ประติมากรรม 1

Sculpture 1

๑. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1. ศึกษาประวัติและความเป็นมาในการสร้างประติมากรรมภาพนูนแบบต่างๆและแนวทางในการเตรียม
วัสดุอุปกรณ์
2. ศึกษาและฝึกปฏิบัติการทางประติมากรรมนูนต่ำ
3. ศึกษาและฝึกปฏิบัติการทางประติมากรรมนูนสูง
4. ศึกษาและปฏิบัติการปั้นโดยการแบ่งกลุ่มคัดลอกและขยายผลงานต้นแบบชิ้นเอกทางประติมากรรม
ภาพนูน
๒. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้ เป็นเอกสารการเตรียมและวางแผนการสอนรายวิชประติมากรรม 1 สำหรับสอนนักศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาวิชาทัศนศิลป์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูลและเข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมทางประติมากรรมนูนต่ำ-นูนสูงโดยศึกษาจากคน ปฏิบัติด้วยวัสดุดินเหนียวเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์งานประติมากรรมของตนและแบบกลุ่มเพื่อศิกษาในการขยายแบบประติมากรรมภาพนูนร่วมกัน

 
๑. คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการสร้างผลงานประติมากรรม ในลักษณะนูนต่ำ นูนสูง เน้นการแสดงออกทาง
ประติมากรรม โดยศึกษาจากคน ปฏิบัติด้วยวัสดุดินเหนียว
Study and practice creating sculpture, including bas relief and high relief. Emphasis is
placed on human expression in sculpture using clay as a material.
๓. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
อาจารย์ผู้สอนจะให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน จำนวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสื่อสารให้นักศึกษาได้ทราบกำหนดเวลาล่วงหน้า
๑.๑ ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
 

˜ ข้อ ๑ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม š ข้อ ๒ มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น š ข้อ ๓ มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ

 
๑.๒ กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งจรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
๑.๓ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
๒.๑ ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

  ข้อ ๑ ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน ) š ข้อ ๒ มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ   ข้อ ๓ ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน ) ˜ ข้อ ๔ มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม
ศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
๒.๒ กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้
ใช้การเรียนการสอน โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาจิตรกรรมฝาผนังไทย ตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชา นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษประติมากรรมภาพนูน
๒.๓ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
ในด้านต่าง ๆ คือ
๑. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
๒. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
๓. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
๔. ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
 
๓.๑ ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

  ข้อ ๑ ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน ) š ข้อ ๒ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์   ข้อ ๓ ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน ) š ข้อ ๔ มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
๓.๒ กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
ใช้กรณีศึกษา การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
๓.๓ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษา และการนำเสนองาน
๔.๑ ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

š ข้อ ๑ มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี š ข้อ ๒ มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ   ข้อ ๓ ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )
๔.๒ กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบสอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
๔.๓ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
๕.๑ ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ

  ข้อ ๑ ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน ) š ข้อ ๒ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ๒   ข้อ ๓ ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )
๕.๒ กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลโดยอ้างอิงแหล่งข้อมูล ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการนำเสนอที่เหมาะสมกับนักศึกษา
๕.๓ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประเมินจากการสืบค้นข้อมูล โดยการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการค้นหาข้อมูล ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
๖.๑ ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
 

˜ ข้อ ๑ มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ š ข้อ ๒ มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง š ข้อ ๓ มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
๖.๒ กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามใบงาน และการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วย
๖.๓ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 2 3 4 5 6
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BFAVA127 ประติมากรรม 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2 3-8 9 10-12 16-16 18 ทดสอบย่อย หน่วยที่ 1ประวัติและความเป็นมาในการสร้างประติมากรรมภาพนูนแบบต่างๆและแนวทางในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ทดสอบย่อย หน่วยที่ 2 ประติมากรรมนูนต่ำ -สอบกลางภาค ทดสอบย่อย หน่วยที่ 3 ประติมากรรมนูนสูง ทดสอบย่อยหน่วยที่ 4 การแบ่งกลุ่มศึกษาจากการคัดลอกและขยายผลงานต้นแบบชิ้นเอกทางประติมากรรมภาพนูน สอบปลายภาค 1-2 3-8 9 10-12 16-16 18 21% 10% 10% 13% 10%
2 16-16 13-16 1-16 การคัดแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้า,นำเสนอและการคัดเลือกผลงานต้นแบบชิ้นเอกประติมากรรมภาพนูนของศิลปินที่มีชื่อเสียง การทำรายงานกลุ่มจากการขยายผลงาน การนำเสนองานตามที่มอบหมายพร้อมรายงานสรุป ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1-16 1-16 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
๑. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก


คมสันต์ คำสิงหา, 2550. ประติมากรรมคนเหมือน. กรุงเทพมหานคร : บริษัทวาดศิลป์ จำกัด. มัย ตะติยะ, 2549. ประติมากรรมพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สิปประภา. มหาวิทยาลัยศิลปากร,2525.สมุดภาพประติมากรรมกรุงรัตนโกสินทร์.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ กราฟิคอาร์ต. สมคิด อินท์นุพัฒน์, 2539. กายวิภาคสำหรับผู้ศึกษาศิลปะ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์” Charles Wentinck, 1974. MASTERPIECES OF ART 450 Treasures of Europe. New York: The Netherlands at Royal Smeets Offset bv. Weert. Friz Schider, 1957. AN ATLAS OF ANATOMY FOR ARTISIS. New York: Dover Publications,inc. Irene Korn, 1997. AUGUSTE RODIN Master of Sculpture. New York: Todtri Productions Limited. Claire Waite brown. The Sculpting Techniques Bible. Chartwell Book, inc ; New York., 2006. George M. Beylerian and Andrew Dent. Material Connection: The Global Resource of New and Innovative Materials for Aristech, Artists and Designers. First published in the United Kingdom; Thames & Hudson,Ltd., 2005. Louis Slobodkin. Sculpture Principles and Practice. Dover Publications, inc. New York,1973 Oliver Andrews. LIVING MATERRIALS: A Sculptor’s Handbook. First Paperback printing in the United States of America; University of California Press., 1988.
 
๒. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
ไม่มี
๓. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
๑. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
๒. กลยุทธ์การประเมินการสอน
- ผลการเรียนของนักศึกษา
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
๓. การปรับปรุงการสอน
- การศึกษากระบวนการเรียนการสอนภายในและนอกชั้นเรียน
- การสัมมนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
๔. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
กระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา
- ทวนสอบจากคะแนนงานที่มอบหมาย จากการสุ่มตัวอย่างผลงานของนักศึกษาจากอาจารย์ต่างหลักสูตร
- ตรวจสอบผลการประเมินและกระบวนการศึกษา
๕. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4