การศึกษางาน

Work Study

1.1 เข้าใจเกี่ยวกับอัตราการผลิตและการศึกษางาน
1.2 เข้าใจขั้นตอนการศึกษางาน
1.3 สามารถบันทึกข้อมูลการทำงานด้วยแผนภูมิต่าง ๆ ได้
1.4 เข้าใจระบบการออกแบบการทำงานเพื่อผลผลิต
1.5 สามารถวิเคราะห์ระบบการทำงานแล้วปรับปรุงการทำงานใหม่ได้
        2.1 เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
        2.2 เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านวิชาชีพวิศวกรรมและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
        2.3 เพื่อให้เนื้อหาของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของตลาด
        2.4 เพื่อให้เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนทันต่อสถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมและเป็นสากลในทางวิชาการมากขึ้น
        2.5 เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษางาน
        2.6 เพื่อเรียบเรียงและจัดเนื้อหาในหลักสูตรเป็นไปตามลำดับความยากง่าย
     ศึกษาเกี่ยวกับหลักการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลาในการทํางานการเพิ่มผลผลิต โดยการลดกระบวนการเคลื่อนไหวที่ไม่จําเป็นต่อการผลิต วิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภูมิต่าง ๆ ได้แก่ แผนภูมิกระบวนการผลิต แผนภาพการเคลื่อนที่ แผนภาพเส้นด้าย แผนภูมิความสัมพันธ์คนกับเครื่องจักร แผนภูมิกระบวนการผลิตหลายชนิด แผนภูมิสองมือ แผนภูมิกระบวนการผลิตแบบกลุ่มคน องค์ประกอบของเวลาที่ใช้ทํางานหนึ่งๆ ให้เสร็จ เทคนิคในการบันทึกข้อมูลเทคนิคการตั้งคําถามการปรับปรุงแก้ไข การใช้ประโยชน์สูงสุดจากคนและเครื่องจักร การเคลื่อนไหวของคน ณ จุดปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ การจับเวลาการเคลื่อนไหวอย่างละเอียด เวลามาตรฐาน การสุ่มงาน และสิ่งที่ช่วยสนับสนุนในการศึกษางาน เช่น อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ ตลอดจนการศึกษาดูงานในสถานประกอบการจริง
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Facebook
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.2 เคารพกฏระเบียบวินัยและข้อปฏิบัติต่างๆ
1.1.3 มีคุณธรรมความเป็นผู้นำและผู้ตาม
1.1.4 ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต
1.1.5 มุ่งปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรมทั้งในเรื่องส่วนตน และสังคม
นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษามีการพัฒนาจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพผ่านทางการเรียนรู้ของรายวิชาในหลักสูตร ซึ่งอาจารย์ผู้สอนสามารถสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวข้องกับจรรยาวิชาชีพ และสามารถจัดให้มีการวัดผลแบบมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรมทุกภาคการศึกษาด้วยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรมและมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนจิตพิสัยในชั้นเรียน
     1.2.1 ให้ความสำคัญของการตรงต่อเวลา มีการเช็คชื่อเข้าเรียนและให้คะแนนในส่วนของนักศึกษาที่ตรงต่อเวลา
       1.2.2 การตักเตือนนักศึกษาในการเคารพกฎระเบียบด้านการแต่งกายและความประพฤติ
       1.2.3 แจ้งวิธีประเมินผลการเรียน กฎระเบียบและข้อบังคับในการใช้ห้องปฏิบัติการที่ถูกต้องและปลอดภัย
             1.2.4 สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม
             1.2.5 ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
             1.2.6 ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดี และเสียสละ
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด   ระยะเวลาที่มอบหมาย
1.3.2 ประเมินผลจากการเข้าชั้นเรียนทุกครั้ง
1.3.3 ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย เช่น การค้นคว้าทฤษฎี การจัดนิทรรศการ และการนำเสนอ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5 ประเมินจากการกระทำทุจริตในการสอบ
     2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีพื้นฐานด้านการศึกษางานและสามารถนำไปวางแผนแก้ปัญหาได้
      2.1.2 มีความรู้ และความเข้าใจครอบคลุมทฤษฎีและหลักการที่สำคัญของการศึกษางานได้
      2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
       2.2.1 บรรยายหลักการและทฤษฎีเชิงข้อมูลพร้อมกับอภิปราย
       2.2.2 มอบหมายงานให้ค้นคว้าในแต่ละครั้งของการสอน
       2.2.3 สรุปเนื้อหาบทเรียน
       2.2.4 มีแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
       2.2.5 มีคลิปวิดีโอประกอบการเรียนการสอน
       2.2.6 ประยุกต์ใช้ความรู้ในทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
      2.2.7 มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานจากสถานประกอบการ
      2.2.8 เชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของรายวิชา
2.3.1 การตอบข้อซักถาม และแสดงความคิดเห็น
2.3.2 ประเมินผลจากการเข้าห้องเรียน
2.3.3 ประเมินผลจากการให้ค้นคว้า และโครงงานที่นำเสนอ
2.3.4 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
2.3.5 พิจารณาจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
    นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะปัญญาความรู้กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแกปัญหาด้วยตนเองโดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฏี นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังนี้
      3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ และวิชาชีพ
      3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
3.2.2 บรรยายประกอบการซักถาม
3.2.3 กำหนดมอบหมายทำรายงานกลุ่มเพื่อให้มีการสืบค้นข้อมูล
3.3.1 ผลงานจากใบมอบหมายงาน ประเมินจากการวางแผนการทำงาน ผลงานได้จากการทำงาน
3.3.2 ประเมินผลงานจากการมอบหมายรายงานรายกลุ่ม
      4.1.1 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
      4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
      4.1.3 มีแสดงเจตคติที่ดีต่อผู้อื่นและการเรียน
      4.1.4 รู้จักแสดงความมีส่วนร่วมและมีน้ำใจ มีความสามัคคี ให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมงานในการทำงานกิจกรรมกลุ่ม
4.2.1 ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมโดยมอบหมายงานรายกลุ่ม
4.2.2 การนำเสนอผลงานรายงานกลุ่ม
4.3.1 ประเมินผลของการศึกษาจากการให้ค้นคว้าเพิ่มเติม โดยพิจารณาจากกระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการนำเสนอผลงานกลุ่ม
4.3.2 สังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันของนักศึกษา
4.3.3 สังเกตการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
5.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูลและค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้
5.1.2 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.3 สามารถใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์ หรือสถิติที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์และแปลความหมาย รวมทั้งเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
    5.2.1  นำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
    5.2.2 อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
    5.2.3 การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.1 ผลจากกระประเมินการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.3.2 ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการอภิปรายกลุ่มโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
    การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้น ไม่ได้ใช้แค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังจำเป็นในการพัฒนาตนเอง ดังนั้น การเรียนการสอนจึงให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมศาสตร์ ดังนี้
                 6.1.1 สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องมีคุณภาพ
                 6.1.2 มีทักษะในการบริหารจัดการด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                  6.1.3 มีทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
                  6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
                  6.2.2 สาธิตการปฏิบัติงานโดยผู้เชี่ยวชาญ
                  6.2.3 สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะทางด้านปฏิบัติ
                  6.2.4 สนับสนุนการทำโครงงาน
                  6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
                 6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติงานและงานที่ได้รับมอบหมาย
                  6.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแสดงออกด้านเจตคติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGIE111 การศึกษางาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็น ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 งานกิจกรรมในชั้นเรียน - ส่งงานตามใบปฏิบัติงาน ตลอดภาคการศึกษา 15%
3 งานกิจกรรมในชั้นเรียน - การนำเสนองานกลุ่ม 16 15%
4 สอบกลางภาค 8 30%
5 สอบปลายภาค 17 30%
            อิศรา ธีระวัฒน์สกุล.การศึกษาความเคลื่อนไหวและเวลา.ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551
รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. การศึกษางานอุตสาหกรรม. สำนักพิมพ์ท้อป. กรุงเทพมหานคร, 2550
วัชรินทร์ สิทธิเจริญ. การศึกษางาน. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพมหานคร, 2547
งานวิจัยที่เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคนิคการศึกษางานและการศึกษาเวลา
- ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ โดยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายรายวิชาวัตถุประสงค์เนื้อหารายวิชาการประเมินผลการเรียน
- ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวลผล/คิด วิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
- ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการเรียนการสอน การพัฒนารายวิชา
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- ประเมินผลโดยคณะวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินตาม PM-14
- อาจารย์ผู้สอนประเมินผลการสอนของตนเอง โดยดูจากพฤติกรรมการเรียนและผลการสอบของนักศึกษา
-สัมนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
- การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
- จัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา
- ปรับปรุงรายละเอียดของเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยทุก ๆ 3 ปี
    ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
        จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ