ปฏิบัติการระบบไฟฟ้าและการป้องกัน

Power System and Protection Laboratory

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจการปฏิบัติการเกี่ยวกับ การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง มีทักษะในการประกอบวงจร แก้ปัญหา และใช้เครื่องมือในการวัดและทดสอบวงจรหม้อแปลงเครื่องมือวัดและทรานสดิวเซอร์ อุปกรณ์ป้องกันและระบบป้องกัน การป้องกันกระแสเกินและฟอลต์ลงดิน การป้องกันแบบผลต่าง การป้องกันสายส่งโดยใช้รีเลย์วัดระยะทาง การป้องกันสายส่งโดยใช้ไพล๊อตรีเลย์ การป้องกันมอเตอร์ การป้องกันหม้อแปลง การป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า การป้องกันเขตบัส ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันแบบดิจิทัล ตามหัวเรื่องที่ศึกษา เห็นคุณค่าของการมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม และการทำงานเป็นทีม
1. ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กรอบแนวคิดแบบ CDIO มาประยุกต์ใช้ โดยการเลือกหน่วยเรียน/บทเรียนที่เหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนของรายวิชาต่อไป
2. ปรับปรุงวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมในการการจัดการเรียนการสอน และผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่จะเกิดขึ้นหลังจากการจัดการเรียนการสอน
ปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนในวิชา ENGEE118 ระบบไฟฟ้ากำลัง และENGEE136 การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
1. อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์/กลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา และหน้าห้องพัก
2. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) และกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา สามารถขอปรึกษาตลอดเวลาโดยที่ผู้สอนจะคอยตอบคำถามหรือให้คำปรึกษาตามความเหมาะสม
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการศึกษา มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลังและการประยุกต์ใช้งาน
1.2.2 อภิปรายกลุ่ม
กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญทางด้านการฝึกปฏิบัติ การวัดค่าหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า การวัดค่าของหม้อแปลงแรงดัน  รีเลย์หน่วงเวลาแรงดันเกินและแรงดันต่ำเกิน รีเลย์ป้องกันกระแสเกินแบบผกผันและแบบเวลาตายตัว รีเลย์การเกิดฟอลต์ลงดิน รีเลย์ป้องกันระยะทาง รีเลย์ป้องกันแบบผลต่างหม้อแปลง รีเลย์ป้องกันมอเตอร์ รีเลย์การป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  การป้องกันลัดวงจรโดยการใช้รีเลย์ป้องกันกระแสเกิน การป้องกันการเกิดฟอลต์ลงดิน  การป้องกันแรงดันสูงเกินและต่ำเกิน
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
2.3.3   ใบงานและรายงานการปฏิบัติการการทดลอง
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยี
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำออกแบบและพัฒนาการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   สอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีเน้นการปฏิบัติของการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง การวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ธุรกิจ หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5  ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room
5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมไฟฟ้า ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ดังข้อต่อไปนี้
6.1.1      มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1, ·)
6.1.2    มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชา ต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน การประกอบ การวัดและทดสอบวงจรในการปฏิบัติการทดลอง
6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.3 สนับสนุนการการทำโครงงานในรายวิชาในรูปแบบของ Term Project ในรูปแบบงานกลุ่ม
6.3.1 มีการประเมินทักษะด้านต่างๆ ในการปฏิบัติการทดลอง (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
6.3.2 มีการประเมินผลการปฏิบัติการในใบงานการทดลอง โดยมีการเตรียมการทดลอง การประกอบวงจร การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐาน การวัดและทดสอบวงจรและสรุปผลการทดลอง ตามที่ระบุในแต่ละใบงานการทดลอง (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
6.3.3 มีการประเมินโครงงานในรายวิชาในรูปแบบของ Term Project ในรูปแบบงานกลุ่ม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1, 6.2)
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-12.2 สอบปฏิบัติปลายภาค 18 20%
2 1.1-8.3 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1-12.2 การเข้าชั้นเรียน รายงานในงานการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา 10% 50%
“ใบงานปฏิบัติการระบบไฟฟ้าและการป้องกัน”  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ