ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิต

English for Life Skills

อธิบาย เปรียบเทียบและเลือกใช้ คำศัพท์ และสำนวนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิต สังคม วัฒนธรรม สามารถฟังและอ่านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม และสถานการณ์ในที่ทำงาน สามารถพูด และการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ สถานการณ์ในการดำรงชีวิตและการทำงานในปัจจุบัน ประเด็นทางสังคม และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ประยุกต์ใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นและนำเสนอความคิดเห็น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2.1 เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม (Ethics) ทักษะทางสังคม (Social) ความรู้ (Knowledge) และทักษะการทำงาน
2.2 เพื่อพัฒนาผู้เรียนมีทักษะด้านภาษา สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้องและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง โดยเป็นไปตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สามารถรู้เท่าทันเหตุการณ์และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
ฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิต สังคม วัฒนธรรม และการทำงาน
Practice English listening, speaking, reading and writing skills related to life, social, cultural and work situations
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
    1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral)

    - มีจรรยาบรรณ  มีคุณธรรมและจริยธรรม
สอดแทรกประสบการณ์และเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในเรื่องของจรรยาบรรณ เสริมแรงจูงใจให้นักศึกษาตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันในสังคม ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ให้การยกย่องชมเชยในโอกาสที่เหมาะสม
พฤติกรรมการเข้าเรียน การตรงต่อเวลา การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ประเมินผลแบบฝึกหัด/รายงานที่ได้รับมอบหมาย
ด้านความรู้ (Knowledge)
- มีความรู้และทักษะการสนทนาเพื่อใช้ในการสื่อสาร กลวิธีการสืบค้นข้อมูลสารนิเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ การอ้างอิง รวมทั้งการเรียนรู้จากฐานข้อมูลและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
บรรยาย ฝึกฟังบทสนทนา ฝึกพูดบทสนทนา และใช้เทคโนยีในการสืบค้นข้อมูลสารนิเทศทางอิเล็กทรอนิกส์
ประเมินจากการกิจกรรมการเรียน(กลุ่มและเดี่ยว) ในชั้นเรียน นอกชั้นเรียน ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย ประเมินการการทดสอบ กลางภาค/ปลายภาค
ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills)

- สามารถพัฒนาและประยุกต์การเรียนไปใช้เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจาวัน มีทักษะในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศได้จากสื่อหลากหลาย สามารถค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
Questioning Think-Pair-Share Co-operative learning Role play Inquiry Process Task-based learning Brainstorming Concept Mapping
ประเมินการฝึกปฏิบัติ กิจกรรมในชั้นเรียน ประเมินจากการทดสอบกลางภาค สอบปลายภาค สังเกตจากการทำกิจกรรมร่วม
ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility)

- พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา ส่งเสริมการแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออก และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การทำงานกลุ่ม กิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ประเมินผลงานกลุ่มและรายบุคคลที่นักศึกษาจัดทำ ประเมินผลจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วม
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills)

- พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การอ่านและการเขียน โดยการสืบค้นข้อมูลจากสื่อที่หลากหลาย และนำเสนอบนกระดานสนทนาอิเล็กทรอนิกส์ (web board) และการนำเสนอด้วยวาจาเป็นกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตตามความสนใจและสาขาวิชาของผู้เรียน ทักษะในการนำเสนอโครงงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
การทำรายงาน กิจกรรมกลุ่ม
การทำงานกลุ่ม ประเมินผลจากรายงาน และการอ้างอิงเอกสารที่จัดทำรายงาน
ด้านทักษะปฏิบัติ (Psychomotor Skill)
- มีทักษะปฏิบัติ และสามารถแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานตามสภาพจริงได้
การฝึกรายงาน
สังเกตพฤติกรรม ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 GEBLC102 ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - อธิบาย เปรียบเทียบและเลือกใช้ คำศัพท์ และสำนวนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิต สังคม วัฒนธรรม - สามารถฟังและอ่านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม และสถานการณ์ในที่ทำงาน - สามารถพูด และการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ สถานการณ์ในการดำรงชีวิตและการทำงานในปัจจุบัน ประเด็นทางสังคม และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน - ประยุกต์ใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นและนำเสนอความคิดเห็น - มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 1. Responsibility and attitude 2. Task Assignment 3. Formative test 4. Performance Test 5. Role-play, Presentation 6. Midterm Examination 7. Final Examination 1-5 ตลอดปีการศึกษา 6 สัปดาห์ที่ 9 7 สัปดาห์ที่ 18 1. 10% 2. 20% 3. 10% 4. 10% 5. 10% 6. 20% 7. 20%
- เอกสารประกอบการสอนที่จัดทำโดยผู้สอน
-Doff, Adrian and Jones, Christopher. (1991) Language In Use: A Pre-Intermediate Course. New York: Cambridge University
-Gordon, Deborah, Harper, Andrew and Richards, Jack C. (1997). Basic Tactics for Listening.
-Adams, Carl R. and Toyama, Setsuko J. (1997). Journeys: Listening and Speaking 1.
-Prentice Hall Asia ELT: Singapore.
-Adelson-Goldstein,Jayme.(1991).Listening First: Focused Listening Tasks for Beginners. Hong Kong: Oxford University
-Arnold Schwarzenegger.2009). Governor Arnold Schwarzenegger [Online]. Available
- Greenall, Simon and Garton-Sprenger, Judy. (1991). Flying Colours Workbook. London: Heinemann.
-Benz, Cheryl & Dworak,Kara.(2000).Tapestry Listening &Speaking 1. U.S.A.: Heinle & Heinle Thomson Learning.
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชาที่จัดทำ โดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ไดดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ดังนี้
- การสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
- ผลการสอบ
- การทบทวนผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
- จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- มีการวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการสอบทวนผลสัมฤทธิ์ ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการสอบทวนผลสัมฤทธิ์ โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
- มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
อธิบายกระบวนการในการนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินจากข้อ 1 และ 2 มาวางแผนเพื่อปรับปรุงคุณภาพจากผลการประเมิน และทวนผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ 4
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสได้เรียนรู้ในมุมมองต่างๆ