กายวิภาค

Anatomy

1.  รู้จักชื่อกระดูกและกล้ามเนื้อที่สำคัญๆ ในร่างกายของคนและสัตว์
2.  เข้าใจระบบหน้าที่การทำงานของกระดูกและกล้ามเนื้อที่สำคัญในร่างกายคนและสัตว์
3.  เข้าใจสัดส่วนร่างกายของมนุษย์ในเพศและวัยต่างๆ
4.  เข้าใจหลักการเขียนภาพคนและสัตว์ในลักษณะท่าทางต่างๆ ได้ถูกต้องตามหลักวิชากายวิภาค
5.   เห็นความสำคัญในการเขียนภาพคนและสัตว์ให้ถูกต้องตามหลักวิชากายวิภาค สามารถนำไปใช้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
---------------------
             ศึกษากระดูกและกล้ามเนื้อของคนและสัตว์ สัดส่วนและรูปลักษณะร่างกายของคนและสัตว์ ทดลองปฏิบัติการเขียนส่วนต่าง ๆ ของคนและสัตว์ในกิริยาท่าทางต่าง ๆ สามารถนำไปใช้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ให้คำปรึกษาแนะนำและตอบข้อสักถามของนักศึกษาเป็นรายบุคคล
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของผู้อื่นและเพื่อนในชั้นเรียน   มีความซื่อสัตย์ในการเรียนและการสอบภาคทฤษฎี โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
4. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
5.  สามารถวิเคราะห์ผลหาข้อสรุปเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน
6. เห็นความสำคัญในการเขียนภาพคนและสัตว์ให้ถูกต้องตามหลักกายวิภาคสามารถนำไปใช้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์  รับผิดชอบและปฏิบัติงานตรงเวลา
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างผลงานที่เกี่ยวกับกายวิภาคที่สำคัญทั้งในและต่างประเทศ
2. แนะนำให้ศึกษาและพัฒนานำเอาข้อดีของผลงานเพื่อนำมาปรับปรุงในผลงานให้ดีขึ้น
3.  ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตน
4. นำผลงานของผู้อื่นมาศึกษาปรับปรุงต้องอ้างอิงถึงทุกครั้ง
1.  พฤติกรรมการเข้าเรียน และตั้งใจฟังการบรรยายด้วยความตั้งใจ
2.  มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำทดลองปฏิบัติการเขียนรูป อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
              ศึกษากระดูกและกล้ามเนื้อของคนและสัตว์ สัดส่วนและรูปลักษณะร่างกายของคนและสัตว์ ปฏิบัติการเขียนส่วนต่าง ๆ ของคนและสัตว์ในกิริยาท่าทางต่าง ๆ สามารถนำไปใช้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
         บรรยายพร้อมนำเสนอเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับระบบโครงสร้างทางกายวิภาคของคนและสัตว์ด้วยการฉายภาพผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์และเปรียบเทียบกับโครงกระดูกจริงของคนและสัตว์หรือรูปปั้นกล้ามเนื้อประกอบภาพถ่ายเพื่อความเข้าใจให้มากขึ้น แนะนำให้ใช้เวลาว่างฝึกเขียนรูปส่วนต่างๆที่เรียนมาไม่ว่าจะเป็นกระดูกหรือกล้ามเนื้อของคนและสัตว์  ให้ทดลองเขียนภาพของกระดูกและกล้ามเนื้อในบางครั้งเมื่อจบบทเพื่อความเข้าใจและนำไปใช้กับงานทัศนศิลป์ได้อย่างถูกต้อง
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2. ประเมินจากผลงานการเขียนภาพตามที่มอบหมาย 
          พัฒนาความสามารถในการฟัง การศึกษา และทำความเข้าใจในระบบและโครงสร้างทางกายวิภาคของคนและสัตว์ ทดลองปฏิบัติการเขียนส่วนต่างๆเพื่อความเข้าใจให้มากและพร้อมนำไปใช้ประกอบการสร้างงานทัศนศิลป์  
          บรรยายพร้อมยกตัวอย่างโครงสร้าง สัดส่วนและโครงกระดูกหรือกล้ามเนื้อของคนและสัตว์ หน้าที่ รูปร่างและให้ทดลองปฏิบัติการเขียนรูปกระดูกหรือกล้ามเนื้อตามแบบที่กำหนด        ให้คำแนะนำแก้ไขปรับปรุงผลงานให้เหมือนแบบมากที่สุด    แนะนำให้ใช้เวลาว่างดู  ศึกษา  และเขียนภาพส่วนต่างๆตามที่เรียนมาเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
1. สอบกลางภาคและปลายภาค  ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2. วัดผลจากผลงานที่ทดลองปฏิบัติการเขียนรูปส่วนต่างๆของร่างกาย
3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
 
1.   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2.  พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3.  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตาม
1.  กำหนดให้แบ่งกลุ่มและรับผิดชอบในการรักษาหุ่นที่นำมาเป็นแบบในการทดลองเขียนรูป
2.  มอบหมายให้แต่ละกลุ่มที่นำหุ่นมาเป็นแบบและนำกลับไปเก็บรักษาอย่างดี
1.   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยการวิจารณ์ผลงานที่ได้ฝึกปฏิบัติ
2.   ประเมินจากความร่วมมือในการแบ่งงานกันอย่างมีระบบ และทำงานเป็นทีม
3.   ประเมินจากการนำเสนอผลงานได้ตามกำหนด    
1. พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  การเขียนรูป  และนำเสนอในชั้นเรียน
2. พัฒนาทักษะในการสืบค้น จากตำรา และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
3. ทักษะในการนำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. นำเสนอเป็นตัวอย่างเพื่อการศึกษา
2. นำเสนอผลงานในรูปแบบที่ต้องการตามความเหมาะสม
1.   ประเมินจากผลงาน และงานที่เสร็จสมบูรณ์
2.  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานและวิธีการนำเสนอ
การพัฒนาทักษะในการเรียนรู้อย่างเข้าใจและนำไปปฎิบัติได้จริงในการสร้างสรรค์ผลงาน
- การนำเอาความรู้ที่เรียนไปแก้ปัญหาร่วมกันกับกลุ่มผู้เรียน
- มีความเข้าใจ สามารถนำความรู้ที่เรียนสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเมินจากสภาพจริงของผลงาน และการพัฒนาของผลงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสรุป
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BFAVA105 กายวิภาค
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1,2.4 – 2.6, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8,17 30%, 30%
2 1.1, 1.6 ,1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2, 4.1 – 4.6, 5.3-5.4 ศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอผลงาน การทำงานกลุ่มและการวิจารณ์ผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
กายวิภาคสำหรับนักศึกษาศิลปะ,กายวิภาคสำหรับผู้ศึกษาศิลปะ,กายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยาของมนุษย์,กายวิภาคศาสตร์ระบบเคลื่อนไหว, Human Anatomy for the Artis, Artistic Anatomy,An Atlas of Anatomy for Artists.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อวิชากายวิภาคทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทั้งรูปภาพและเนื้อหา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนดทุกครั้ง
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบความก้าวหน้าและความเข้าใจในการปฏิบัติงาน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยผลงานสร้างสรรค์เพื่อประกอบการเรียนรู้
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา และสังเกตความก้าวหน้า ความเข้าใจ และพัฒนาของผลการปฏิบัติงาน
4.1  การให้คะแนนจากการตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบโครงงานงาน วิธีการให้คะแนนโครงงานผลงานที่ปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ