การบัญชีการเงิน

Financial Accounting

รู้ความหมาย วิวัฒนาการและวัตถุประสงค์ของการบัญชี  เข้าใจประโยชน์และความสำคัญของการบัญชีที่มีต่อการประกอบธุรกิจแบบต่างๆ เข้าใจหลักการเกี่ยวกับแม่บทการบัญชีและวิธีการบันทึกบัญชีตามวงจรบัญชี เข้าใจหลักการและวิธีการจัดทำรายงานการเงินสำหรับกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้าและกิจการอุตสาหกรรม เข้าใจหลักการและวิธีการบันทึกบัญชีเบื้องต้นเกี่ยวกับเงินสด ลูกหนี้ ตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ เงินลงทุน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ สามารถนำหลักและวิธีการบัญชีที่ศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการบัญชี มีทัศนคติที่ดีที่ถูกต้องต่อการจัดทำบัญชีและตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี
เพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายรายวิชา ภายใต้หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการธุรกิจ มุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ในรายวิชาการบัญชีการเงิน ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาหรือการประกอบอาชีพได้
ความสำคัญของการบัญชีต่อประเภทธุรกิจ หลักการเบื้องต้นของการบัญชีทั่วไปและวงจรบัญชี ตลอดจนจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า และกิจการอุตสาหกรรม การบันทึกบัญชีเบื้องต้นเกี่ยวกับเงินสด ลูกหนี้ ตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ เงินลงทุน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ
1 ชั่วโมง
มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
ปลูกฝังการเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ โดยใช้กฎระเบียบของมหาวิทยาลัยเป็นเกณฑ์ คือ การเข้าเรียน การแต่งกาย และการส่งงาน อธิบายเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางวิชาชีพการบัญชี  พร้อมปลูกจิตสำนึกโดยการยกตัวอย่างบุคคลที่น่ายกย่องด้านจรรยาบรรณ และให้นักศึกษาร่วมอภิปรายในประเด็นเกี่ยวกับจรรยาบรรณสำหรับเหตุการณ์ต่างๆ โดยผู้สอนให้คำชี้แนะในการปฏิบัติให้อยู่ภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพ ส่งเสริมให้นักศึกษามีความพอเพียง ขยัน อดทน รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
การเข้าเรียนประเมินผลจากการลงลายมือชื่อเข้าเรียน การแต่งกายประเมินผลจากการสังเกตโดยผู้สอน ส่งงาน ประเมินผลจากการส่งงานตามกำหนดเวลา จรรยาบรรณ ประเมินผลจากการสังเกตโดยผู้สอน ความรับผิดชอบ ประเมินจากการส่งงาน และการสังเกตโดยผู้สอน
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
บรรยายหลักการ ยกตัวอย่างและแสดงวิธีการจัดทำบัญชี
-     กำหนดให้นักศึกษาฝึกทำแบบฝึกหัดและกรณีศึกษา
-     มอบหมายงานเพื่อการค้นคว้าทางวิชาการ การคิดวิเคราะห์และการบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่น ๆ
การใช้แบบทดสอบ การตรวจความถูกต้องของแบบฝึกหัดและกรณีศึกษา การตรวจการนำเสนอเนื้อหาและแนวความคิดในกรณีศึกษาและงานมอบหมาย
มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
กำหนดให้นักศึกษาทำกรณีศึกษาเป็นกลุ่ม
ตรวจความถูกต้องของกรณีศึกษา


ตรวจการนำเสนอเนื้อหาและแนวความคิดในกรณีศึกษา

สังเกตความรับผิดชอบจากการนำเสนอผลงานและตอบคำถามของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 1 6
1 BACAC111 การบัญชีการเงิน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยเรียนที่ 1-5 - ตรวจความถูกต้องของแบบฝึกหัดและกรณีศึกษา - ตรวจการนำเสนอเนื้อหาและแนวความคิดในกรณีศึกษาและงานมอบหมาย - สังเกตความรับผิดชอบจากการนำเสนอผลงานและตอบคำถามของนักศึกษา 1-8 และ 10-16 25
2 หน่วยเรียนที่ 1-2 - แบบทดสอบกลางภาค 9 30
3 หน่วยเรียนที่ 3-5 - แบบทดสอบปลายภาค 17 35
4 คุณธรรม จริยธรรม และการเคารพกฎระเบียบ - การเข้าเรียนประเมินผลจากการลงลายมือชื่อเข้าเรียน - การแต่งกายประเมินผลจากการสังเกตโดยผู้สอน - ส่งงาน ประเมินผลจากการส่งงานตามกำหนดเวลา - จรรยาบรรณ ประเมินผลจากการสังเกตโดยผู้สอน 1-17 10
สุพรรัตน์  ทองฟัก.  เอกสารประกอบการสอนวิชา การบัญชีการเงิน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก. 2560.
หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอน เกี่ยวการบัญชีการเงิน ของสถาบันการศึกษา
ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเช่น

สภาวิชาชีพบัญชี กรมบัญชีกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร ธนาคารแห่งประเทศไทย

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ให้นักศึกษาประเมินความพึงพอใจในรายวิชา
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษา
การปรับปรุงเนื้อหาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การนำผลการวิจัยและบริการวิชาการมาใช้ในการเรียนการสอน

การพัฒนาสื่อการสอน
การทวนสอบผลคะแนนโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะจากผลการประเมิน