วิจัยธุรกิจ

Business Research

1.1 เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาความสำคัญของการวิจัยทางธุรกิจ ขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัยทางธุรกิจ การฝึกปฏิบัติการวิจัยทางธุรกิจโดยการเสนอโครงร่างการวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมุติฐานในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์และสรุปผลงานวิจัยเพื่อสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในทางธุรกิจ
1.2 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับการทำวิจัยทางธุรกิจ
1.3 เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการที่จะนำไปประกอบอาชีพ และนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
เพื่อสอดแทรกการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการประมวลผลและปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้มีความเหมาะสม และทันสมัย สอดคล้องกับการดำเนินการวิจัยในปัจจุบัน
ศึกษาความสำคัญและขอบเขตของการวิจัยธุรกิจ กระบวนการทำวิจัยธุรกิจ การจัดทำโครงการวิจัยธุรกิจเบื้องต้น โดยครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการค้นหาปัญหาวิจัย จุดประสงค์วิจัย การออกแบบวิจัย การเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล และการจัดทำรายงานวิจัย ทั้งนี้ให้มีการปฏิบัติจริง
3 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ เฉพาะราย/กลุ่มที่ต้องการ
1.1.1 เคารพในสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น พร้อมกับปฏิบัติต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
1.1.2 พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีจรรยาบรรณของนักวิจัย
1.1.3 เป็นผู้มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น และเข้าใจในความแตกต่างของบุคคล
1.1.4 มีความอดทนและรับผิดชอบ
1.1.5 มีความเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
1.1.6 รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม
1.1.7 แต่งกายถูกระเบียบ ประพฤติปฏิบัติถูกต้องตาม กฎ ระเบียบ ของมหาวิทยาลัย
1.1.8 เคารพกฎระเบียบ กติกา และข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย องค์กร และสังคม
1.1.9 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมได้
1.2.1 ใช้แนวการสอนแบบสื่อสารสองทาง (Two-way communication) โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามเนื้อหาสาระตามรายวิชา กระบวนการวิจัยตั้งแต่ขั้นการกำหนดปัญหาการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การออกแบบการวิจัย การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง การใช้สถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการเขียนรายงานการวิจัย
1.2.2 ใช้เทคนิคการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กระบวนการกลุ่ม การเรียนแบบร่วมมือ การอภิปรายกลุ่ม และการสืบเสาะข้อมูล เพื่อให้นักศึกษาระดมสมองในการแก้ไขปัญหา แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาจากกรณีตัวอย่างตามประเด็นที่กำหนด
1.2.3 กำหนดสถานการณ์ ยกตัวอย่างจากกรณีตัวอย่าง ที่ผู้วิจัย/คณะผู้วิจัยขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย และให้เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ตลอดจนการรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ มุ่งเน้นการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และ ไม่คัดลอกผลงานวิจัยหรือวรรณกรรมของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยเด็ดขาด
1.2.4 อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นแบบตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
1.2.5 อภิปรายกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และฝึกฝนการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม และมีทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
1.3.1 พิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา
1.3.2 พิจารณาจากการร่วมอภิปรายผลการวิจัยที่มีเหตุผลถูกต้อง เหมาะสม สร้างสรรค์
1.3.3 ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานการวิจัยและรูปเล่ม
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
ในรายวิชา วิจัยธุรกิจ ประกอบด้วย เนื้อหาสาระ จำนวน 10 หน่วยเรียน ได้แก่
หน่วยที่ 1 บทนำสู่การวิจัย
หน่วยที่ 2 กระบวนการวิจัย
หน่วยที่ 3 การกำหนดปัญหาการวิจัย และการทบทวนวรรณกรรม
หน่วยที่ 4 การออกแบบการวิจัย
หน่วยที่ 5 ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย
หน่วยที่ 6 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
หน่วยที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล
หน่วยที่ 8 สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
หน่วยที่ 9 การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 10 การเขียนรายงานการวิจัย
2.1.2 สามารถบูรณาการและประยุกต์ความรู้มาใช้ในการทำวิจัยได้
2.2.1 จัดกลุ่มนักศึกษา โดยความคิดเห็นของนักศึกษาเป็นผู้กำหนดทีมวิจัย เพื่อปฏิบัติการภาคสนามและเก็บรวบรวมข้อมูล
2.2.2 ให้นักศึกษาคณะทีมวิจัยระดมความคิด เขียนผังความคิด เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยที่สนใจ และนำเสนออาจารย์ผู้สอน (เน้นการสอนแบบการกำหนดปัญหา)
2.2.3 บรรยายเนื้อหาทั้ง 10 บท โดยใช้เอกสารประกอบการสอน เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามประเด็นสงสัย และมีกิจกรรมในชั้นเรียนโดยเลือกแบบฝึกหัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาแต่ละบท
2.2.4 ให้กลุ่มนักศึกษา เขียนโครงร่างการวิจัย ส่วนเนื้อหาของรายงานวิจัย บทที่ 1-3 และนำเสนอกรอบแนวคิดการวิจัย ตามประเด็นปัญหาการวิจัยที่สนใจ และได้นำเสนอไว้
2.2.5 ดำเนินการตามกระบวนการวิจัย จัดทำรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ และนำเสนอรายงานการวิจัย (เน้นการสอนแบบผู้เรียนเป็นสำคัญ)
2.3.1 ประมวลความรู้ จากการเรียนโดยมุ่งเน้นการวัดหลักการและทฤษฎีของเนื้อหาสาระ การเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ครั้งต่อภาคการศึกษา คือ กลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ
2.3.2 กรอบแนวคิดการวิจัยกับกระบวนการวิจัย (ภาคปฏิบัติการ) และความก้าวหน้าตามขั้นตอนการวิจัย
2.3.3 ผลการศึกษาวิจัย รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ และการนำเสนอผล
พัฒนาความสามารถในการคิดเชิงระบบ ทักษะทางการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์
3.2.1 วิเคราะห์ปัญหาและประเด็นการวิจัย มีการออกแบบการวิจัยด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบตามกระบวนการในการวิจัย
3.2.2 มอบหมายให้นักศึกษาทำวิจัย และนำเสนอผลการวิจัย
กรอบแนวคิด ผลการวิจัย และรายงานผลการวิจัย
4.1.1 ความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.2 การเรียนรู้ด้วยตนเอง ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ครบถ้วน ตามกำหนดเวลา
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วน
4.1.4 ความมั่นคงทางอารมณ์
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการคิดวิเคราะห์ ปัญหาการวิจัย
4.2.2 มอบหมายงานทั้งเป็นรายกลุ่ม และรายบุคคล
4.3.1 ภาคทฤษฎี : งานที่มอบหมาย
4.3.2 ภาคปฏิบัติ : แผนการวิจัย กระบวนการวิจัย รายงานความก้าวหน้าของผลงานรายกลุ่ม พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 พัฒนาทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะการสื่อสาร ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน การแปลความหมาย โดยจัดทำเป็นรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลเอกสาร ตำรา ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
5.1.4 พัฒนาทักษะการนำเสนอ โดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 บรรยาย การทำงานกลุ่ม มอบหมายงานโดยศึกษาค้นคว้า จากฐานข้อมูลวิจัยออนไลน์
5.2.2 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แล้ววิเคราะห์พร้อมกับนำเสนอทั้งแบบบรรยาย และตาราง พร้อมบอกแหล่งอ้างอิง
5.2.3 นำเสนอผลการศึกษาข้อมูล พร้อมการวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบเทคโนโลยี ที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากการทดสอบผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
5.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมายทั้งรายกลุ่ม และรายบุคคล
5.3.3 ประเมินจากการเขียนรายงานการวิจัย และการนำเสนอผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
ุ6.1.1 การคิดเชิงระบบ
6.1.2 การวิเคราะห์และสังเคราะห์
6.1.3 การสืบค้นข้อมูล
6.1.4 การนำเสนอ
โดยใช้การสอนแบบปัญหาเป็นฐาน
 
ุ6.3.1 นำเสนอกรอบแนวคิด
6.3.2 การทบทวนวรรณกรรม โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
6.3.3 การสืบค้นข้อมูล วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการวิจัยที่ดำเนินการวิจัยได้ครบถ้วน
6.3.4 การนำเสนอผลงานที่ชัดเจน ครบถ้วน ถูกต้อง ตามเวลาที่กำหนด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในลักษณะ ความสำคัญ และวิทยาการวิจัย ทดสอบความรู้ความเข้าใจ โดยใช้แบบทดสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน ลักษณะแบบปรนัยและอัตนัย สัปดาห์ที่ 8 และ สัปดาห์ที่ 17 กลางภาคเรียน 40% ปลายภาคเรียน 20%
2 นักศึกษาสามารถสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้อง นักศึกษาสืบค้นข้อมูล วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัย สัปดาห์ที่ 3-4 10%
3 นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้และประยุกต์ใช้ ประเมินจากกรอบแนวคิดการวิจัย รายงานผลการวิจัย และวิธีการนำเสนอผลการวิจัย สัปดาห์ที่ 16 25%
4 นักศึกษามีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ (ด้านจิตพิสัย) ประเมินผลจากการเข้าห้องเรียน ความตั้งใจเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามเวลา ทุกครั้ง 5%
โรจนา ศุขะพันธุ์.(2552). การวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551). วิธีวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
นราศรี ไววนิชกุล และ ชูศักดิ์อุดมศรี. (2535).ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภินันท์ จันตะนีและคณะ. (2539).วิธีวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร.
กานดา พูนลาภทวี. (2539). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ฟิสิกเซ็นเตอร์การพิมพ์.
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2537). สถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ธนพร.
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. (2527). การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: O.S. Printing House.
เทียนฉาย กีระนันท์. (2537). สังคมศาสตร์วิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัชชัย งานสันติวงศ์. (2540). หลักการและวิธีใช้คอมพิวเตอร์ในงานสถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี จำกัด.
ธีรยุทธ พึ่งเพียร. (2545). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.
นราศรี ไววนิชกุล และ ชูศักดิ์ อุดมศรี. (2535). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภา ศรีไพโรจน์. (2528). สถิตินอนพาราเมตริก. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
Babbie, E. (1986). The Practice of Social Research. 10th edition California : Wadsworth Publishing Co.
de Vans, D.A. (1985). Surveys in Social Research. Sydney : Allen & Unwin Australia Pty Ltd.
Kahl, J.A. (1966). The Measurment of Modernism : A study of Values in Brazil and Maxico. Austin : The University of TEXAS Press.
Malay, S. (1980). Research Method in Extension Education. Delhi : Asiatic Printers.
Willeam G Zikmund. (1997) . Business Research. Methods. U.S.A.
- ฐานข้อมูล ThaiLis
- เว็บไซต์ห้องสมุดทุกมหาวิทยาลัย
- เว็บไซต์ ของ สกว.
- http://www.csubak.edu/ssric/ให้ความรู้เกี่ยวกับ SPSS
- http://www.Library.miami.edu/data/help.htmให้ความรู้เกี่ยวกับ SPSS
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึงวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย
ประเมินตามสภาพจริง โดยใช้วิธีการแบบอิงกลุ่ม และนำมาแปลงเป็นแบบอิงเกณฑ์
อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงวิธีการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในการสอบกลางภาคเรียน และระหว่างการเรียนหลังสอบกลางภาค ในภาคปฎิบัติ
4.1 กำหนดคะแนนและเกณฑ์การวัดการเรียนรู้ ตามแผนการประเมินการเรียนรู้ที่สามารถวัดได้ตามสภาพจริง
4.2 ทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียนตามเกณฑ์การวัดผล
5.1 มีการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชาทุกภาคเรียน เพื่อปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้ในรายวิชา สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
5.2  การปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดเชิงระบบ การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ การใช้เทคโนโลยี และการสื่อสาร และการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
5.3   อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบการทบทวนเนื้อหาสาระที่ทำการสอน และกลยุทธ์การสอนที่นำมาใช้ พร้อมนำเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขา และผู้บริหารตามลำดับ