เทคโนโลยีสารสนเทศทางการเกษตร

Information Technology for Agriculture

1. รู้และเข้าใจแหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศทางการเกษตร
2. รู้และเข้าใจการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศการเกษตร (GIS)
2. รู้และเข้าใจหลักการติดต่อสื่อสารและกระบวนการใช้และผลิตสื่อสารสนเทศเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
3. เข้าใจการใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการเกษตรมาวางแผนการผลิตผลผลิตทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเกษตร เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับแนวโน้มเทคโนโลยีที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
เพื่อปรับกระบวนการรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฏิบัติอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร แหล่งข้อมูลและการสืบค้นข่าวสารสนเทศทางการเกษตร และข้อมูลภูมิสารสนเทศทางการเกษตร (GIS) รวมทั้งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ทางการเกษตร
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง  นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิก กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย เน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย  มีความซื่อสัตย์โดยไม่กระทำทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านผู้อื่น สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการสอน ในรายวิชา รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น ยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ประโยชน์แก่ส่วนรวม

กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา ประเมินผลจากการทำงานเป็นกลุ่ม ความสัมพันธ์ในกลุ่ม ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย

ไม่มีการทุจริตในการทดสอบ
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ประเมินผลจากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ

ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ

มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
การสอนภาคบรรยายมีการใช้ตัวอย่างที่เหมะสม พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ อภิปรายกลุ่ม  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ

เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม เพื่อแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษากับนักศึกษาในชั้นเรียน
สอบกลางภาคและปลายภาค วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม

สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
จัดกิจกรรมกลุ่มในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์กับชีวิต มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล

การนำเสนอรายงาน
ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม

ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม

สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning

นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี

ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
มีทักษะทางวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
มอบหมายงานให้ผลิตชิ้นงานตามวัตถุประสงค์ในการผลิตสื่อที่ใช้ในการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 
ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 และ 16 50 คะแนน
2 3.1 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่ม ผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ทุกสัปดาห์ 40 คะแนน
3 1.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10 คะแนน
1.1 ทำนอง  สิงคาลวนิช. 2525. ความหมาย ปรัชญานโยบายและวัตถุประสงค์ ของการส่งเสริมการเกษตร. ในเอกสารการสอนชุดวิชา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.
1.2 บุญธรรม จิตต์อนันต์. 2536. ส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
1.3 วิจิตร อาวะกุล. 2535. หลักการส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
1.4 ส่งเสริมการเกษตร, กรม. 2540. แผนพัฒนาส่งเสริมการเกษตร พ.ศ. 2540 – 2544. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร. (อัดสำเนา)
1.5 เอกชัย โอเจริญ และ ธุวนันท์ พานิชโยทัย. 2540. พัฒนาการระบบส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร.
2.1      กรมส่งเสริมการเกษตร. 2557. นโยบายและแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ปีงบประมาณ 2557. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (เอกสารเผยแพร่)
2.2      วีดีทัศน์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
2.3         วีดีทัศน์รูปแบบการปลดหนี้หมู่บ้านสามขา
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา www.nstda.or.th/index.php
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชk
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การประยุกต์ใช้สิ่งที่นักศึกษาได้เรียนในรูปแบบการนำเสนอแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การขอรับคำปรึกษาและสังเกตการณ์ของผู้สอน
3.1 รวบรวมปัญหาการเรียนของนักศึกษาและแนวทางแก้ไข โดยทำการสำรวจเบื้องต้นจากผลการประเมินการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การทำวิจัยในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ
3.2 การจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน
4.1  มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง
4.2  ให้นักศึกษามีโอกาสตรวจสอบคะแนนก่อนส่งเกรด
4.3 การพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาเดียวกันของแต่ละกลุ่มกับผลการประเมินพฤติกรรม
5.1 นำผลที่ได้จากการประเมินของนักศึกษา คะแนนสอบ นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองพัฒนาความคิดที่หลากหลาย