เคมีเซรามิก

Chemistry of Ceramics

1. เข้าใจความหมายและการแบ่งแยกประเภทของธาตุต่างๆ ที่อยู่ในตารางธาตุ
2. เข้าใจเกี่ยวกับเคมีพื้นฐานและเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีของเซรามิก
3.  เข้าใจองค์ประกอบทางเคมีและการแบ่งประเภทของวัตถุดิบได้แก่ เนื้อดินปั้น วัตถุดิบให้สี และ   เคลือบที่ใช้ในงานเซรามิก
4. เข้าใจกระบวนการและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเซรามิก
5. มีทักษะในการเลือกใช้องค์ประกอบทางเคมีที่ถูกต้องในงานเซรามิกเครื่องปั้นดินเผา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเคมีพื้นฐาน ธาตุและตารางธาตุ และองค์ประกอบทางเคมีของธาตุที่อยู่ในวัสดุเซรามิก รู้จักและสามารถแยกแยะประเภทของวัตถุดิบในการทำเซรามิก ได้แก่ เนื้อดินปั้น วัตถุดิบให้สีและเคลือบ รวมถึงเข้าใจปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมบัติในวัสดุเซรามิก  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านการนำความรู้พื้นฐาน ความเข้าใจ หลักการและทักษะ ไปใช้ในการทำงานเซรามิกต่อไป
ศึกษาเคมีพื้นฐาน สมบัติและองค์ประกอบทางเคมีของเซรามิก องค์ประกอบทางเคมีของวัตถุดิบ เนื้อดินปั้น วัตถุดิบให้สี และเคลือบที่ใช้ในงานเซรามิก ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมบัติของเซรามิก
อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)               
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัยมีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา
                   1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละและซื่อสัตย์สุจริต
                   1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
                       1.1.3 มีภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อ ขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
                      1.1.4 เคารพสิทธิ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
                1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
                1.1.6 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
                   1.2.1 บรรยายทฤษฏีโดยใช้สื่อการสอนและสอนปฎิบัติโดยการสาธิต
                   1.2.2 ให้นักศึกษาปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
                   1.2.3 อภิปรายกลุ่ม
1.3.1 สังเกตความสนใจ
 1.3.2 ซักถามรายบุคคล
 1.3.3 สังเกตการอภิปราย
 1.3.4 พิจารณาจากงานที่มอบหมาย
 1.3.5 สังเกตการปฏิบัติงาน
1.3.6 พิจารณาจากผลงานจากการปฏิบัติงานและจัดอันดับคุณภาพ
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 
2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  
บรรยาย  ยกตัวอย่าง และปฏิบัติงานโครงงาน
สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการทดลองเคลือบชนิดพิเศษ
3.2.1 บรรยาย และการให้นักศึกษาปฏิบัติโครงงานที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
3.2.2 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   สอบ กลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการแก้ไขปัญหา
3.3.2   วัดผลจากการประเมินชิ้นงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.2   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2   ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  การเขียน
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
ให้นักศึกษาปฏิบัติงานตามใบงานที่กำหนดให้ โดยผู้สอนสาธิตและนำการปฏิบัติให้ตามใบงานนั้นๆ
ประเมินผลการทำงานตามคำสั่งที่กำหนดให้ ความถูกต้อง ครบถ้วนและความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา 3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 6.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 6.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงานที่ยุ่งยาก ซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง และเป็นธรรมชาติ
1 BTECE106 เคมีเซรามิก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2 2.3 3.1 4.1 4.2 5.1 5.2 5.3 สอบถามเพื่อพิจารณาความเข้าใจในเนื้อหาหลังจบแต่ละหน่วยการเรียน สังเกตความสนใจ, ซักถามรายบุคคล สังเกตการอภิปราย, สังเกตการปฏิบัติงาน , พิจารณาจากงานที่มอบหมายและพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานและจัดอันดับคุณภาพ ตลอดภาคการศึกษา 60%
2 1.2 2.1 2.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค พฤติกรรมในการสอบ 9 และ 17 30%
3 1.1 1.2 1.3 4.1 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
กาญจนะ  แก้วกำเนิด. วัสดุทนไฟ.  เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีเซรามิก  สถาบันวิจัยและพัฒนา
         วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541.
การศึกษานอกโรงเรียน,กรม. การสร้างต้นแบบและแม่พิมพ์ด้วยวิธีการกลึง.
         กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าครุสภา, 2538.
โกมล  รักษ์วงศ์. เอกสารคำสอนน้ำเคลือบ 2 . กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฎพระนคร, 2538.
                       .งานวิจัยเตาเผาและเครื่องปั้นดินเผา เตาเผาแม่น้ำน้อยเพื่อสืบสาน
         และอนุรักษ์ศิลปวัตถุโบราณของจังหวัดสิงห์บุรี,กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฎพระนคร,
         2538.
จีรพันธ์  สมประสงค์. เทคนิคการสร้างสรรค์ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา. กรุงเทพมหานคร :       
         โอเดียนสโตร์, 2535.
ทวี   พรหมพฤกษ์. เครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น..กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฎพระนคร, 2523.
                         . เตาและการเผา..กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฎพระนคร, 2524.
นวลน้อย  บุญวงษ์. หลักการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
นพวรรณ  หมั้นทรัพย์. การออกแบบเบื้องต้น. โครงการตำราวิทยาเขตภาคพายัพ
         สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. : โกลบอลวิชั่นจำกัด, 2539.
บริษัท คอมพาวค์ เคลย์จำกัด. คู่มือเครื่องหล่อแบบแรงดันสูง. ม.ป.ป.
ปรีดา  พิมพ์ขาวขำ. เซรามิกส์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
ปุณณรัตน์   พิชญไพบูลย์. เครื่องปั้นดินเผาเทคนิคและวิธีการสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร :
         จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
ไพจิตร  อิ่งศิริวัฒน์. เนื้อดินเซรามิกส์. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2541.
วิเชียร   ศิริประภาวัฒน์. ดินและเนื้อดินปั้น(เอกสารโรเนียว). กรุงเทพมหานคร :
         สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขต เพาะช่าง, 2528.
วันชัย  เพี้ยมแตง. รายงานการฝึกอบรม ณ ประเทศญี่ปุ่น. เชียงใหม่ : สถาบันเทคโนโลยี
         ราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ, 2532.
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ได้ดังนี้
          1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
          1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ดังนี้
          2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
          2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
          2.3 การทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
          3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้รายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงการพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ โดยรวมได้ในรายวิชาดังนี้
          4.1 การทวนสอบการให้คะแนน จากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
          4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิ์ผลรายวิชา ได้มีการวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
          5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
          5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ
          5.3 อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ควรปรับปรุงใหม่หมด เช่นแป้นหมุนซึ่งเป็นหัวใจในการเรียนการสอนวิชาการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ควรจัดซื้อใหม่ เนื่องจากของเดิมส่วนใหญ่ชำรุดและมีอายุการใช้งานมายาวนาน และการเตรียมดินสำหรับการขึ้นรูปควรมีเจ้าหน้าที่สำหรับเตรียมดินคอยเตรียมให้