การถ่ายเทความร้อนและมวลสารสำหรับวิศวกรรมกระบวนการอาหาร

Heat and Mass Transfer for Food Process Engineering

1.1 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจกระบวนการที่เกิดขึ้นในระหว่างการถ่ายเทความร้อน ทั้ง 3 ประเภท คือ การนำความร้อน (conduction) การพาความร้อน (convection) การแผ่รังสี (radiation) 
1.2 นักศึกษาสามารถวิเคราะห์หลักการพื้นฐานของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
1.3 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการถ่ายเทมวลเบื้องต้น
1.4 นักศึกษามีความเข้าใจการประยุกต์ใช้หลักการถ่ายเทความร้อนและมวลในอุตสาหกรรมอาหารได้
เพื่อเพิ่มเนื้อหาและกิจกรรมให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้และเข้าใจถึงความสำคัญของการใช้หลักการถ่ายเทความร้อนและมวลในอุตสาหกรรมอาหาร
พื้นฐานและหลักการของการถ่ายเทความร้อน โดยการนำความร้อน การพาความร้อน การแผ่รังสี และการถ่ายมวล รู้จักการนำความร้อนเมื่อสภาวะต่างๆ คงที่และไม่คงที่ การนำความร้อนไหลผ่านวัสดุ รู้จักการพาความร้อนภายใต้การไหลสม่ำเสมอและการไหลแบบปั่นป่วน การพาความร้อนแบบบังคับและแบบธรรมชาติ รู้จักการแผ่รังสีระหว่างผิววัตถุดำ ผิววัตถุเทา ศึกษาถึงหลักการเบื้องต้นของการแพร่มวลส่วนประกอบของส่วนผสมแบบเนื้อเดียวและไม่ใช่เนื้อเดียว การแพร่มวลตามเวลา สามารถนำความรู้จากการส่งผ่านความร้อนมาประยุกต์ใช้ในอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน
อาจารย์ผู้สอน แจ้งเวลาให้นักศึกษามาปรึกษานอกตารางเรียนในครั้งแรกของการเรียนการสอน โดยจัดสรรเวลาให้อย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์
 


พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
 1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์


 
1.2.1 เน้นย้ำให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ให้การเข้าเรียนตรงเวลาและส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.2.2 เน้นย้ำกับนักศึกษาเรื่องการแต่งกายให้ตรงระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.3 เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณของวิชาชีพ
1.2.4 ยกตัวอย่างกรณีศึกษาต่างๆ จากประสบการณ์การทำงาน พร้อมแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวที่ดีในสังคมของการทำงาน


 
 
1.3.1 คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
1.3.2 การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของนักศึกษาที่เกิดระหว่างการใช้วิธีการสอนในข้อข้างต้นว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตในงานที่ได้รับมอบมาย และการสอบ ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายก็อาจเปลี่ยนสถานการณ์ให้เหมาะสม


 
 นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่              จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
2.1.1     มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2     สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3     สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    2.2.1 การสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการเน้นให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีการให้ผู้เรียนได้ร่วมนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ มานำเสนอระหว่างการเรียนการสอนและการทำรายงานด้วยการค้นคว้าทางสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
 
2.3.1   ประเมินจากการสอบกลางภาค  สอบปลายภาค และการทดสอบย่อย
2.3.2   การตอบคำถามระหว่างสอนในห้องเรียน และการนำเสนองาน โดยการตอบคำถามและการนำเสนอต้องมีเนื้อหาที่ถูกต้องตามหลักการ
3.1.1    มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2    มีทักษะในการนําความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้ตัวอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงประกอบการสอน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดด้วยนเอง และแสดงความคิดในการเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา
สอบกลางภาค สอบปลายภาค  และการทดสอบย่อย โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา
4.1.1     มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2     มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม
4.1.3     สามารถทํางานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4     สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
 
 
 
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการกำหนดโจทย์ กำหนดบทบาทในการทำงาน และให้นำเสนอผลงาน รวมทั้งให้นักศึกษามีบทบาทในการให้ความเห็นต่างๆ 
4.3.1 ประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
 
5.1.1   เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
5.1.2   สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3   ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
 
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์หรือสื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบ power point และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย และพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียน
6.1.1   นักศึกษามีการพัฒนาทางด้านร่างกาย สุขภาพแข็งแรง
6.1.2   นักศึกษามีพัฒนาการด้านระบบต่างๆของร่ายกาย
6.1.3   นักศึกษามีพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ
6.2.1    ใช้การเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ทุกคาบเรียน
6.2.2    มีการสอดแทรกการสอบถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาฝึกการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
6.2.3    มีการแนะนำเรื่องบุคลิกภาพในการนำเสนองานกับนักศึกษาทุกครั้งที่มีการนำเสนอผลงาน
6.3.1  ประเมินผลจากประสิทธิภาพในการปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ถูกต้อง เหมาะสม
6.3.2 ประเมินผลจากความสามารถและไหวพริบของนักศึกษาในการตอบคำถามและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
6.3.3 ประเมินจากบุคลิกภาพที่นักศึกษาแสดงออกมาระหว่างการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 52011211 การถ่ายเทความร้อนและมวลสารสำหรับวิศวกรรมกระบวนการอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านความรู้ - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค - ทดสอบย่อย - 50
2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม (การร่วมกิจกรรมในห้องเรียน) - การเข้าห้องเรียน - ส่งงานตามกำหนด ตลอดภาคการศึกษา 5
3 ด้านทักษะทางปัญญา (Assignment) สอบกลางภาค สอบปลายภาค และทดสอบย่อย 15
4 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - การนำเสนอผลงาน - งานที่ได้รับมอบหมาย - 15
5 ด้านทักษะพิสัย (ปฏิบัติ) - การนำเสนอผลงาน - งานที่ได้รับมอบหมาย - 15
รศ.สุนันท์ ศรัณยนิตย์, “การถ่ายเทความร้อน Heat Transfer”, กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น), 2545, ISBN 9789749569009
             YUNUS A. CENGEL, “Heat and Mass Transfer: A Practical Approach”, Third Edition (SI Units), 2006, ISBN 987-007-125739-8
Fundamental of Heat and Mass Transfer [Frank P. Incropera - David P.DeWitt] edition 9
ตำราหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเทความร้อน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษาและผลสอบ
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   ประเมินรายวิชาทุกปีตามแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา