การจัดการการค้าปลีก

Retailing Management

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการการค้าปลีก  ส่วนประสมการค้าปลีกต่าง ๆ เช่น  ทำเลที่ตั้ง  การจัดรูปแบบขององค์กร  เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาใช้ในธุรกิจการค้าปลีก  กลยุทธ์การค้าปลีกสมัยใหม่และการบริหารจัดการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ รวมทั้งเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค   สามารถประยุกต์ใช้หลักการบริหารจัดการธุรกิจค้าปลีกในธุรกิจค้าปลีกได้  
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการการค้าปลีก  กลุยุทธ์ที่ใช้ในการค้าปลีกเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในสถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน  สามารถประยุกต์ใช้และบูรณาการส่วนประสบการค้าปลีกเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพกับร้านค้าปลีก  สามารถศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการธุรกิจค้าปลีก  สามารถคิดวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจค้าปลีกเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถทางการแข่งขัน  และสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ
ศึกษาความหมาย  วัตถุประสงค์  ความสำคัญของการจัดการการค้าปลีก  ปัจจัยประเภทต่าง ๆ และหลักเกณฑ์ในการค้าปลีก  การบริหารการค้าปลีก  ทำเลที่ตั้ง  การจัดรูปองค์กร  การดำเนินงาน  การส่งเสริมการขาย  การกำหนดราคาและเทคนิคการขาย  พร้อมทั้งเทคโนโลยีทีี่่มีความทันสมัยและเหมาะสมกับการค้าปลีก
3  ชั่วโมงต่อสัปดาห์  สอนเสริมเป็นรายบุคคล/กลุ่ม ตามที่ต้องการเพิ่มเติม
1.มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม  คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนักสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ  ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2.มีความพอเพียงมีวินัย  ขยัน  อดทน  เพียรพยายาม  ตรงต่อเวลา  รับผิดชอบต่อตนเอง  วิชาชีพ  สังคมส่วนรวม  และส่ิ่งแวดล้อม  มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม  และสิ่งแวดล้อม
1.สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
2.ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา  การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย  ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา  ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2.การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย  และการเข้าร่วมกิจกรรม
1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ  ทฤษฏี  และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม  และพัฒนาความรู้  ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2.มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  ประยุกต์ใช้ความรู้ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา  เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา  รวมทั้งประยุกต์ความรู้  ทักษะ  และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
1.จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
2.จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1.การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค  เช่น  การบ้าน  งานที่มอบหมาย  รายงานการทดสอบย่อย  การนำเสนอรายงาน  การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
1.สามารถคิดค้นทางเลือก  วิเคราะห็ทางเลือกและผลกระทบ  จากทางเลือกอย่างรอบด้าน  มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์  ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
2.สามารถสืบค้น  ตีความ  วิเคราะห์ข้อมูล  และประเมินสารสนเทศ  จากหลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์  ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ  และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
1.การศึกษาค้นคว้า  และรายงานทางเอกสาร  และรายงานหน้าชั้นเรียน
2.การมอบหมายงาน  การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา  หรือสถานการณ์จำลอง
1.ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้าโครงงาน  โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
2.ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
1.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม  สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ  ยอมรับฟัง  และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น  รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม  และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ
1.มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร  การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
2.มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงานให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1.พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
2.สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน  และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
1.สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์  สถิติ  การวิเคราะห์เชิงปริมาณ  มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ  และชีวิตประจำวััน
2.สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
2.มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
1.การทดสอบย่อย  กลางภาคและปลายภาค
2.พฤติกรรมการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน  และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสารของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
1.สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
1.จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ  ด้านการวางแผน  การจัดโครงสร้างองค์กร  การปฏิบัติการ  การควบคุมและการผลการดำเนินงาน  รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
1.การนำเสนอผลงาน  หรือโครงงานโดยการเลือกใช้ภาษา  การสื่อสารในบริบทต่างๆ เพื่อคิดวิเคราะห์  แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 5.1.1 การทดสอบ -การสอบกลางภาค -การสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 8 สัปดาห์ที่ 17 25% 25%
2 2.1.2 3.1.1 4.1.1 4.1.2 5.1.3 6.1.1 วิเคราะห์กรณีศึกษา รายงาน และการนำเสนอ -งานที่มอบหมาย/รายงานกลุ่ม -แบบฝึกหัด/กรณีศึกษา -การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20% 10% 10%
3 1.1.1 1.1.2 การเข้าชั้นเรียน -การเข้าชั้นเรียน/การมีส่วนร่วม/การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
การบริหารธุรกิจการค้าปลีกสมัยใหม่  ฐายิกา  กสิวิทย์อำนวย  สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น
พฤติกรรมผู้บริโภคกับธุรกิจค้าปลีก  เหมือนจิต  จิตสุนทรชัยกุล  สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น
นิตยสารทางธุรกิจ
หนังสือพิมพ์ทางธุรกิจ
หนังสือเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจการค้าปลีก
เว็บไซด์ต่าง ๆ
เอกสารของสถานประกอบการการค้าปลีกต่าง ๆ  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรรมในการนำแนวคิดและความคิดเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ 1.2 การประเมินการสอนโดยนักศึกษา(ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ 1.3 การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ขัอเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ 2.2 การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงงานที่ได้รับมอบหมาย 2.3 การสังเกตุการณ์ตามกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดโดยผู้ร่วมสอนแก้ไข
 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมเป็นการระดมสมอง และหาข้อมูลเพ่ิมเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 3.2 พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอน โดยการอบรมสัมมนา 3.3 การทำวิจัยในชั้นเรียน
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้ 4.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา 4.2 การประเมินการสอน โดยนักศึกษา(ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย) 4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมินตาม มคอ.3/มคอ.5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ 4.4 การประเมินข้อสอบ การปฏิบัติงานและรายงานโครงการ การให้คะแนนที่มาของเกรดโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสำฤทธิ์รายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพืื่่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 รายงานผลการทวนสอบฯส่งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา 5.2 นำผลการทวนสอบฯใปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไปโดยอาจารย์ผู้สอน 5.3 นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร