การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม

Green Marketing

มีความรู้ ความเข้าใจถึงความหมายและความสำคัญของการตลาดเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและการกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมผู้บริโภค มีทักษะในการวิเคราะห์ปัญหาการตลาดเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นแนวทางและนำหลักการไปประยุกต์กับการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการพื้นฐานด้านการตลาด เข้าใจถึงความสำคัญของการทำการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับธุรกิจ สามารถนำเสนอวิธีการและกลยุทธ์ในการทำการตลาดทางด้าน ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดได้ รวมทั้งเกิดความเข้าใจในกระบวนการทำการตลาดจากการวิเคราะห์กรณีศึกษา ตลอดจนมีการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดนำมาประยุกต์ใช้และนักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงแบบบูรณาการศาสตร์ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในตนและ สู่สังคมแห่งปัญญา
ศึกษาแนวความคิดทางการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์และระดมความคิดเกี่ยวกับปัญหาทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลง ความสำคัญต่อการปรับส่วนประสมทางการตลาดให้สอดคล้องกับการตื่นตัวของผู้บริโภค การจัดการทางการตลาดเพื่อการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทางสังคม ตลอดจนแนวทางการแก้ไขโดยใช้เครื่องมือทางการตลาด
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
2. มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
2.  สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
3. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
4. กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมี ส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
6. สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
 
1) การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
3) การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
4) การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
7) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
3. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
5. ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
6. การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
5. ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
7. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
6. การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
7. จัดให้ในรายวิชา มีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
4. ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
6. ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
8. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคล อื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
2.พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
7.สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
6. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
5. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้
6. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
2. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
4. ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
2. จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
3.จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผล การดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
2.พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษา มีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
4.การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6.ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBABA619 การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 9 12 17 10% 25% 10% 25%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย 1-16 20%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-16 10%
1. ศิริวรรณ เสรีรัตน์. การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ . สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา, 2538
               2. เกษม จันทร์แก้วและคณะ. ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ. เธร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น, 2540
     3. พรทิพย์ สัมบัตตะวนิช . การตลาดเพื่อสังคม . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
        2538.
3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
1. ธงชัย สันติวงษ์. หลักการตลาด. กรุงเทพฯ . โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2536
2. บทความทางการตลาด นิตยสาร วารสารทางการตลาด เช่น BRANDAGE, MARKETEER, MBA
3. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ประชาชาติธุรกิจ สยามธุรกิจ เป็นต้น
เว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
www.matichon.co.th,
www.brandagemag.com,
www.marketingthai.or.th,
www.manager.com,
www.4ponline.com,
www.position.com,
www.businessthai.co.th,
www.manager.co.th,
www.marketeer.co.th,
www.positioningmag.com
1.1การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ