การเตรียมโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์

Pre-Product Design Project

1.1 เข้าใจความรู้เบื้องต้นการเตรียมโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์
1.2 เข้าใจหลักการกำหนดจุดประสงค์ กำหนดเป้าหมาย ขอบเขตการจัดทำโครงงาน
1.3 เข้าใจวิธีการวางแผนดำเนินโครงการ
1.4 เข้าใจหลักการเขียนโครงงาน
1.5 มีทักษะการนำเสนอโครงงาน
1.6 มีเจตคติที่ดีการเตรียมโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์
เพื่อให้นักศึกษาเตรียมโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์ กำหนดจุดประสงค์ กำหนดเป้าหมาย ขอบเขต การวางแผนดำเนินโครงการ หลักการเขียนโครงงาน และการนำเสนอโครงงานนำไปใช้กับรายวิชาโครงงานออกแบบอุตสาหกรรม ในเทอมที่ 2 ของหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
ศึกษาและปฏิบัติ การเตรียมโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์ กำหนดจุดประสงค์ กำหนดเป้าหมาย ขอบเขต การวางแผนดำเนินโครงการ หลักการเขียนโครงงาน และการนำเสนอโครงงาน
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
-   อาจารย์เวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยให้นักศึกษานัดเวลาล่วงหน้า
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม
1.1.3 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 ให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบในการเข้าเรียน เช็คชื่อและมีการให้คะแนนในส่วนของการเข้าเรียนครบและตรงต่อเวลา
1.2.2 ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัย เคารพ กฎ ระเบียบและข้อบังคับของสถานศึกษา กล่าวชมเชยนักศึกษาที่แต่งกายถูกระเบียบ
1.2.3 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมถึงการมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.3.1 ประเมินจากการเข้าเรียนทุกครั้ง
1.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษาที่เข้าเรียน
2.1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ หลักการและทฤษฎีที่สำคัญในการทำโครงงาน
2.1.2 สามารถค้นคว้าหาข้อมูล นำหลักการ ทฤษฏี และความรู้อื่นๆ เข้ามาสร้างแนวทางและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
2.2.1 บรรยาย หลักการและทฤษฎีที่สำคัญในการทำโครงงาน
2.2.2 สอดแทรกความรู้ในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวเนื่องและศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.2.3 วิธีการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวิธีการสอนแบบตั้งคำถาม(Questioning-Based)
2.2.4 มอบหมายให้ค้นคว้าหาข้อมูลและความรู้อื่นๆเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำโครงงาน
2.3.1 สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
2.3.2 ประเมินจากข้อมูลในการทำโครงร่างโครงงานและการอ้างอิงที่มาของข้อมูล
3.1.1 สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยง และทำความเข้าใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยบูรณาการความรู้ในหลายๆด้านมาสังเคราะห์แนวคิด เพื่อสร้างสรรค์ตามกระบวนการจัดทำโครงร่างโครงงาน
3.1.2 มีกระบวนการทางความคิดและการทำงานอย่างเป็นระบบ
3.2.1 วิธีการสอนแบบตั้งคำถาม(Questioning-Based)
3.2.2 มอบหมายให้จัดทำโครงร่างโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์
3.3.1 ประเมินจากการตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น
3.3.2 ประเมินจากโครงร่างโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 มอบหมายงานรายบุคคล แนะนำการเตรียมตัวในการติดต่อขอความอนุเคราะห์ขอข้อมูลในการทำโครงงาน
4.2.2 การนำเสนอโครงงาน
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงาน
4.3.2 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1.1 มีทักษะทางการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดความรู้และนำเสนอโครงงาน ทั้งการพูด การเขียน และการใช้สื่ออื่นๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
5.1.2 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.3 พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.4 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และทำรายงานโดยเน้นการอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ตรวจสอบความถูกต้องของแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้พื้นฐานความรู้ที่เรียนมา
5.3.2 จากผลการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.3 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.4 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 3. ทักษะทางปัญญา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 43023457 การเตรียมโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2,3,6 ได้หัวข้อโครงการออกแบบและอาจารย์ที่ปรึกษา 1-4 10%
2 1,3,6 สอบหัวข้อโครงการออกแบบฯ (เอกสารหัวข้อโครงการฯ) 5 15%
3 2,6 ข้อมูลบทที่ 1 แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ 6-8 10%
4 6 สอบกลางภาค สอบกลางภาค (บทที่ 1 – 3,แบบสอบถาม) 9 15%
5 6 การดำเนินงาน (บทที่ 4) 10-16 20%
6 6 สอบปลายภาค (นำเสนอโครงการออกแบบ บทที่ 1-4) 17 20%
7 1 การเข้าชั้นเรียน,การเสนอความคิดเห็น,กิจกรรมต่างๆ 1-17 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์ ปีการศึกษาที่ 1/2562
ไม่มี
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. [ม.ป.ป.]. คู่มือเรียบเรียงวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
จันทนี เพชรานนท์.[ม.ป.ป.]. การทำรายละเอียดประกอบโครงการการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [ม.ป.ป.]. การค้นคว้าการเขียนรายงาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
ทิศนา แขมมณี. 2540. การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพดล สหัสชัยเสรี. [ม.ป.ป.]. บทความหลักการวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน 
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
บุญชม ศรีสะอาด. 2545. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:  สุรีวิยาสาส์น.
บุญธรรม  กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2540. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ :
          สามเจริญพานิช
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2553 . คู่มือการวิจัยการเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์. พิมพ์ครั้ง
          ที่ 10. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
สรชัย พิศาลบุตร. 2547. วิจัย...ใครว่ายาก. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2546. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 การสะท้อนคิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3  ระเมินผลจากพฤติกรรมการเรียนและผลการสอบของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 สรุปประเด็นปัญหาที่พบเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอน
3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ