ปฏิบัติการออกแบบระบบไฟฟ้า

Electrical System Design Laboratory

เข้าใจ หลักการออกแบบระบบไฟฟ้า เข้าใจ มาตรฐานและข้อกำหนด ผังการจ่ายกำลังไฟฟ้า ปฏิบัติการออกแบบ ผังการจ่ายกำลังไฟฟ้า สายไฟฟ้า และทางเดินสาย อุปกรณ์ไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ปฏิบัติการคำนวณโหลด การปรับปรุงตัวประกอบกำลังและการออกแบบชุดตัวเก็บประจุ ปฏิบัติการออกแบบวงจรแสงสว่างและวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้า การออกแบบวงจรมอเตอร์ไฟฟ้า ตารางโหลด สายป้อนและสายประธาน ระบบไฟฟ้า ระบบไฟฉุกเฉิน ปฏิบัติการคำนวณกระแสลัดวงจร และ การต่อลงดินสำหรับระบบไฟฟ้า ปฏิบัติการถอดแบบและประมาณราคางานระบบไฟฟ้า มีเจตคติที่ดีต่อรายวิชาปฏิบัติออกแบบระบบไฟฟ้า
 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ          ในเกี่ยวกับการออกแบบระบบไฟฟ้า และนำความรู้จากวิชาออกแบบระบบไฟฟ้า มาปฎิบัติการออกแบบระบบไฟฟ้า ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน
ENGEE126 การออกแบบระบบไฟฟ้า หรือเรียนควบคู่กัน  ปฏิบัติเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนในรายวิชา ENGEE126 การออกแบบระบบไฟฟ้า     The experiments that correspond to subject ENGEE126 Electrical System Design.
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ   -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้ 
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม 
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 ปฏิบัติการออกแบบระบบไฟฟ้า จากตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับการออกแบบระบบไฟฟ้า  1.2.2 กำหนดให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียนเพื่อเพิ่มทักษะในปฎิบัติการออกแบบระบบไฟฟ้า
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา  1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม  1.3.3   ประเมินผลจากแบบฝึกหัดที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของปฎิบัติการออกแบบระบบไฟฟ้า ในการนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา และ หาค่าต่างๆที่เกิดขึ้นได้
ปฏิบัติการออกแบบระบบไฟฟ้า จากตัวอย่างกรณีศึกษา การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาร่วมในการแก้ปัญหา และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี  2.3.2   ประเมินจากการแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยี
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน  3.2.2   วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการปฎิบัติการออกแบบระบบไฟฟ้า ในการนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา และ หาค่าต่างๆที่เกิดขึ้น  3.2.3   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
 
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  3.3.2   วัดผลจากการทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน  3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน  4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม  4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา  4.2.2   มอบหมายงานรายบุคคล เช่น แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา  4.2.3   การนำส่งแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด  4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม  4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข  5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน  5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา  5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ  5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ  5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี  5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
สามารถปฎิบัติการออกแบบระบบไฟฟ้า และมีสามารถการแก้ไขปัญหา และ หาค่าต่างๆที่เกิดขึ้นได้
6.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน  6.2.2   วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการปฎิบัติการออกแบบระบบไฟฟ้า ในการนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา และ หาค่าต่างๆที่เกิดขึ้น  6.2.3   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
6.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี  6.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค 7 35%
2 สอบปลายภาค 17 35%
3 การทำแบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือการออกแบบระบบไฟฟ้า อ.ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์  2. หนังสือการออกแบบระบบไฟฟ้า อ.ลือชัย ทองนิล  3. มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับ ประเทศไทย พ.ศ.2556  4. เอกสารประกอบการสอน วิชาการออกแบบระบบไฟฟ้า เรียบเรียงโดย อ.มนตรี เงาเดช
เว็ปไซต์ http://blog.rmutl.ac.th /montri
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 
  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน   แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา   ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้  2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน  2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา  2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้  3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้  5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ