การบัญชีชั้นสูง 2

Advanced Accounting 2

เพื่อศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ การบัญชีสำหรับบริษัทร่วม บริษัทใหญ่ บริษัทย่อยและกิจการร่วมค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การทำงบการเงินรวม งบกระแสเงินสดรวม การบัญชีเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหาและกิจการที่มีปัญหายุ่งยากทางการเงิน และการบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร รวมถึงความรับผิดชอบตามมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละด้านดังนี้ (ตาม Domain of Leaning)
เพื่อให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรและเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
 
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ การบัญชีสำหรับบริษัทร่วม บริษัทใหญ่ บริษัทย่อยและกิจการร่วมค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การทำงบการเงินรวม งบกระแสเงินสดรวม การบัญชีเกี่ยวกับการปรับโครงสร่างหนี้ที่มีปัญหาและกิจการที่มีปัญหายุ่งยากทางการเงิน และการบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร
3. จำนวนชั่วโมงที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการโดยกำหนดเวลาไว้วันละ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 15.30-16.30 น.
ด้านคุณธรรมจริยธรรม
คุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา
ข้อ 1 (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
วิธีการสอน

เน้นความสำคัญของการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน ให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อตกลงของรายวิชา

 
วิธีการประเมินผล

สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด
ด้านความรู้
ความรู้ที่ต้องได้รับ
ข้อ 2 (1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
ข้อ 2 (2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ข้อ 2 (3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์



 
วิธีการสอน

เน้นหลักการทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้เป็นไปตามเนื้อหาสาระของคำอธิบายรายวิชา ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลโดยการทำงานเป็นกลุ่ม

 
วิธีการประเมิน

ประเมินจากการทดสอบกลางภาคและปลายภาค ประเมินจากงานที่มอบหมาย
ด้านทักษะทางปัญญา
ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
ข้อ 3 (2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
วิธีการสอน

ให้นักศึกษาเรียนรู้จากข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน ให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอและเสนอแนะข้อคิดเห็นในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์

 
วิธีการประเมินผล

ประเมินจากการนำเสนอข้อมูลของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน ประเมินจากการซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
ข้อ 4 (1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการสอน

กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำเสนอ

 
วิธีการประเมินผล

ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
ข้อ 5 (1) มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง



 
วิธีการสอน

มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณ มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
วิธีการประเมินผล

ประเมินจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ

ประเมินจากผลงานที่ได้สืบค้นทางอินเตอร์เน็ต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2. การประเมินผล กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ วิธีการประเมินผล สัปดาห์ ที่ประเมิน สัดส่วนของ การประเมินผล 1 ข้อ 1 (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) ข้อ 3 (2) ข้อ 4 (1) ข้อ 5 (1) - ทำแบบทดสอบกลางภาคบทที่ 1 – 4 - ทำแบบทดสอบปลายภาคบทที่ 5 – 10 9 17 40 คะแนน 40 คะแนน 2 ข้อ 1 (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) ข้อ 3 (2) ข้อ 4 (1) ข้อ 5 (1) - ประเมินจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน - ประเมินจากการส่งแบบฝึกหัด - ประเมินจากงานกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 20 คะแนน หมายเหตุ: 1) ประเมินผลการเรียนรู้ตามแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ใน มคอ.2 (Domain of Learning) 2) ประเมินในภาพรวมของ Domain of Leaning 3. เกณฑ์การประเมิน 1) นักศึกษาจะต้องเข้าเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนตลอดภาคเรียน 2) รายวิชานี้ใช้การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ โดยพิจารณาจากคะแนนรวม ดังนี้ คะแนนรวม เกรด / ผลการศึกษา ตั้งแต่ 80 คะแนน ขึ้นไป A (ดีเยี่ยม) 75 – 79 คะแนน B+ (ดีมาก) 70 – 74 คะแนน B (ดี) 65 – 69 คะแนน C+ (ดีพอใช้) 60 – 64 คะแนน C (พอใช้) 55 – 59 คะแนน D+ (อ่อน) 50 – 54 คะแนน D (อ่อนมาก) ต่ำกว่า 50 คะแนน F (ตก)
หนังสือ/ตำรา/เอกสารประกอบการสอนหลัก

ตำราเรียน การบัญชีชั้นสูง 2 โดย อาจารย์อัจฉราภรณ์ พูลยิ่ง
กุสุมา ดำพิทักษ์. การบัญชีชั้นสูง 2. กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์. 2553.
ดุษฎี สงวนชาติ และ วรศักดิ์ ทุมนานนท์. การบัญชีชั้นสูง 1. พิมพ์ครั้งที่ 5 : กรุงเทพมหานคร. บริษัท
ส เจริญการพิมพ์ จำกัด. 2552.
ธารินี พงศ์สุพัฒน์. การบัญชีชั้นสูง 2 . กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2546.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. มาตรฐานทางวิชาชีพบัญชี.แหล่งที่มา http://www.fap. or.th/index.php
สุรชัย เอมอักษร. การบัญชีชั้นสูง 1. พิมพ์ครั้งที่ 4 : กรุงเทพมหานคร.บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด. 2555.
สุรชัย เอมอักษร. การบัญชีชั้นสูง 2. พิมพ์ครั้งที่ 2 : กรุงเทพมหานคร.บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด. 2555.
อัจฉราภรณ์ พูลยิ่ง. การบัญชีชั้นสูง 2. น่าน. ต้นฉบับการพิมพ์. 2559.

บทความวิชาการ/งานวิจัย