สัมมนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

Seminar in Food Science and Technology

1.1 เพื่อให้นักศึกษารู้วิธีการค้นคว้า สืบค้นข้อมูลที่เป็นบทความหรือเอกสารเชิงวิชาการในเรื่องความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
1.2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการตีความเอกสารเชิงวิชาการ วิเคราะห์ เรียบเรียงข้อมูล และนำมา เขียนรายงาน
1.3 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการนำเสนอในที่ประชุมเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
1.4 เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์และเข้าใจปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
เพื่อพัฒนาปรับปรุงเทคนิควิธีการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ และติดตามความก้าวหน้าด้านงานวิจัยในวงการอุตสาหกรรมอาหารที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้า  สืบค้นข้อมูลลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นบทความหรือเอกสารเชิงวิชาการในปัจจุบัน และปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นำมาตีความ วิเคราะห์  วิจารณ์ เรียบเรียงข้อมูล เขียนรายงานและเสนอเรื่องในที่ประชุมเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
The ability of researching the current articles or academic papers; interpret analyze and compiled data of research academic papers and the problem in food science and technology aspect; report writing and making effective technical presentation in the meeting or seminar class for discussion.
2
  1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
   1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
  1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
   1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
   1.5  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. อธิบายข้อปฏิบัติในวิชาเรียนสัมมนา เช่น หัวข้อสัมมนา การค้นคว้า การส่งหัวข้อ การเขียน เข้าชั้นเรียนตลอดจนการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
 2. อธิบายข้อควรปฏิบัติในการฟังและการถามในการสัมมนา
3. อธิบายจรรยาบรรณในการนำผลงานผู้อื่นมาใช้ และยกตัวอย่างกรณีศึกษา
1. ประเมินจากการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในวิชาเรียน เช่น การส่งหัวข้อสัมมนาและการส่งรายงานตามกำหนดเวลา การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ
2. ประเมินจากคำถามที่สอดคล้องกับประเด็นปัญหาและการตอบที่สอดคล้องกับปัญหา ด้วยความเคารพสิทธิและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3. มีอ้างอิงผลงานของคนอื่นเมื่อใช้ในการสัมมนาหรือเขียนรายงาน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา    
   2.2  ความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
  2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 
1. มอบหมายให้ค้นคว้าหัวข้อปัญหาที่เกี่ยวข้อง
2. สังเกตความสนใจและซักถามปัญหาที่เชื่อมโยงและต่อเนื่องความรู้ในสาขาวิชา
1. คัดสรรหัวข้อสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าในงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารที่เหมาะสม
2. ประเมินจากการตอบคำถามที่เข้าใจถูกต้อง และมีการเชื่อมโยงความรู้ในสาขาวิชา
3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศแนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลที่ได้ในการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
   3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์  
   3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ  เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
   3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
1. มอบหมายให้ค้นคว้าหาหัวข้อปัญหา ข้อเท็จจริง และแนวคิดที่เกี่ยวข้องจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
2. กระตุ้นด้วยการตอบคำถามและซักถามในชั้นเรียน
1. สามารถรวบรวมและสรุปประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องได้จากการตอบคำถาม
2. ประเมินการตอบปัญหาที่ตรงประเด็นและมีความเข้าใจ
4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม
   4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
  4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. มอบหมายงาน กำหนดส่งหัวข้อ กำหนดส่งบทคัดย่อ กำหนดการนำเสนองาน และกำหนดการส่งรายงานสัมมนา
2. เช็คการเข้าชั้นเรียน สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1. ส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด และมีคุณภาพของงานเป็นไปตามที่กำหนด
2. ตรวจสอบการความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา การแต่งกายที่เหมาะสม และพฤติกรรมที่เหมาะสมในชั้นเรียน
5.  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical  Analysis, Communication  and Information Technology Skills)
   5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
  5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
  5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอ  เพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
  5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการกับข้อมูลต่างๆ อย่างเหมาะสม
   5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรม และสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  5.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
1. มอบหมายงานในการสืบค้นหัวข้อทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร แนะนำแหล่งสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและวารสารที่เกี่ยวข้องจากแหล่งที่เชื่อถือได้
2. นำเสนอข้อมูลในชั้นเรียนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม
1. พิจารณาเลือกหัวข้อในการนำเสนอได้รับการตีพิมพ์ระดับชาติและนานาชาติ จากแหล่งที่เชื่อถือได้
2. ประเมินจากการนำเสนอความต่อเนื่องของเนื้อหา การใช้ภาษาที่เหมาะสม การแปลผล การสรุปประเด็นปัญหา ด้วยสื่อที่เหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7
1 BSCFT103 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.1, 3.2, 3.3, 4.1, 4.3, 4.4, 5.2, 5.3, 5.4, 5.5, 5.6, 5.7 1. การทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น การส่งหัวข้อสัมมนา การส่งบทคัดย่อ การส่งรายงานตามกำหนดเวลา ตลอดภาคการศึกษา 20 %
2 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.1, 3.2, 3.3, 4.1, 4.3, 4.4, 5.2, 5.3, 5.4, 5.5, 5.6, 5.7 2. การนำเสนอในชั้นเรียน ความต่อเนื่องและเชื่อมโยงของ เนื้อหาที่นำเสนอ ความเข้าใจในการซักถามและการตอบคำถามในระหว่างสัมมนา การวิเคราะห์และแก้ไขประเด็นปัญหา ตลอดจนการใช้สื่อที่เหมาะสม ตลอดภาคการศึกษา 40 %
3 4.1, 4.4 1. การเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา ความรับผิดชอบตลอดการดำเนินงาน 2. ทักษะการอ่านและการแปลงาน paper 3. รายงานสัมมนาฉบับสมบูรณ์ ตลอดภาคการศึกษา 30 %
4 1.3, 4.2 จิตพิสัยในชั้นเรียนประเมินจากการเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ แต่งกายที่เหมาะสม และพฤติกรรมทั่วไปที่เหมาะสม ตลอดภาคการศึกษา 10 %
ณัฐพงศ์ เกศมาริษ.  2545.  เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ.  เอ็กซเปอร์เน็ท.  กรุงเทพฯ.
บัณฑิตวิทยาลัย.  2553.  คู่มือวิทยานิพนธ์สายวิทยาศาสตร์.  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สมจิตร เกิดปรางค์.  2545.  การสัมมนา.  โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.  กรุงเทพฯ.
วารสารภาษาอังกฤษ เช่น Journal of Food Science, Food Technology, Journal of Food Engineering, Food Chemistry, Food Science and Technology, Meat Science
เอกสารงานวิจัยเต็มจากฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น http://tdc.thailis.or.th/tdc/, www.sciencedirect.com, www.springerlink.com, www.google.com หรือเวปไซด์ของ สกอ. เป็นต้น
ภัทรา  นิคมานนท์.  2542.  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. อักษรพิพัฒน์, กรุงเทพฯ.
วารสารภาษาอังกฤษ เช่น Journal of Food Science, Food Technology, Journal of Food Engineering, Food Chemistry, Food Science and Technology, Meat Science
เอกสารงานวิจัยเต็มจากฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น http://tdc.thailis.or.th/tdc/, www.sciencedirect.com, www.springerlink.com เป็นต้น
Study and learning centre. 2015. Reading Academic Articles. RMIT University, Australia.[Online]. Available from URL: https://emedia.rmit.edu.au/learninglab/sites/default/files/Reading_academic_articles_accessible_2015.pdf. Retrieved on March 3, 2017.
- www.scopus.com/
- www.sciencedirect.com
- https://scholar.google.co.th/
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาเมื่อหมดภาคการศึกษา
1.2 ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.1 สาขาวิชาแต่งตั้งกรรมการประเมินการสอนในแต่ละรายวิชา โดยให้หัวหน้าสาขาวิชน ในฐานะประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และอาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อย 1 ท่าน เป็นผู้ทำหน้าที่ในการประเมินการสอน โดยการสุ่มรายวิชาอย่างน้อย 3 รายวิชา ที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 ปรับปรุงหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการของประเทศที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารและ ธุรกิจด้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงของโลก โดยพัฒนาหลักสูตรทุก 5 ปี
3.2 ปรับปรุงการสอนโดยเพิ่มเติมข้อมูลทางวิชาจากที่เป็นปัจจุบัน ทันสมัย  และบูรณาการข้อมูลหรือความรู้ที่ได้จากงานวิจัย ข้อมูลจากการฝึกอบรมต่าง ร่วมกับข้อมูลที่นักศึกษาประเมิน ข้อมูลจาก มคอ.5 จากปีการศึกษาที่ผ่านมา และคำแนะนำจากอาจารย์ผู้ที่มีประสบการณ์การสอนรายวิชาจุลชีววิทยาอาหาร รวมถึงวิธีการสอน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นแก่นักศึกษา
 3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
๓.๔ การบรรยายความรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จากวิทยากรภายนอกตามโอกาส
3.5 การศึกษาดูงานนอกสถานตามโอกาส
ระหว่างการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ด้วยการทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาอย่างน้อย 3 คน ในรายวิชาดังกล่าว โดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาดังกล่าว
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4.1 และข้อมูลจาก มคอ.5
5.2 สับเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน หรือจัดหาอาจารย์ผู้สอนท่านอื่นที่มีความเชี่ยวชาญเพิ่มเติมเพื่อร่วมสอนในรายวิชาดังกล่าว โดยหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการจะนำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชา เพื่อพิจารณาต่อไป