แคลคูลัส 1 สำหรับวิศวกร

Calculus 1 for Engineers

เข้าใจฟังก์ชัน ลิมิตและความต่อเนื่อง แก้ปัญหาการหาอนุพันธ์และบทประยุกต์ คำนวณการหาปริพันธ์และเทคนิคการหาปริพันธ์ แก้ปัญหาการประยุกต์ของปริพันธ์จำกัดเขต เข้าใจการหาพีชคณิตเวกเตอร์ในสามมิติ เป็นวิชาในการศึกษาวิชาแคลคูลัสชั้นสูงและวิชาด้านวิศวกรรม เป็นการส่งเสริมประสบการณ์ของผู้เรียนในด้านการฝึกสมองอันเป็นแนวทางให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  และแก้ปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเอง
ให้เข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชัน ลิมิตและความต่อเนื่อง การหาอนุพันธ์ การประยุกค์ของอนุพันธ์
การหาปริพันธ์เทคนิคการหาปริพันธ์ การประยุกต์ของปริพันธ์จำกัดเขต พีชคณิตเวกเตอร์ในสามมิติ
ศึกษาเกี่ยวกับฟังก์ชัน ลิมิตและความต่อเนื่อง การหาอนุพันธ์ การประยุกค์ของอนุพันธ์ การหาปริพันธ์
เทคนิคการหาปริพันธ์ การประยุกต์ของปริพันธ์จำกัดเขต พีชคณิตเวกเตอร์ในสามมิติ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยการติดประกาศไว้ที่บอร์ดหน้าห้องพักอาจารย์ และสอนเสริม
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
- มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมทั่วๆไป เช่นสอนให้เป็นคนไม่คิดร้ายคนอื่น ไม่อิจฉาคนอื่น ให้ช่วยเหลือตัวเองในการเรียน และปรึกษาเพื่อนที่มีความเข้าใจกว่า หรือปรึกษาครูผู้สอนในกรณีที่ไม่เข้าใจ แล้วเชื่อมโยงกับการเรียนแคลคูลัส เช่น ให้ตั้งใจทำการบ้าน ไม่ให้ลอกการบ้านเพื่อน ให้เป็นคนที่ตรงต่อเวลาทั้งการเข้าเรียน และการส่งการบ้าน  โดยมีวัตถุประสงค์ ให้เป็นคนมีคุณธรรมในจิตใจ ไม่คดโกงถึงแม้มีโอกาส ฝึกทำการบ้านเป็นกลุ่ม แล้วให้ตัวแทนกลุ่มทำหน้าห้องเรียน
พฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงาน ว่าเป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดและตกลงกันในห้องเรียนหรือไม่ เหตุผลที่เข้าเรียนไม่ทัน ส่งงานไม่ทัน สมเหตุสมผลหรือสร้างเรื่องโกหก พฤติกรรมในการทำงานกลุ่ม การอาสาออกมาทำหน้าชัดเรียน ความเรียบร้อย และความถูกต้องของงานที่ทำ
- มีความรู้และเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างการคำนวณในแต่ละวิธีในเนื้อหาที่เรียน พร้อมทั้งในสูตรในการคำนวณ ใช้โปรแกรม Maple ช่วยในการแสดงให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น และช่วยในการแก้ปัญหา
- ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบข้อเขียน
- วิเคราะห์ และแก้ปัญหาโจทย์โดยพิจารณาจากการซักถามในห้องเรียน
- ใบงานที่ได้รับมอบหมาย พร้อมการบ้าน
- มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
- มอบหมายให้ทำโจทย์ปัญหา
- เสนอแนวคิดที่ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา
ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
พัฒนาทักษะในการสร้างความสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
มอบหมายให้ทำงานเป็นกลุ่มทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน มอบหมายงานรายบุคคล แล้วให้ศึกษาด้วยตัวเอง โดยค้นหาตัวอย่างจาก อินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอ
สังเกตจากพฤติกรรมการทำงานในกลุ่มในห้องเรียน การนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย แบบประเมินตนเอง และเพื่อนประเมิน
ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารเทศในการสื่อสาร การส่งงานทางเมล์ Line Facebook google drive ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยการใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มอบหมายงานตามใบงาน และโจทย์ที่ให้ศึกษาด้วยตัวเอง จากเว็บไซต์ สื่อการสอน แนะนำ เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ แคลคูลัส พร้อมแนวการคิด
ดูจากการนำเสนอ รูปแบบการนำเสนอ สื่อที่นำเสนอ การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 FUNMA105 แคลคูลัส 1 สำหรับวิศวกร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
ทนงศักดิ์ ยาทะเล, แคลคูลัส 1 สำหรับวิศวกร, บริษัท ประสิทธิ์ดีไซด์ จำกัด, 2559 ประภาศรี อัศวกุล, แคลคูลัส 1, ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2542. Anton, Bivens and Davis, Calculus. Seventh Edition, John Wiley & Sons. 2002.  Frank Ayres, JR. Calculus. Fourth Edition, McGraw-Hill International Editions. 2000.  Frank Garvan, The Maple Book. Chapman & Hall/CRC. 2002. Haward Anton, Calculus with Analytic Geometry. Fifth Edition, John Wiley & Sons. 1995. James Stewart, Single Variable Calculus. Fourth Edition, An International Thomson Publishing Company. 1999. Michael Sullivan, Precalculus. Seventh Edition, Pearson Edication, Inc. 2005. Stein, S.K., and Barcellos, A., Calculus and Analytic Geometry, Fifth Edition. McGraw-Hill, 1992.
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
- การถาม ตอบระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
แบ่งกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายชั่วโมง
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
- การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน
- ผลการสอบ
การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของทีมผู้สอน
การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา
ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือ ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ