การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Computer Programming

1.1 อธิบายองค์ประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ทั้ง ซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์ได้
1.2 สามารถออกแบบและพัฒนาโปรแกรมได้
1.3 สามารถเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาซีแบบค่าคงที่และนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ได้
1.4 สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อทำงานแบบทำวนซ้ำคำสั่งได้
1.5 สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอาเรย์ และ/หรือพอยน์เตอร์ได้
1.6 สามารถนำไลบรารี่ฟังก์ชั่นที่มีอยู่แล้วไปประยุกต์งานได้
1.7 สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างฟังก์ชั่นขึ้นมาใช้งานเองได้
1.8 สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการแบบโครงสร้างและ/หรือไฟล์ได้
1.9 สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการแฟ้มข้อมูลได้
1.10 สามารถนำความรู้ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้
ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานองค์ประกอบ ประโยชน์จากการใช้งานด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลกระทบ การใช้งานด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อสังคม และมีคุณธรรม จริยธรรมตามกรอบ มคอ. 2
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการนำความรู้ ความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้อง และนำไปประยุกต์ใช้งานต่างๆ ในด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวคิดและองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ภาษาที่ใช้เขียน โปรแกรมในปัจจุบัน
Study and practice of computer concepts, computer components, hardware and software interaction, current programming language, programming practices.
1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
š1.1.1 แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
˜1.1.3 แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี
1.2.1 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.2 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
1.3.1 ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียนการแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริหลักสูตร
1.3.2 ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และการรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน
1.3.3 ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาวิศวศึกษาตามเอกวิชา คือ วิศวกรรมไฟฟ้า หรือ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม หรือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ดังนั้น มาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
˜2.1.1 มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ
š2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้
2.2.1 เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อของลักษณะรายวิชา โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง
2.2.2 ส่งเสริมและชี้แนะให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม แล้วน ามาประยุกต์สร้างผลงานทางวิชาการ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี
2.3.3 ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด หรือการตอบคำถามนั้นเรียน
นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผลเข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นมาตรฐานทักษะทางปัญญาต้องครอบคลุมดังนี
š3.1.1 มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม
˜3.1.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินอุตสาหกรรมโดยใช้สารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไข ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.2.1 ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ
3.2.2 ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.2 วัดผลจากการนำเสนอผลงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3.3 สัมภาษณ์ และสังเกตพฤติกรรม การแก้ไขปัญหา
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนการมี ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจ าเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาระหว่างที่สอนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
š4.1.1 แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
˜4.1.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
4.2.1 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มที่แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4.2.2 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม
4.3.1 ประเมินพฤติกรรมจากการแสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4.3.2 ประเมินผลการดำเนินการบริการทางวิชาการต่อสังคม
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความส าคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติดังนี
˜5.1.1 มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
š5.1.3 สามารถสนทนา เขียน และน าเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.2 นำเสนอรายงานด้านวิชาการโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1 ความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
5.3.2 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานความสามารถการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
การทำงานในสถานศึกษา สถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะการปฏิบัติ การวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไขรวมถึงการมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายตามสภาพจริง ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องมุ่งเน้นการสร้างทักษะการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
˜6.1.1 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการที่มีที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์
6.2.1 อธิบายและสาธิตการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และวิธีการให้เข้าใจและปฏิบัติถูกต้องตามหลักการ
6.2.2 มอบหมายให้ลงมือปฏิบัติทดลองตามกำหนดเวลา
6.2.3 ให้มีการแบ่งกลุ่มในการปฏิบัติงาน มีการแบ่งความรับผิดชอบกัน
6.2.4 นำเสนอโดยใช้รูปแบบโจทย์ปัญหาของกรณีศึกษาและตัวอย่างวิธีแก้ปัญหา ที่เหมาะสม
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ ในเรื่องเวลา วิธีการและผลงานที่ได้รับ การทำงานร่วมกัน
6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติการทดลอง รวมทั้งงานที่มอบหมาย
6.3.3 สังเกตพฤติกรรมการเขียนโปรแกรมและจดบันทึก
6.3.4 พิจารณาผลการปฏิบัติงานการเขียนโปรแกรมในชั้นเรียน
6.3.5 ให้คะแนนผลการปฏิบัติงานโปรแกรมต่างๆ โดยเปิดเผย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDCC826 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.2,4.1.3 1) ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการแต่งตัว ความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย 2) ประเมินจาก การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3) ประเมินจาก ปริมาณการกระทำทุจริต ในด้านการส่งงาน การนำเสนอผลงานและการสอบของนักศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 2.1.2,2.1.4 1) ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 2) สอบกลางภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี 3) ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 4) สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นข้อสอบที่มีมีความเข้าใจ วิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ทฤษฎี 4 8 12 17 5% 20% 5% 20%
3 3.1.1,5.1.1, 6.1.1 1) วัดผลจากทักษะในการลงมือปฏิบัติตามใบงานตามที่ได้รับมอบหมายและคุณภาพของใบงานที่ทำเสร็จแล้ว 2) ประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ความเข้าใจ วิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแก้ปัญหาจาก Case Study ที่มอบหมาย (Flip Study) ตลอดภาคการศึกษา 15 20% 10%
- Lealy Anne Robertson, Simple Program Design (A Step-by-step Approach)
September 29.2006 | ISBN-10: 1423901320 | ISBN-13 978-1423091327
- Robert C. Hutchion , Steven B. Just Programming using the C Language
McGraw-Hill, 1988
- ดร. สุเทพ มาดารัศมี, ปรียากรทิพวัย, การเขียนโปรแกรมภาษา C, บริษัทสำนักพิมพ์ท๊อปจำกัด
- นิรุธ อำนวยศิลป์, คู่มือเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C, บริษัท โปรวิชั่น จำกัด
- ธันวา ศรีประโมง, การเขียนโปรแกรมภาษา C สำหรับวิศวกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
- ธนัญชัย ตรีภาค, กรณีศึกษาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C, บริษัทซีเอ็ดยูชั่น จำกัด มหาชน
- ผศ. สานนท์ เจริญฉาย, การเขียนโปรแกรมและอัลกอริทึมกรณีตัวอย่างภาษา C, เชนพริ้นติ้ง
- http://www.ce.kmitl.ac.th/subject.php?action=view&SUBJECT_ID=129
http://www.jk.rmutl.ac.th/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ