ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์

Computer Security

1. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ
2. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ
3. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ และการป้องกันการเจาะระบบสารสนเทศ
4. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักความมั่นคงปลอดภัยทางการสื่อสารบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
5. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการควบคุมการเข้าถึงความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ
6. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับหลักกฏหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในระบบสารสนเทศ
8. นักศึกษามีทักษะในการวิเคราะห์กรณีศึกษาการป้องกันสำหรับความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศสำหรับองค์กร
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบมาตรฐานหลักสูตรระบบสารสนเทศ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะสมกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทางด้านการบริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์และข้อมูลสารสนเทศ ได้อย่างเหมาะสม
ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ ระบบมาตรฐานความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ รูปแบบการโจมตีของผู้เจาะระบบความปลอดภัย การประเมินและการจัดการความเสี่ยง การป้องกันระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบและดูแลรักษาความปลอดภัย รูปแบบการเข้ารหัสข้อมูลการสำรองข้อมูลและการกู้ข้อมูล
อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยการประกาศ เวลาว่างที่เข้าพบให้แก่ นักศึกษาในคาบเรียน และให้นักศึกษาสามารถสอบถามปัญหาผ่าน ระบบสื่อสังคมออนไลน์โดยการพิมพ์ในกล่องข้อความด่วน
          นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยในชีวิต ความสำเร็จทางธุรกิจผู้พัฒนาและ/หรือผู้ประยกุต์ โปรแกรมจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเช่นเดียว กับการประกอบอาชีพในสาขาอื่นๆ อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 7 ข้อเพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษารวมทั้งอาจารยต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 7 ข้อตามที่ระบุไว้
          1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตยส์ุจริต
          1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
          1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
          1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
          1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
          1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
          1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
          กําหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยโดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยนักศึกษาต้อง มีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม และการเป็นสมาชิกกลุ่มมีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่ ทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
          1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกําหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม
          1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
          1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
          1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
          นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวชิาที่ศึกษาในสาขาคอมพิวเตอร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวชิาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
          2.1.1 มีความรู้และความเขา้ใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวชิาที่ศึกษา
          2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์รวมทั้งประยกุต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
          2.1.3 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองคป์ระกอบต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกําหนด
          2.1.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยกุต์
          2.1.5 รู้เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
          2.1.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวชิาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
          2.1.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยกุต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
          2.1.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวชิาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
                    การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลกัสูตร
          ใช้การสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ใช้ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะ ของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวชิานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์ จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้ชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
          ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
          2.3.1 การทดสอบย่อย
          2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
          2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
          2.3.4 ประเมินจากแผนธุรกิจหรือโครงการที่นำเสนอ
          2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
          2.3.6 ประเมินจากรายวชิาสหกิจศึกษา
          นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบ การศึกษาแล้ว ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวชิาที่ศึกษาในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารยต้องเน้นให้นักศึกษาคิด หาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนใน ลักษณะท่องจำนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
          3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
          3.1.2 สามารถสืบค้นตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
          3.1.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 
          3.1.4 สามารถประยกุตค์วามรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
          3.2.1 กรณีศึกษาทางการประยกุต์ใชเ้ทคโนโลยสีารสนเทศ
          3.2.2 การอภิปรายกลุ่ม
          3.2.3 ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
          กลยทุธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญานี้สามารถทำได้โดยการออก ข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยกุต์ ความรู้ที่เรียนมา หลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกคำตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา ไม่ควรมีคำถามเกี่ยวกับนิยามต่างๆ
          ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ เป็นต้น
          นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา
          ความสามารถที่จะปรับตัวใหเ้ข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรก วิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ใหนักศึกษาระหว่างที่สอนวชิาหรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่่เกี่่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
          4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
          4.1.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหา สถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
          4.1.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
          4.1.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
          4.1.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและ ส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
          4.1.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง   
          ใช้การสอนที่มีการกําหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้อง ประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลกัสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
          4.2.1 สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
          4.2.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
          4.2.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
          4.2.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
          4.2.5 มีภาวะผู้นำ
          4.3.1 คุณสมบัติต่างๆ นี้สามารถวัดร่วมกับคุณสมบัติในข้อ 5.1, 5.2, และ 5.3 ได้ในระหว่างการทำกิจกรรรมร่วมกัน 
          4.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูลที่ได้
          นักศึกษาต้องมีทักษะการวเิคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยสีารสนเทศขั้นต่ำ ดังนี้  
          5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบนัต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
          5.1.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยกุต์ต่ออปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
          5.1.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม 
          5.1.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยสีื่อสารอย่างเหมาะสม
          กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์และการสื่อสารนี้ อาจทำได้ในระหว่างการสอน โดยอาจให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธิีแก้ปัญหา และให้นำเสนอแนวคิดของการแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ต่อนักศึกษาในชั้นเรียนอาจมีการวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์และกลุ่มนักศึกษา
           จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยกุต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
          5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎี การเลือกใช้้ครื่องมือทางเทคโนโลยสีารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง
          5.3.2 ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 12032203 ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 1.6 2.1, 2.2, 2.4, 2.6 3.1, 3.3, 3.4 4.2, 4.4, 4.5, 4.6 5.3, 5.4 รายงานกลุ่ม การนำเสนอผลงานด้วยวาจา รายงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบที่ได้รับมอบหมาย 3-4, 7-8, 10-11, 16-17 20%
2 2.1, 2.2, 2.4, 2.6 3.1, 3.3, 3.4 สอบกลางภาค 9 30%
3 1.2, 1.5 2.1, 2.2, 2.4, 2.6 3.1, 3.3, 3.4 4.2, 4.4, 4.5, 4.6 5.3, 5.4 งานประจำหน่วยที่ได้รับมอบหมาย 1-8, 9-17 10%
4 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 1.6 2.1, 2.2, 2.4, 2.6 3.1, 3.3, 3.4 4.2, 4.4, 4.5, 4.6 5.3, 5.4 การเข้าชั้นเรียน และพฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างเรียน 1-8, 10-17 10%
5 2.1, 2.2, 2.4, 2.6 3.1, 3.3, 3.4 สอบปลายภาค 17 30%
เอกสารประกอบการสอน วิชา ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ (Computer Security)
e-Learning บนระบบ Cloud Storage (Google Classroom and Google Drive)
รายวิชาความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ อาจารย์นพณัฐ  วรรณภีร์
จตุชัย แพงจันทร์. Master in Security 2nd Edition: ไอดีซี พรีเมียร์, นนทบุรี, 2553.
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาในระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย
 - ผลการสอบ
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- การประเมินโดยคณะกรรมการประเมินข้อสอบ
 
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
- การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
 
 - การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
- มีการตั้งคณะกรรมการในหลักสูตร ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
ปรับปรุงรายวิชาทุก 1 ภาคเรียน ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา