พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ

Fundamentals of Information Technology

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน และในองค์กรด้านต่าง ๆ รูปแบบการใช้งานสารสนเทศจากอดีตถึงปัจจุบัน เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เวิลด์ไวด์เว็บ และการพัฒนาเว็บเบื้องต้น เอชทีเอ็มแอลรุ่น 5.0 จาวาสคริปต์
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตปัจจุบันได้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน และในองค์กรด้านต่าง ๆ รูปแบบการใช้งานสารสนเทศจากอดีตถึงปัจจุบัน เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เวิลด์ไวด์เว็บ และการพัฒนาเว็บเบื้องต้น เอชทีเอ็มแอลรุ่น 5.0 จาวาสคริปต์
Study of the evolution of computer and information technology, elements of information technology, applications of computer and information technology for daily-life and corporate use, including information platform from past to present, Internet technology, World Wide We, and Web site development with HTML5 and Java Script.
    3.1 วันพุธ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์อาคาร 3  โทร  1151
    3.2  e-mail: wiraiwans@rmutl.ac.th

 
˜1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต š1.2 มีวินัยตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม ˜1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม ˜1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
1. กำหนดให้นักศึกษามีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น 2. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม 3. กำหนดกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ในห้องเรียน เพื่อที่จะได้เป็นการฝึกเรื่องของการเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ 4. ให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์หาทางแก้ปัญหา จากโจทย์ปัญหาหรือกรณีตัวอย่างที่อาจารย์สร้างขึ้น
1. ประเมินจากปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 2. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม 3. ประเมินจากการมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน 4. ประเมินจากผลงานักศึกษา
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ˜2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์รวมทั้งประยุกต์ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา
1. ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการวิเคราะห์กรณีศึกษา 2. ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
  2. การทำรายงานกลุ่มหรือเดี่ยว
 
˜3.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ˜3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
1.  ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง 2.  จัดให้นักศึกษาได้วิเคราะห์กรณีศึกษาจริง
1.  ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานของนักศึกษา 2.  ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานของนักศึกษา
˜4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ š4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบในงานกลุ่ม
1. กำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม 2. กำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม
2. ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษา 2. ประเมินจากผลงานของนักศึกษาแต่ละคนจากการรับผิดชอบงานในกลุ่ม
˜5.1  มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ˜5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
1.มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำรายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ 2. นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. การจัดทำรายงาน และการนำเสนอ
  2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา (Ethics and Moral) 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา (Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา (Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.2 มีวินัยตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม 1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์รวมทั้งประยุกต์ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา 3.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบในงานกลุ่ม 5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
1 BSCCT101 พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, การเข้าชั้นเรียน การส่งตรงเวลา ทุกสัปดาห์ 5%
2 1.5, 4.1, 4.4, 5.3 การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การแสดงความคิดเห็น ประเมินจากพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 5%
3 1.1, 2.1 การสอบกลางภาค 8 30%
4 1.2, 1.5, 1.6, 2.2, 3.2, 3.3, 4.4, 5.1, 5.3 ผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
5 1.1, 1.6, 2.1, 5.1 การสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 10%
6 1.1, 2.1 การสอบปลายภาค 17 30%
งามนิจ  อาจอินทร์. (2542). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์.  พิมพ์ครั้งที่ 4.          กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.
เสาวคนธ์ คงสุข. (2540).ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์เอม    พันธ์ จำกัด.
สุรศักดิ์  สงวนพงษ์. (2539). คู่มืออินเตอร์เน็ต : แนะนำหลักการพื้นฐานและเทคนิคสำหรับผู้ใช้งานทุกระดับ.  กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วิไรวรรณ แสนชะนะ. (2559) เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักสำคัญทางเทคโนโลยีสารสนเทศ"
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ผลการสอบ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ การสังเกตความสนใจของนักเรียน การซักถามในห้องเรียน ผลการตรวจแบบฝึกหัด การบ้านและรายงาน
มีการค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลใหม่ๆ ที่ทันสมัย เช่น จากหนังสือที่แนะนำและเอกสารอ้างอิง ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์และอื่นๆ
          ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก  การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้
-         การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ
-         มีการตั้งกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนน และการให้คะแนนพฤติกรรม
          ปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4