โครงงานวิศวกรรมโยธา

Civil Engineering Project

เพื่อให้นักศึกษาได้บูรณาการองค์ความรู้ทางวิศวกรรมโยธามาจัดทำโครงงานวิจัยในหัวข้อที่นักศึกษามีความสนใจโดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานเป็นพี่เลี้ยง   สามารถรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล  เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และนำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการ สามารถนำโครงงานไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการออกแบบวิธีการดำเนินโครงงานและกำหนดขั้นตอนการดำเนินโครงงาน โดยพัฒนาต่อยอดจากงานวิจัยในอดีต โดยบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้รับจากหลักสูตรวิศวกรรมโยธาในการแก้ไขปัญหา
2.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ตามรูปแบบการจัดพิมพ์ของมหาวิทยาลัย  และสามารถนำเสนอ ปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหา และผลการศึกษาของโครงงานภายใต้การควบคุมดูแลจากอาจารย์ที่ปรึกษาได้อย่างถูกต้อง
2.3 เพื่อให้นักศึกษามีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรวิศวกรรมโยธา
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับการทบทวนชื่อโครงงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ตามหัวข้อโครงงานในรายวิชา 33059398 การเตรียมโครงงานวิศวกรรมโยธา ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวทางการแก้ปัญหา ปฏิบัติการตามขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล จัดทำรายงาน และนำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการสอบโครงงาน
- อาจารย์ประจำรายวิชาจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยนักศึกษาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้โดยตรงกับอาจารย์ประจำวิชา
  หรือสอบถามผ่านระบบออนไลน์ตามที่อาจารย์ประจำวิชาได้กำหนดให้
- อาจารย์ที่ปรึกษาและกำกับการดำเนินโครงงาน พร้อมทั้งให้คำปรึกษาตามตารางสอนหรือนอกตารางสอน
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรมจริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กรสังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1 ตรวจสอบการเข้าเรียนทุกครั้งและให้มีการส่งงานที่มอบหมายตรงเวลา
1.2.2 ส่งเสริมให้มีความเป็นผู้นำกลุ่มและผู้ตามที่ดี มีความสามัคคีในการทำงาน
1.2.3 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบและจรรยาบรรณวิชาชีพและวิชาการ
1.2.4 กำหนดกฏเกณฑ์ความซ้ำซ้อนในการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ไม่ควรเกินร้อยละ 30 และสร้างวัฒนธรรมให้นักศึกษาตระหนักถึงการอ้างอิงแหล่งที่มาของเนื้อหาที่ได้อ่านหรือนำมาอธิบายให้ชัดเจน
1.3.1 ให้คะแนนการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
1.3.2 กำหนดเกณฑ์คุณภาพของปริญญานิพนธ์ และกำหนดเกณฑ์การซ้ำซ้อน
1.3.3 สังเกตการทำงานในกลุ่ม การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงาน สามารถเรียบเรียงทฤษฎีและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน และมีการอ้างอิงเอกสารได้อย่างถูกต้อง             
2.2.2 ให้มีการเรียนรู้โดยการทดลองหรือสำรวจข้อมูล และวิเคราะห์ผล
2.2.3 ฝึกการแก้ปัญหาโดยพิจารณาจากสาเหตุ และข้อมูลที่ได้รวบรวม และนำผลจากการวิเคราะห์ไปสรุปถึงวิธีการแก้ปัญหา รวมทั้งสามารถประเมินผลการใช้วิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
2.3.1 ประเมินจากผลการดำเนินโครงงานป็นระยะโดยพิจารณาจากความถูกต้องที่ผ่านการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน  
2.3.2 ประเมินจากการออกแบบและกิจกรรมที่ดำเนินการในแต่ละสัปดาห์ภายใต้การกำกับและดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานผ่านสมุดติดตามผลงานประจำสัปดาห์ของแต่ละกลุ่ม
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่จัดส่งตามระยะเวลาที่กำหนด ปริญญานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ และการนำเสนอโครงการ
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 ส่งเสริมการอ่านเพื่อให้มีแนวคิด วิเคราะห์ เพื่อให้สามารถหาข้อมูลโครงงานได้
3.2.2 ให้มีการเรียนรู้โดยการใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาในกรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
3.2.3  มอบหมายให้ค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการบรรยายและอภิปรายรวมกับเพื่อนในชั้นเรียน
3.3.1 วัดผลจากหัวข้อของโครงงาน
3.3.2 วัดผลจากความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูล  
3.3.3 วัดผลจากขั้นตอนและวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่มรวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 ให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็น ในการดำเนินโครงงาน
4.2.2 ให้นักศึกษามีการวางแผนการทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด
4.2.3 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมาย
4.2.4 ให้มีจิตสำนึกในความปลอดภัยในการทำงาน
4.3.1 ประเมินจากการมีส่วนร่วม กล้าแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ร่วมทั้งการรับฟังความคิดของผู้อื่น
4.3.2 ประเมินจากการส่งงานตามกำหนด โดยดูจากผลการดำเนนงานของกลุ่ม
4.3.3 สังเกตจากการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการทำงาน
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 ฝึกให้มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการแปลความหมาย รวมทั้งการประมวลผลในวิธีการที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา
5.2.2 มอบหมายการนำเสนอโครงงานโดยมีรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 อธิบายวิธีการเขียนและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่ถูกต้อง  
5.3.1 ประเมินจากความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูล
5.3.2 ประเมินจากการสื่อที่ใช้นำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.3 ประเมินจากความสมบูรณ์ ถูกต้องของรายงานและปริญญานิพนธ์
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 ให้นักศึกษาทำงานตามแผนที่ได้วางไว้ และให้ส่งงานที่มอบหมายเป็นระยะ
6.2.2 มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม และให้ทุกคนมีส่วนในการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ
6.3.1 ประเมินจากการส่งงานที่มอบหมายตรงเวลา
6.3.2 ประเมินจากรายงาน ปริญญานิพนธ์ และการนำเสนอโครงงาน
6.3.3 ประเมินจากการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับผิดขอบของนักศึกษาแต่ละคน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 33059499 โครงงานวิศวกรรมโยธา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2, 2.4, 3.3, 4.3, 5.2, 5.4, 6.1 รายงานที่ได้รับมอบหมาย และปริญญานิพนธ์ ฉบับสมบูรณ์ 12-17 10%
2 4.3, 5.3, 6.2 ผลการสอบปากเปล่าต่อคณะกรรมการ ได้จาก (1)ความถูกต้องของปริญญานิพนธ์ 50 % (2) การนำเสนอ 50 % (3) การตอบคำถาม 20 % (4) การใช้ประโยชน์ของผลงาน 10% 15-17 60%
3 1.2 ,4.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมอภิปราย การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-17 5%
4 6.1, 6.2 รายงานความก้าวหน้าทุกสัปดาห์ 1-17 15%
1.1 กัณวริช พลูปราชญ์ (2555) วิธีการวิจัยทางวิศวกรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ : ท้อป, 322 หน้า
1.2 ทวีชัย กาฬสินธุ์ (2562) เอกสารประกอบการสอนวิชาโครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์, สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 
1.3 รายละเอียดการจัดทำปริญญานิพนธ์สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
1.4 สมุดติดตามรายงานความก้าวหน้าประจำสัปดาห์ ภาคการเรียนที่ 2/2561
2.1 ตัวอย่างปริญญานิพนธ์สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
3.1 ฐานข้อมูลและสื่อออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมให้ Access Engineering, ScienceDirect, EBSCO Discovery Service Plus Full Text, ProQuest Dissertation & Theses, ThaiLis, ThaiJo  
  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่าน e-mail address หรือระบบออนไลน์ตามที่อาจารย์ผู้สอนได้กำหนด
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 พิจารณาปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และตามคำแนะนำจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
3.2 ประชุมเพื่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดในภาคการเรียนก่อนหน้า
3.3 ใช้ระบบออนไลน์เพื่อสอบถาม และประมวลผล ผลการเรียนของนักศึกษา รวมทั้งหาแนวทางในการปรับปรุงลักษณะรายวิชาในภาคการเรียนต่อไป
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจาก    ผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 ให้อาจารย์ประจำวิชาเข้าร่วมสัมมนา และงานประชุมเชิงวิชาการในระดับชาติ หรือนานาชาติ เพื่อปรับปรุงให้ทันต่อวิทยาการที่ทันสมัย
5.3 ส่งเสริมและสนับสนุนทั้งทางด้านทรัพยากรที่จำเป็น ให้อาจารย์ประจำวิชาทำวิจัยในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่ได้รับมอบหมายให้สอน