ทักษะวิชาชีพสัตวศาสตร์ 1

Practical Skills in Animal Science 1

1. มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการบูรณาการเทคโนโลยีทางสัตวศาสตร์ เพื่อปฏิบัติงานทางวิชาการด้านการปศุสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ในฐานะผู้ประกอบการ นักวิชาการ หรือผู้จัดการฟาร์ม และสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ
3.  มีคุณธรรม จริยธรรม สำนึกในจรรยาของวิชาชีพที่ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรับผิดชอบต่อการพัฒนาสังคมและเสริมสร้างเอกลักษณ์ไทย
4. มีทัศนคติและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพทางการเกษตร
1. มีทักษะและประสบการณ์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์
2. มีทักษะการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในแผนกงานฟาร์มของมหาวิทยาลัยฯ
3. สามารถทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
4. เข้าใจชีวิตการทำงาน และสามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้
5. มีความอดทน มีวินัย และความซื่อสัตย์
6. สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในสภาพการปฏิบัติงานจริงได้
ฝึกงานพื้นฐานด้านสัตวศาสตร์ทั่วไป เพื่อให้มีความรู้และทักษะด้านศัตวศาสตร์ครอบคลุมทุกแผนกงานฟาร์ม มีทักษะการจับบังคับสัตว์ อย่างถูกต้องและปลอดภัย
- จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง โดยอาจารย์จะแจ้งวันเวลาให้นักศึกษาทราบ
- นักศึกษาสามารถติดต่อได้ทาง e-mail address : wera0625@yahoo.com
1.1 มีคุณธรรม จริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่วเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
1.2 มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัย และเคารพกฏกติกาของสังคม ประพฤติ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
- ปฐมนิเทศนักศึกษา แจ้งจุดมุ่งหมายของการฝึกงาน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง คุณธรรม จริยธรรม ที่พึงปฏิบัติ ก่อนฝึกงาน          
- กำหนดตารางเวลาทำงานประจำวัน
- บันทึกการลงเวลาปฏิบัติงาน และจำนวนครั้งของการฝึกปฏิบัติงาน ผู้สอนรวบรวมบันทึกรายชื่อผู้เข้าเรียน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในสัปดาห์ที่ 18 ของการเรียน
- กำหนดให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของแผนกงานฟาร์มเช่นเดียวกับพนักงานประจำ
- นักศึกษาบริหารตนเองให้เข้ากับกฎระเบียบของแผนกงานฟาร์ม
- มอบหมายงานที่ต้องใช้ความพยายาม ความอดทน
- บันทึกการลงเวลาปฏิบัติงาน และจำนวนครั้งของการฝึกปฏิบัติงาน ผู้สอนรวบรวมบันทึกรายชื่อผู้เข้าเรียน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในสัปดาห์ที่ 18 ของการเรียน
- สังเกตพฤติกรรม และการแสดงออกระหว่างการฝึกงาน ด้านคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียน
- ประเมินผลงานรายบุคคล (เอกสารรายงาน) ผู้สอนตรวจบันทึกการปฏิบัติงานของผู้เรียน
- ประเมินคุณภาพของผลงานที่ได้รับมอบหมาย เรียบร้อย ครบถ้วน และสมบูรณ์
-ไม่มีการนำผลผลิตงานฟาร์ม อุปกรณ์ และเครื่องมือออกไปก่อนได้รับอนุญาต
2.1. มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจในสาขาวิชาชีพ (พืชศาสตร์/สัตวศาสตร์/ประมง) ที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบทั้งหลักการ ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชา และสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
- บรรยายและสาธิตการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
- การจดบันทึกผลการปฏิบัติงาน
- ศึกษาจากคู่มืองานฟาร์มที่มีอยู่ประจำแผนกงานฟาร์ม
- ศึกษาและฝึกปฏิบัติจริงด้วยตนเองภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ประจำแผนกงานฟาร์ม
- นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสอบถามแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์กับเจ้าหน้าที่ และอาจารย์ประจำแผนก หรือสืบค้นผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- ประเมินบันทึกการฝึกงานรายบุคคล   ผู้สอนตรวจบันทึกการฝึกงานของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
- ประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคล ผู้สอนประเมินการปฏิบัติงาน หรือ สอบปากเปล่า หรือ สังเกตและประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
3.1 ความสามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบหมายถึง มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
3.2 สามารถคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรม หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
3.3 ใฝ่รู้ และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และรู้จักเทคนิควิธี และกระบวนการในการเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
- มอบหมายงานให้ปฏิบัติโดยให้นักศึกษามีกระบวนการคิด วิเคราะห์ การวางแผน และการจัดการ ให้เชื่อมโยงกับหลักการหรือทฤษฎี
 
- การแสดงออกของนักศึกษาระหว่างการปฏิบัติงาน
- สมุดบันทึกการฝึกงานซึ่งอธิบายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นขอลผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
4,2 มีจิตอาสา และสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งเวดล้อม และสาธารณะสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
- สลับหมุนเวียนนักศึกษาในกลุ่มเป็นหัวหน้ากลุ่ม และมอบหมายงานให้หัวหน้ากลุ่มเพื่อแบ่งงาน ควบคุม และติดตามผล จนกระทั่งผลงานบรรลุตามที่ได้รับมอบหมาย
- การสังเกตและประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายกลุ่ม ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมและประเมินการทำงานร่วมกัน มารยาททางสังคมที่ดี การทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมโดยมีการบันทึกผลการประเมินของผู้เรียน
- การสังเกตและประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมและประเมินภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามของผู้เรียน
 
5.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ การอ่าน พูด ฟัง เละเขียน
5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
- ให้นักศึกษาสืบค้นการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ และส่งรายงานผลการค้นคว้า
- ให้นักศึกษาสืบค้นและทำรายงานตามเรื่องที่ได้รับมอบหมาย
- การประเมินผลงานรายบุคคล (เอกสารรายงาน) ผู้สอนตรวจผลงานที่เป็นเอกสารรายงานของผู้เรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2
1 BSCAG211 ทักษะวิชาชีพสัตวศาสตร์ 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, การลงเวลาและจำนวนการปฏิบัติงาน (มีวินัย ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ) 1-18 10%
2 1.1, 1.2, 2.1., 2.2., 3.1, 3.2, 3.3 4.1, 4.2, - การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล หรือรายกลุ่ม - การประเมินผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานรายบุคคล หรือรายกลุ่ม 1-18 60%
3 5.1, 5.2, การมอบหมายงานให้ปฏิบัติ และเอกสารรายงานรายบุคคล 8, 16 20%
4 5.1, 5.2, การประเมินผลสมุดบันทึกการฝึกงานรายบุคคล 1-18 10%
คู่มืองานฟาร์ม
        ชวนิศนดากร  วรวรรณ .  2534.  การเลี้ยงโคนม. ภาควิชาสัตวบาล. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.    โรงพิมพ์ไทยวัฒนะพาณิช,  กรุงเทพฯ.  365  น.
ปรียพันธุ์  อุดมประเสริฐ. 2533.  การเพิ่มประสิทธิภาพการการสืบพันธุ์ในฟาร์มโคนม. วารสารโคนม.   10  (3)  :  24 
มนต์ชัย ดวงจินดา และวิโรจน์ ภัทรจินดา.  2549.  คู่มือโปรแกรมจัดการอาหารโคนมและคำนวณสูตรอาหารราคาตํ่าสุด KCF 2006 รุ่นภาษาไทย.  คณะเกษตรศาสตร์.  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น.  59 น.
สายัณห์ ทัคศรี. 2547. พืชอาหารสัตว์เขตร้อน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 534 น.
วิบูลย์ศักดิ์  กาวิละและญาณิน   โอภาสพัฒนกิจ.  2534.  การผลิตโคนม.  สำนักพิมพ์โฮเดียนสโตร์,  กรุงเทพฯ.  236  น.
อัศวิน  กิ่งแก้ว.  2538.  ปฏิบัติการวิชาโรคและการสุขาภิบาลสัตว์.  สหมิตรพริ้นติ้ง. กรุงเทพฯ. 88 น.
อุทัย  หนูแดง. 2542. วัวเนื้อแบบชาวบ้าน. โรงพิมพ์อักษรไทย. กรุงเทพฯ. 91 น.
www.dld.go.th
www.doa.go.th
การประเมินประสิทธิผลรายวิชาโดยนักศึกษา ดำเนินการดังนี้
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัย
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
- ผลการประเมิน
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 1 และ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนโดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน ดังนี้
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน หรือการวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างการจัดการเรียนการสอน จะมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เป็นระยะๆ จากการสอบถามนักศึกษา การทดสอบต่าง ๆ รวมถึงพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงาน และส่งงานตามกำหนด 
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
- ขอคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้อง