การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ

Object-Oriented Analysis and Design

         เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีเชิงวัตถุ
         เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจรูปแบบ วิธีการ ของการออกแบบโดยใช้ UML และการใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเชิงวัตถุ
         เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการใช้เครื่องมือเคสทูลต่าง ๆ  ในการออกแบบเชิงวัตถุ
         เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการประยุกต์ในด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเชิงวัตถุ
เพื่อให้นักศึกษาศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีเชิงวัตถุ หลักการพัฒนางานแบบอินครีเมนท์ หลักการใช้ภาษาทางกายภาพเพื่อการออกแบบ การใช้ UML ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบโดยอาศัยองค์ประกอบพื้นฐานเชิงวัตถุ การสร้างแบบจำลองเกี่ยวกับความต้องการ การใช้เทคนิค ยูสเคส การคิดและการวิเคราะห์เชิงนามธรรม การสร้างแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ แนวคิดการค้นหาวัตถุ แนวทางการออกแบบเชิงวัตถุ การออกแบบคลาส การออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างคลาสกับวัตถุ ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมด้วยวิธีใช้เคสทูล แนวคิดเกี่ยวกับการทดสอบโปรแกรมตามข้อกำหนดของยูสเคส
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีเชิงวัตถุ หลักการพัฒนางานแบบอินครีเมนท์ หลักการใช้ภาษาทางกายภาพเพื่อการออกแบบ Unfiled Modeling Language(UML) ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบโดยอาศัยองค์ประกอบพื้นฐานเชิงวัตถุ การสร้างแบบจำลองเกี่ยวกับความต้องการ การใช้เทคนิค ยูสเคส การคิดและการวิเคราะห์เชิงนามธรรม การสร้างแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ แนวคิดการค้นหาวัตถุ แนวทางการออกแบบเชิงวัตถุ การออกแบบคลาส การออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างคลาสกับวัตถุ ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมด้วยวิธีใช้เคสทูล แนวคิดเกี่ยวกับการทดสอบโปรแกรมตามข้อกำหนดของยูสเคส
The study of object-oriented technology; the principles of system development as increment style; the principles of visual language to design the Unified Modeling Language (UML), methodology of systems analysis by using the fundamentals of object-oriented; creation of modeling on demand, using case technique, abstract thinking and analysis, analytical modeling; guidelines on object-oriented design, class design, relationship design between class and object; practice of building an application by using the Computer-Aided Software Engineering(CASE) tools, concept of the program testing based on used case specification.
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ความรับผิดชอบหลัก
1.5.  มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมี ส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ความรับผิดชอบรอง
2.2.  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
ความรับผิดชอบหลัก
2.5.  สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบ องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง
ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน  การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
ความรับผิดชอบหลัก
3.3.  คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผน   การทำงานเป็นทีม
การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
จัดให้ในรายวิชา มีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด   การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
ประเมินจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
ความรับผิดชอบหลัก
4.6.  มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคล อื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
ความรับผิดชอบหลัก
5.6.  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จากกรณีศึกษา
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสารของนักศึกษา
ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 2.9 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6
1 BBAIS208 การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.5 4.6 -จากพฤติกรรมในการเรียน -จากความรับผิดชอบในการจัดทำผลงานและการส่งงาน ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.2, 2.5 3.3 4.6 -จากการแสดงความคิดเห็นในการอภิปรายงานที่ได้รับมอบหมาย และการทำงานเป็นกลุ่ม 1,2,3,10 10%
3 2.5 3.3 4.6 5.6 -จากผลงานในการวิเคราะห์ในกรณีศึกษาต่าง ๆ และการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ -จากการนำเสนอผลงานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งด้วยวาจา รายงาน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 4,5,6,7,11,12,13,14 5,6,7,16 40%
4 2.2, 2.5 3.3 4.6 5.6 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 8,9,17 40%
กิตติพงษ์ กลมกล่อม. (2552). การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุด้วย UML. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอมซัลท์
รศ. ธีรวัฒน์ ประกอบผล และสุนทริน วงศ์ศิริกุล. (2552). การพัฒนาโมเดลสาหรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ด้วย UML 2.0 . กรุงเทพฯ : ซัลเซส มีเดีล จำกัด กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และกิตติพงษ์ กลมกล่อม. (2548). คัมภีร์การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุด้วย UML. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอมซัลท์
 -สื่อมัลติมีเดียแอนิเมชั่น 2 มิติ เรื่อง แบบจำลองการวิเคราะห์ระบบ , ลัดดาวัลย์ หวังเจริญและคณะ
www.wikipedia.com
www.dusit.ac.th
www.nectec.or.th
www.ku.ac.th
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
3. ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ