ปัญหาพิเศษในการสอบบัญชี

Special Problem in Auditing

1.1 เพื่อให้นักศึกษาเข้าหลักการและวิธีการสอบบัญชีในสถานการณ์ต่าง ๆ ผ่านการฝึกปฏิบัติหรือมาตรฐานการสอบบัญชี
        1.2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจประเด็นที่น่าสนใจทางการสอบบัญชีที่อยู่ในความสนใจในปัจจุบัน โดยใช้กรณีศึกษา บทความและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
        1.3 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการตรวจสอบทุจริต
        1.4 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและตระหนักถึงการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาการใช้หลักการและวิธีการสอบบัญชีในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเน้นด้านปฏิบัติหรือมาตรฐานการสอบบัญชี ประเด็นที่น่าสนใจทางการสอบบัญชี เช่น การให้ความเชื่อมั่นต่อรายงานความยั่งยืน ปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีในธุรกิจประเภทต่าง ๆ และแนวทางการแก้ไข โดยใช้กรณีศึกษา บทความและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ การตรวจสอบทุจริตและจรรยาบรรณวิชาชีพ
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 7 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.2    มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม
1.3    สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.4  มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
บรรยายพร้อมสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน สอดแทรกกรณีศึกษาด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยเช็คชื่อ สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงในการศึกษารายวิชานี้ เช่นการส่งงาน การเข้าเรียน ความรับผิดชอบในการทำงานที่มอบหมายให้ สังเกตพฤติกรรมในการทำงานที่มอบหมาย ว่าไม่มีการลอกงานเพื่อน
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม ประเมินจากกรณีศึกษาที่มอบหมายให้จัดทำ และเปรียบเทียบพัฒนาการด้านความเข้าใจในข้อกำหนดจรรยาบรรณ (ก่อนและหลังเรียน) ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมและการเช็คชื่อเข้าเรียน ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความมีวินัยและความซื่อสัตย์รายบุคคล บันทึกการจัดส่งงานและ ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
1. มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2. มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
3. มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้ จากประสบการณ์
4. สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1. ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2. มอบหมายกรณีศึกษา บทความวิชาการ และงานวิจัย เพื่อศึกษาล่วงหน้าก่อนเข้าเรียน และกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการนำการอภิปรายการถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
4. การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกปฏิบัติงานจริงโดยการฝึกตรวจสอบมูลนิธิตามที่ได้รับมอบหมาย
5. มอบหมายหัวข้อให้นักศึกษาไปค้นคว้าเพื่อนำเสนอและอภิปรายในชั้นเรียน
1. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอ
2. ประเมินจากกรณีศึกษาที่มอบหมายให้ เช่น Big Data, Financial Model
3) การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
4)    การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง และเก็บข้อมูลพฤติกรรมโดยแบบสังเกตและแบบสอบถาม
5) ประเมินโดยการทดสอบย่อยและการสอบถามในห้องเรียน
6) ประเมินตนเองของนักศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม
1. สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3. สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1.ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
2.สอนโดยใช้กรณีศึกษาและสถานการณ์จริง (มูลนิธิ สมาคม หน่วยธุรกิจ ให้ลองวิเคราะห์ความเสี่ยง
3.สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1. ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
2. ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
3. ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1. สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
2. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
3.มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน 
4. มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1. มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
2. มอบหมายงาน ข่าว บทความที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3. ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ และให้นำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
4. การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกปฏิบัติงานจริงโดยการฝึกตรวจสอบมูลนิธิตามที่ได้รับมอบหมาย
5. มอบหมายหัวข้อให้นักศึกษาไปค้นคว้าเพื่อนำเสนอและอภิปรายในชั้นเรียน
ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
1. ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
2. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
3. ประเมินโดยการทดสอบย่อยและการสอบถามในห้องเรียน
4. ประเมินตนเองของนักศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม
1. ทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
2. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบ             การนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
3. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
1. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
2. มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน
4. มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1. ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์
2. ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
3. ประเมินจากการสอบข้อเขียน
4. ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 BACAC148 ปัญหาพิเศษในการสอบบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.3, 4.1, 5.2, 5.3 สอบกลางภาค 9 30%
2 1.1, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.3, 4.1, 5.2, 5.3 สอบปลายภาค 17 30%
3 1.1, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.3, 4.1, 5.2, 5.3 มอบหมายกรณีศึกษา และประเมินจากงานที่มอบหมาย 1-17 20%
4 1.1, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.3, 4.1, 5.2, 5.3 มอบหมาย Special Selected Topic ให้ค้นคว้า 12 10%
5 1.1, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.3, 4.1, 5.2, 5.3 ประเมินการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน 1-17 10%
1. นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร, การสอบบัญชี, กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วน ที พี เอ็น เพรส , 2562
2.   มาตรฐานการสอบบัญชี ของสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมป์
3.   Auditing : An Integrated Approach ของ Arens A.Alvin and Loebbecke K.Jammes พิมพ์โดย Prentice Hall International, Inc.
บทความในวารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการตรวจสอบและการบริการให้ความเชื่อมั่น
   ใช้การทดสอบปฏิบัติ  ในแต่ละบท
   ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยในระบบออนไลน์
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักปัญหาพิเศษในการสอบบัญชีโดยให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากกระบวนทำงานจริงของสำนักงานสาขาการบัญชี
ให้กรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบ และ การตัดเกรด
นำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และเนื้อหารายวิชา