การฝึกเบื้องต้นทางวิศวกรรม

Fundamental of Engineering Training

1.1 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานตามหลักการพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เบื้องต้นได้
1.2 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานในการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือกลพื้นฐานได้
1.3 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานในการเชื่อมพื้นฐานได้
1.4 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานและสามารถใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องปลอดภัยตามทฤษฎีของวิศวกรรมความปลอดภัยได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านงานวิศวกรรม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านความรู้ ความเข้าใจ  ในงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นเนื้อหารายวิชาให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการด้านธุรกิจภาคอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในประเทศไทย
ศึกษาและปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัด เครื่องมือกลพื้นฐาน การพับ การม้วนโลหะแผ่น การเชื่อมประสานเหล็ก แสตนเลส  อลูมิเนียม การตัดเฉือนโลหะ การเจาะ และการกลึงโลหะ
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1  มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
1.1.2  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับ ความสำคัญ
1.1.3  เคารพในระเบียบและกฎเกณฑ์ขององค์กรและสังคม
1.1.4  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1.1  กำหนดนโยบายการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียน การส่งงานและการนำเสนองานรวมถึง มอบหมายงาน กำหนด ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
1.1.2 สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมในการเรียน
1.1.3  ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการนำเสนองาน ซักถาม ให้ความเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้งานมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
1.1.4 สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม
มีการให้ความรู้ถึงผลกระทบต่อสังคม และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1  ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลา
1.3.2  ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่น การตั้งคำถาม การตอบคำถาม การนำเสนอ การแสดงความคิดเห็น การให้ข้อเสนอแนะ การรับฟัง และการปรับปรุงแก้ไขผลงาน
1.3.3  สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
1.3.4  ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างถูกต้อง
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์   ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมอุตสาหการ
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น การใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือทั่วไป เป็นต้น
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1  ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.2  ให้นักศึกษาปฏิบัติการทางด้านการใช้เครื่องมือทางด้านวิศวกรรมพื้นฐาน โดยการนำหลักทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีได้
2.2.3 การวิเคราะห์ศึกษาแบบชิ้นงานตัวอย่าง โดยการมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้า การนำมาสรุปและนำเสนอด้วยการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2.3.1  ประเมินจากแบบทดสอบด้านทฤษฎี สำหรับการปฏิบัติประเมินจากผลงานและการปฏิบัติการในรายวิชา
2.3.2  ประเมินจากผลการปฏิบัติงานวิศวกรรมพื้นฐานโดยการนำหลักทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้
2.3.3  พิจารณาจากรายงานที่มอบหมาย
3.2.1 มีการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์  
3.1.2 มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในงานจริงได้
3.1.2 สามารถแก้ปัญหาทางด้านพื้นฐานงานวิศวกรรมได้โดยนำหลักการต่างๆมาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม
3.1.4 มีความใฝ่หาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ
3.2.1  มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ในการนำเทคนิควิธีการปฏิบัติงานพื้นฐานทางอุตสาหกรรมมาประยุกต์ใช้
3.2.2  ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหาเน้นการนำมาใช้ปฏิบัติงานจริง
3.2.3  การมอบหมายให้นักศึกษาทำหัวข้องานที่ให้เน้นการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งการนำเสนองานที่มอบหมาย
3.2.4  เน้นการศึกษาค้นคว้าทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ
3.3.1 ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
3.3.2 ประเมินจากรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา
3.3.3 ประเมินจากผลงานการศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและผลการนำเสนอ
3.3.4 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.1.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.1.4 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.1.5 มีภาวะผู้นำ
4.2.1 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.2.2 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
4.2.3 ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
4.2.4 ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล 4.2.5 กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน
4.3.1 ประเมินผลจากแบบประเมินตนเองและกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2 ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
4.3.3 สังเกตผลจากการายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
4.3.4 สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
4.3.5 สังเกตพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5.1.1 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.1.2 มีทักษะในการใช้เครื่องมือวิศวกรรมขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง            
5.2.1 มุ่งเน้นการใช้เครื่องมือด้านวิศวกรรมพื้นฐาน งานด้านเครื่องมือวัดและเครื่องมือกล เพื่อใช้สำหรับงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการ
5.2.2 มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ และให้นักศึกษานำเสนองาน
5.3.1 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านทักษะการใช้งานเทคโนโลยีด้านงานวิศวกรรมและการประยุกต์ใช้ทางวิชาชีพ
5.3.2 ประเมินจากผลงานและการนำเสนองานทางด้านปฏิบัติที่ได้รับมอบหมาย
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2.1 สาธิตด้านการปฏิบัติการ โดยอาจารย์ผู้สอน
6.2.2 ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและถูกต้อง
6.3.1 ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการจดบันทึก
6.3.2  พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 สอบกลางภาค(ทดสอบย่อย) สอบปลายภาค(ทฤษฏีที่เรียนมาทั้งหมด) 9 18 15% 15%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน การนำเสนองาน การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา การมีส่วนร่วมงานกลุ่ม การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
[1]  บรรเลง  ศรนิลและประเสริฐ ก๊วยสมบูรณ์,ตารางโลหะ, กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า, 2535
[2]  วิโรจน์  สุวรรณรัตน์,งานเครื่องมือกลเบื้องต้น 1, กรุงเทพฯ : เอมพันธ์, 2538
[3]  ชะลอ การทวี, งานเครื่องมือกลเบื้องต้น, กรุงเทพฯ : เอมพันธ์, 2546
[4]  บุญศักดิ์  ใจจงกิจ, ทฤษฎีเครื่องมือกล, กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2556
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชาการฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรม เช่น ด้านการใช้เทคโนโลยีการผลิตด้านวิศวกรรม  https://www.facebook.com/999-Engineering-Services-1651056628450992/?pnref=story เป็นต้น
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ