรณ์เรียบเรียง
ไม่มี
เว็บไซด์ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา คือ แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บ
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  คือ ใช้ผลการผลการเรียนของนักศึกษาหลังจากสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้ว่ามีการกระจายคะแนนดีหรือไม่
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน หาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน พัฒนาสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนและพัฒนาเทคนิคการสอนให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้จากคะแนนสอบและเกรด
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  คือ  ปรับปรุงรายวิชาทุก ๆ ภาคเรียน หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4