คอนกรีตเทคโนโลยี

Concrete Technology

เพื่อศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของปูนซีเมนต์ น้ำ มวลรวม และสารผสมเพิ่ม เพื่อให้เข้าใจการออกแบบส่วนผสมของคอนกรีต เพื่อให้เข้าใจคุณสมบัติของคอนกรีตสดและคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว เพื่อให้เข้าใจคุณสมบัติด้านกำลังของคอนกรีต เพื่อให้เข้าใจการควบคุมคุณภาพของคอนกรีต เพื่อให้เข้าใจคุณสมบัติและการใช้งานคอนกรีตพิเศษชนิดต่างๆ
มีการปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเทคโนโลยีการก่อสร้าง
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของปูนซีเมนต์ น้ำ มวลรวมผสมคอนกรีตและสารผสมเพิ่ม การออกแบบส่วนผสม คุณสมบัติของคอนกรีตสดและคอนกรีตที่เซ็ตตัวแล้ว กำลังของคอนกรีต การควบคุมคุณภาพคอนกรีต คอนกรีตพิเศษ
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทยตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตาม ลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมิน ผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบ ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
อธิบายและเน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต โดยสิ่งเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ซึ่งต้องมีการเสียสละ และการเขียนรายงานการทดลองต้องเป็นไปตามความจริง ไม่มีการแก้ไขผลการทดลอง ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อการมีวินัย ตรงต่อเวลา แบ่งกลุ่มนักศึกษาเพื่อฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ให้มีการทำงานร่วมกัน และปรึกษาหารือตามหัวข้อการทดลองที่ได้รับมอบหมาย มอบหมายให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น อธิบายจรรยาบรรณในวิชาชีพและความรับผิดชอบต่อหน้าที่
สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา และประเมินจากรายงานการทดลองของนักศึกษาว่าตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การทดลองในห้องปฏิบัติการและการส่งรายงาน สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา ประเมินจากประสิทธิภาพของงานกลุ่มที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
สอน อธิบาย ยกตัวอย่าง ตามเนื้อหาวิชา ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ อธิบายความเชื่อมโยงของเนื้อหาในวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ให้นักศึกษาเขียนรายงานการวิจัยและนำเสนอผลงานด้วยสื่อต่างๆ อธิบายและยกตัวอย่างการประยุกต์แก้ปัญหา มอบหมายงาน
สอบย่อย สอบข้อเขียน ทั้งกลางภาค และ ปลายภาค ข้อเสนอความคิดของนักศึกษา ประเมินผลงานที่มอบหมายทั้งส่วนของรายงาน และการนำเสนอผลงาน

 
มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ค้นคว้า งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งเสริมการเรียนรู้จากปัญหาโดยการให้นักศึกษาทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคอนกรีต อธิบาย แนะแนวทางการวิเคราะห์ปัญหาทางคอนกรีตพร้อมทั้งการสืบค้นข้อมูล ฝึกทักษะผ่านหัวข้องานวิจัยที่ได้รับมอบหมาย ให้นักศึกษาใช้องค์ความรู้ในการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นจริง หาแนวทางแก้ไขผ่านการทำงานวิจัย และพัฒนาให้ดีขึ้น แนะนำวิธีการสืบค้นข้อมูล แหล่งข้อมูล กระตุ้นให้นักศึกษาเกิดจิตสำนึกในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านงานวิจัยที่ได้รับมอบหมาย
นำเสนอหน้าชั้นเรียนและเขียนรายงาน สังเกตการแสดงความคิดเห็น จากรายงาน ประเมินผลงานที่มอบหมายทั้งส่วนของรายงานและการนำเสนอผลงาน
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วน รวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถวางแผนและรับผิดชอบ ในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำ และผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
แนะนำทักษะ มารยาท วิธีการในการทำงาน และยกตัวอย่างการสื่อสารกับหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม ฝึกทักษะผ่านงานวิจัยที่มอบหมาย โดยให้นักศึกษาออกค้นหาข้อมูลจากสถานประกอบการหรือหน้างานที่เกิดมีปัญหาและนักศึกษาสนใจจะนำมาเป็นหัวข้องาน มอบหมายงานรายกลุ่มโดยให้หัวหน้ากลุ่มกำหนดความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคนอย่างชัดเจนและร่วมกันแสดงความคิดเห็น จากนั้นให้สรุปเป็นมติของกลุ่ม ให้นักศึกษาวางแผนการการดำเนินงานสำหรับงานที่ได้รับมอบหมาย แนะนำและยกตัวอย่างการทำงานร่วมกับผู้อื่น ฝึกทักษะผ่านงานวิจัยที่มอบหมาย

                              7. อธิบายพื้นฐานความปลอดภัยและกระตุ้นให้นักศึกษาตระหนักถึงหน้าที่ความรับ ผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม
สังเกตและประเมินพฤติกรรมนักศึกษา ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ ผลจากการติดตามการดำเนินการ และการประเมินความรับผิดชอบจากรายงานของนักศึกษา ประเมินผลงานที่มอบหมายทั้งส่วนของรายงานการวิจัยและการนำเสนอผลงาน สังเกตและสอบถามถึงจิตสำนึกของนักศึกษา
มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์

                             5. สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
แนะนำให้นักศึกษาวิเคราะห์และนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ แนะนำการใช้สถิติในการดำเนินงาน ในส่วนของการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง ส่งเสริมการค้นคว้า และเรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างถูกต้องผ่านการเขียนรายงานและการนำเสนอผลงาน

                             4. แนะนำเครื่องมือทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องใช้สำหรับดำเนินงานด้านคอนกรีต
สังเกตและประเมินจากผลงานที่มอบหมาย ประเมินผลงานที่มอบหมายทั้งส่วนของรายงานและการนำเสนอผลงาน

                             3. สังเกตความชำนาญในการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรม
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
ให้นักศึกษาวางแผนการดำเนินงาน ทั้งด้านการบริหารเวลา การใช้เครื่องมือ มอบหมายให้นักศึกษาทำการทดลองเป็นกลุ่ม ให้นักศึกษาฝึกทักษะผ่านการทำงานเป็นกลุ่ม
พิจารณาผลการปฏิบัติการ ประเมินผลงานที่มอบหมายทั้งส่วนของรายงานการวิจัยและการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2 ด้านความรู้ 3 ด้านทักษะทางปัญญา 4 ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 33011306 คอนกรีตเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การทดสอบย่อย (Quiz) 2 ครั้ง 1-15 20%
2 มอบหมายงานและประเมินจากผลการนำเสนอ 4, 12 15%
3 การสอบกลางภาค 9 25%
4 การสอบปลายภาค 17 25%
5 สังเกตและประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม 1-15 2%
6 การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ 1-15 2%
7 การประเมินตนเองของนักศึกษา พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ 1-15 2%
8 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม โดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 4,5,15 2%
9 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน โดยนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา 15 2%
10 การประเมินด้านทักษะพิสัย 5%
1. ชัชวาลย์ เศรษฐบุตร. คอนกรีตเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร : คอนกรีตผสมเสร็จซีแพค, 2536.
2. Neville, A.M., 1995. Properties of Concrete: Fourth Edition, Longman Singapore Publishers Pte. Ltd.,Singapore.
1. American Society for Testing and Materials. Annual Book of ASTM Standard, 1991.
2. พิภพ สุนทรสมัย. ปฏิบัติการและควบคุมงานคอนกรีต. กรุงเทพมหานคร : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย - ญี่ปุ่น), 2534.
3. วินิต ช่อวิเชียร. คอนกรีตเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. สัมพันธ์พาณิชย์, 2521.
4. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย. คู่มือตรวจสอบคอนกรีต. กรุงเทพมหานคร : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, 2517.
1. อุดมวิทย์ กาญจนวรงค์. ปฏิบัติงานทดสอบคอนกรีตเทคโนโลยี. ปทุมธานี : สกายบุกส์ จำกัด, 2537.
2. ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), สมาคม. คู่มือโยธาปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร:  ห.จ.ก. สีทองกิจพิศาล, 2526
3. ปริญญา จินดาประเสริฐ และ ชัย จาตุรพิทักษ์กุล. ปูนซีเมนต์ ปอซโซลาน และคอนกรีต.  สมาคมคอนกรีตไทย (ส.ค.ท.), พิมพ์ครั้งที่ 1, 2547.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

                  2. แบบประเมินผู้สอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1. ผลการเรียนของนักศึกษา
2. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐาน