การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ

Production and Operations Management

เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของการบริหารการผลิต ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการบริหารการผลิต รวมถึงระบบการผลิตและการจำแนกประเภทของระบบการผลิตได้ถูกต้อง เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดของผลิตภัณฑ์หรือแนวคิดของการบริการ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ การตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจใน เรื่องของการพยากรณ์การผลิต ตลอดจน กำลังการผลิต การวางแผนกำลังการผลิต และการปรับหรือการเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตการกำหนดทางเลือกเพื่อปรับหรือเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิต ก่อนเริ่มการผลิต เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ และปัจจัยในการเลือกสถานที่ตั้งและวางแผนผังโรงงานได้อย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้วิธีการจัดซื้อ และเลือกระบบการควบคุม วัสดุและสินค้าคงคลัง การศึกษาวิธีการทำงานเพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีความเหมาะสมกับงาน และการวัดงานเพื่อหาเวลามาตรฐานในการทำงานในแต่ละตำแหน่งงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสรุปประเด็นสำคัญของการในการนำความรู้จากการบริหารการผลิต ไปประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
เป็นรายวิชาที่ปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในการจัดการเรียนการสอนสำหรับหลักสูตรการบริหารธุรกิจ และเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจของประเทศ
 


3.  สมรรถนะรายวิชา
 
เข้าใจแนวความคิดเกี่ยวกับระบบการผลิตและระบบการบริการ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และการบริการ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการพยากรณ์การผลิต และสามารถพยากรณ์การผลิตได้ทั้งแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีความรู้ในเรื่องการวางแผนกำลังการผลิต และการปรับหรือการเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตการกำหนดทางเลือกเพื่อปรับหรือเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิต เข้าใจแนวความคิดการเลือกทำเลที่ตั้ง  การวางแผนผังกิจการ สามารถทำการการวิเคราะห์และการปรับปรุงวิธีการทำงาน การบริหารสินค้าคงเหลือและการควบคุมคุณภาพ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการศึกษาวิธีการทำงาน และการวัดงาน ฝึกการปฏิบัติจากทำรายงานในเนื้อหาที่ได้ศึกษา


 
ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบการผลิตและระบบการบริการ การออกแบบผลิตภัณฑ์และ การบริการ การพยากรณ์ความต้องการ การเลือกทำเลที่ตั้ง  การวางแผนผังกิจการ การวางแผนควบคุมการผลิตและบริการ  วิธีการทำงาน การวิเคราะห์และการปรับปรุงวิธีการทำงาน การบริหารสินค้าคงเหลือและ การควบคุมคุณภาพ
 -  อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ, facebook กลุ่ม
 -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
            นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้ง จรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อให้การดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมเป็นปกติสุข สร้างสรรค์ และทำประโยชน์ให้กับส่วนรวม นอกจากนั้น การใช้ความรู้ และทักษะในความรู้ที่ได้เรียนไปสร้างองค์ความรู้ใหม่ ต้องพึงระมัดระวัง และคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งอาจารย์จะต้องสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา ทั้งในด้านคุณธรรม และจริยธรรม ต่อไปนี้
1.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพ และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบ  ของสถาบันและสังคม เช่น การตรงต่อเวลา การแต่งกายให้เหมาะสมตามกาลเทศะ เป็นต้น
1.1.3 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1.1.4 สามารถบริหารเวลา และปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.2.1 ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.2 กำหนดงานเป็นกลุ่มย่อย เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
1.2.3 จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกในการมีคุณธรรม จริยธรรม พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาในประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการผลิตแล้วนำมาสรุปในชั้นเรียน
1.2.4 ให้การยกย่องชมเชยผู้ที่มีความซื่อสัตย์ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี พร้อมกำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบ
1.3.1 ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาและเวลาการส่งงานที่ได้รับ      มอบหมาย
1.3.2 ประเมินจากผลงานกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1.3.3 ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
   นักศึกษาต้องมีความรู้ลักษณะและความสำคัญของการบริหารการผลิต การตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ การพยากรณ์การผลิต การจัดเตรียมและปรับเปลี่ยนกำลังการผลิต การเลือกสถานที่ตั้งโรงงาน การออกแบบแผนผังโรงงาน การวางแผนการผลิต การบริหารวัสดุคงเหลือ และการบริหารบุคคลกรในกิจการ
2.2.1 การสอนแบบการบรรยาย และอภิปรายกลุ่ม เป็นการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มุ่งเน้นให้ผู้เรียน มีความรู้ และความเข้าใจในทฤษฎีการบริหารการผลิต และการประยุกต์ใช้ความรู้ในพัฒนาองค์กร        
2.2.2 การมอบหมายให้อ่าน รวมทั้งศึกษาจากบทความ
2.2.3 การจัดทำรายงานกลุ่ม และการทำแบบฝึกหัดท้ายบท
2.3.1 สังเกตการณ์การเสนองานหน้าชั้น การอภิปราย แสดงความคิดเห็น การตอบคำถาม
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3 การรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงาน
2.2.4 ประเมินจากงานที่มอบหมายให้นักศึกษาทำ
    นักศึกษาจะต้องสามารถพัฒนาสติปัญญาของตนเอง โดยผู้สอนต้องมุ่งเน้นให้นักศึกษาใช้ความเข้าใจมากกว่าการจำ มีหลักการและเหตุผลในการคิดวิเคราะห์ มีวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะกับตนเอง และสามารถตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ เพื่อให้บรรลุผลการเรียนรู้ ต่อไปนี้                 
          3.1.1 สามารถสืบค้น ประมวลข้อมูล หลักฐานจากแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลจากสำนักวิทยบริการ และแหล่งข้อมูลจากเว็บไซต์รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          3.1.2 สามารถประยุกต์ความรู้ทางการบริหารการผลิตและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจที่สอดคล้องกับสถานการณ์
3.2.1 การสอนแบบกาบรรยาย อภิปรายกลุ่ม
3.2.2 การสอนโดยใช้กรณีศึกษา และการมอบหมายให้อ่าน รวมทั้งศึกษาจากบทความ
3.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 การรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงาน
4.1.1 มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
4.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่น ๆ ทั้งภายในและ ภายนอกสถาบันการศึกษา
4.2.2 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายใน สถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา
4.2.3 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
4.2.4 มีกิจกรรมส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ เช่น ยกย่องชมเชยนักศึกษาที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีเด่น
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม
4.3.2 ประเมินจากผลงานของนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
4.3.3 มีการร่วมประเมินทั้งอาจารย์และนักศึกษา
     5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
     5.1.2 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
     5.1.3 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
     5.1.4 สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  และงานกลุ่ม
5.2.2 นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 1 2 1 2 3 4 1 2 3 4
1 12011305 การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 3.1, 5.1 • สอบกลางภาค • สอบปลายภาค 9 16 35% 35%
2 1.1, 2.1, 3.1, 4.1, 5.1 • ตรวจผลงานโครงการ • นำเสนอโครงการ ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1, 2.1, 3.1, 4.1 • การเข้าชั้นเรียน • การมีส่วนร่วม อภิปราย และเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน • ความรับผิดชอบลงงานตามที่ได้มอบหมาย และตรงต่อเวลา ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอน Production and Operation Management ผศ.ดวงพร  อ่อนหวาน

        2.  วารสาร SMEs Today รายเดือน
ไม่มี
เวปไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตาม ข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ