การส่งเสริมการส่งออก

Export Promotion

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของการส่งเสริมการส่งออกในรูปแบบและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการส่งออกภายในประเทศและต่างประเทศ  สามารถนำความรู้ทีี่ได้จากรูปแบบและกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกไปประยุกต์ใช้ได้ในทางธุรกิจ
เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในบทบาทและความสำคัญของการส่งเสริมการส่งออก
เพื่อให้สามาถนำความรุ้ที่ได้เรียนรู้กิจกรรมการส่งเสริมการส่งออกไปใช้ได้ในทางธุรกิจ
เพื่อให้สามารถบูรณาการรูปแบบและกิจกรรมการส่งเสริมการส่งออกไปใช้ได้ในทางธุรกิจ
 
ศึกษาบทบาทของการส่งเสริมการส่งออก  รูปแบบและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการส่งออกภายในประเทศและต่างประเทศ  การบริหารจัดงานแสดงสินค้า  การฝึกอบรม  การส่งออก  การจัดทีมการค้า  บทบาทของตัวแทนการค้า  การบริการข้อมูลทางการค้ากรณีความร่วมมือในการส่งเสริมการส่งออก  องค์กรเพื่อการส่งเสริมการส่งออกต่าง ๆ
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  สอนเสริมเป็นรายบุคคล/กลุ่ม(เฉพาะราย/กลุ่มที่ต้องการเพิ่มเติม)
สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม  จริยธรรม  และวิชาชีพโดยใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม  ความรู้สึกของผู้อื่น  ค่านิยมพื้นฐาน  และจรรยาบรรณวิชาชีพ  แสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม  อาทิ  มีวินัย  มีึความรับผิดชอบ  ซื่อสัตย์สุจริต  เสียสละ  เป็นแบบอย่างที่ดี  เข้าใจผู้อื่น  และเข้าใจโลก  เป็นต้น
สอดแทรกหลักจรรณยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
จัดกิจกรรมรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรม
ปลูกฝั่งให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา  การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
กำหนดงานเป็นกลุ่มเน้นการสอนเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม  เน้นความมีส่วนร่วม  และแสดงความคิดเห็น
เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา  กรุณา  ความเสียสละและการทำประโยชน์ให้กับชุมชน
สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
 
การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรม
การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา  ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม  และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มึความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี นิติศาสตร์  วิทยาศาสตร์ มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญด้านการตลาด  การเงิน  การผลิตและการดำเนินงาน  รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญในด้านการวางแผนการปฏิบัติการ  การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ  รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา  และเน้ื้อหาสาระของรายวิชานั้น
จัดให้มีการเรียนรู้จากสุถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน  โครงงานและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
การบรรยายในใช้เรียน และการถาม-ตอบ
การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาคเรียน
ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
ประเมินผลงานที่มอบหมายให้นักศึกษา
ประเมินจาการนำเสนอผลงาน
ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน  เช่น  การบ้าน  งานที่มอบหมาย  รายงาน  การทดสอบย่อย  การนำเสนอรายงาน  การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต่อยอดกรอบความรู้เดิม  สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม  กิจกรรม  หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ ๆ 
สามารถสืบค้น  จำแนก  และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา  และตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
สามารถคิดค้นหาทางเลือกใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน  โดยการนำความรู้ปละประสบการณ์มาประยุกต์ใช้
มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่่สอดคล้องกับสถานการณ์
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
กรณีศึกษาทางการจัดการโครงงาน  งานวิจัย  และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม
การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
การมอบหมายงาน  การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
การสอนเเบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียนและมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน  รายงานการวิจัย  อภิปรายกรณีศึกษา
ประเมินจากรายงานผลการศึกษาค้นคว้าโครงงาน  โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
ประเมินจากกรณีศึกษา
ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
กำหนดการทำงานเป็นกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ  การเป็นสมาชิกกลุ่ม  และผลักดันเป็นผู้รายงาน
ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นแบบระดมสมองเพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้่อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
จัดให้นักศึกษาทำกิจกรรมกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
มอบหมายให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง
มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร  การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดเห็นและร่วมกันทำงานให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดขอบและการให้ความร่วมมือ
การทดสอบย่อย  กลางภาค  ปลายภาค
พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
พฤติกรรมและผลการประเมินการให้บริการวิชาการของนักศึกษา
การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
พฤติกรรมดภาวะการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนและจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
 
 
สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์  สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารการค้นคว้าข้อมูล  และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง  และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล  และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
พฤติกรรม  การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน  และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร  ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยสารสนเทศ
ประเมินจากการสรุป  และอภิปรายงาน/กิจกรรม  ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข  ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
 
สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้ยอ่างเหมาะสม
สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนงานของธุรกิจ  นำมาใช้แก้ปัญหาค้นคว้างานวิจัย  ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ  แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  ตีความ  อย่างมีเหตุผล
สามารถปฏิบัิงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
จัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง  และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
จัดกิจกรรมรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ  บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรม
จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ  ด้านการวางแผน  การจัดโครงสร้างองค์การ  การปฏิบัติงาน  การควบคุมผลการดำเนินงาน  รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสุถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน
จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการการบริการวิชาการแก่สังคม  ร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง
จัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร  ในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษาจากการจำลอง  หรือสถานการณ์จริง  และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
พฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรม
พฤติกรรมที่แสดงออกจากการเข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ  การเรียนการสอนกับการทำงาน
การนำเสนอผลงาน  หรือโครงงาน  โดยการเลือกใช้ภาษา  การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์  แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 5.1.1 การทดสอบ -การสอบกลางภาค -การสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 8 สัปดาห์ที่ 17 25% 25%
2 2.1.2 3.1.1 4.1.1 4.1.2 5.1.3 6.1.1 วิเคราะห์กรณีศึกษา รายงาน และการนำเสนอ -งานที่มอบหมาย/รายงานกลุ่ม -แบบฝึกหัด/กรณีศึกษา -การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20% 10๔ 10%
3 1.1.1 1.1.2 การเข้าชั้นเรียน -การเข้าชั้นเรียน/การมีส่วนร่วม/การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
หนังสือหลักกาารนำเข้าและส่งออก  ดร.คำนาย  อภิปรัญญาอภิกุล  2558  สำนักพิมพ์คำนาย
หนังสือการจัดการนำเข้าและส่งออก  ชัยชนะ  ตีรสุกิตติมา  2558  สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์  มหาวิทยาลัย
 
คู่มือการทำธุรกิจส่งออก  ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย
คู่มือประกอบธุรกิจการส่งออก  กระทรวงพาณิชย์
เว็บไซด์ต่าง ๆ
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้  ที่จัดทำโดยนักศึกษา  ได้จัดกิจกรรรมในการนำแนวคิดและความคิดเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา  หรือ
1.2  การประเมินการสอนโดยนักศึกษา(ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ
1.3  การเขียนสะท้อนความคิดเห็น  ขัอเสนอแนะจากนักศึกษา  หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  การประเมินตนเองหลังการสอน  และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน  หรือ
2.2  การประเมินตนเองหลังการสอน  จากผลการเรียนของนักศึกษา  พิจารณาจากคะแนนสอบ  รายงานหรือโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
2.3  การสังเกตุการณ์ตามกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดโดยผู้ร่วมสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน  โดยการจัดกิจกรรมเป็นการระดมสมอง  และหาข้อมูลเพ่ิมเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1  การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.2  พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอน  โดยการอบรมสัมมนา
3.3  การทำวิจัยในชั้นเรียน
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา  โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ  กรรมการบริหารหลักสูตร  และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา  เป็นผู้ดำเนินการ  ดังนี้
4.1  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา
4.2  การประเมินการสอน  โดยนักศึกษา(ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3  การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมินตาม มคอ.3/มคอ.5  โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4  การประเมินข้อสอบ  การปฏิบัติงานและรายงานโครงการ  การให้คะแนนที่มาของเกรดโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน  และการทวนสอบผลสำฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพืื่่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  รายงานผลการทวนสอบฯส่งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
5.2  นำผลการทวนสอบฯใปรายงานใน มคอ.5  และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3  ในครั้งต่อไปโดยอาจารย์ผู้สอน
5.3  นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร  โดยหัวหน้าหลักสูตร