ปฏิบัติการโรงงานเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งถาวร

Build-in Furniture Workshop

       เพื่อให้นักศึกษาได้รู้วิธีการใช้เครื่องจักรกลงานไม้ เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ ในการผลิตเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร (Built-in Furniture) โดยการศึกษาการเขียนแบบที่ใช้สำหรับการผลิต การวางแผนการผลิต การประกอบชิ้นงาน อุปกรณ์ช่วยการผลิตและการเคลือบผิว ตลอดจนการตรวจสอบคุณภาพ ชิ้นงาน
2.1 รู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลงานไม้ วัสดุ อุปกรณ์การผลิตเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร (Built-in Furniture) 
2.2 เข้าใจระบบการผลิตเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร (Built-in Furniture) 
2.3 เข้าใจการเขียนแบบ วางแผน ส่วนประกอบ อุปกรณ์ การเคลือบผิว และการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร (Built-in Furniture) 
               ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ประเภทต่างๆ ที่ติดตั้งแบบยึดติดกับตัวอาคาร ขนาดสัดส่วน ประโยชน์ใช้สอย วัสดุ และอุกรณ์ที่ใช้ในการผลิต กรรมวิธีการผลิต การประกอบ ติดตั้ง รวมทั้งการเคลือบผิว หรือตกแต่งผิว
ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษา โดยการใช้ช่วงเวลาหลังจากการเรียนการสอน เป็นเวลา 15 นาที และให้นักศึกษาติดต่ออาจารย์ผู้สอน
ให้สัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
   1.เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละและ ซื่อสัตย์สุจริต
   2.มีวินัย ตรงต่อเวลา และ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
   3.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ
   4.เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
   5.เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
   6.สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
   7.มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ
   8.เข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
             พร้อมทั้งปลูกฝังความมีวินัย ใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และความมีน้ำใจ เช่น นักศึกษารู้หน้าที่ (เข้าเรียนตรงเวลา และครบถ้วนตามเกณฑ์) รู้กาลเทศะ (แต่งกายตามระเบียบมหาวิทยาลัย เข้าห้องเรียนตรงเวลา แจ้ง และส่งใบลาหากมีกิจธุระจำเป็น หรือเจ็บป่วย รักษามรรยาทในสังคม เคารพสิทธิผู้อื่น) เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (เตรียมพร้อมก่อนเรียน ทราบหัวข้อที่จะเรียน และวัตถุประสงค์การเรียนรู้ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น ตอบคำถาม อภิปราย)สามารถนำผลการเรียนรู้ไปประกอบวิชาชีพ หรือใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน และผู้อื่น มีสำนึกไทย สำนึก และภาคภูมิใจในวิชาชีพ รู้จริยธรรมในวิชาชีพ ฯลฯ
          การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการบรรยายเนื้อหาหลักของรายวิชา และการฝึกทักษะปฏิบัติการคิด วิเคราะห์ โดยแสดงลำดับการคิดตามทฤษฎีและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ และเน้นให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานจริง กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ และฝึกฝนทักษะตามหลักการของเหตุและผล พยายามชี้ให้เห็นความสัมพันธ์กับการนำไปใช้งานจริง และใช้สื่อประกอบการคิดคำนวณและฝึกทักษะเพื่อให้เข้าใจง่าย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะความสามารถในการค้นคว้าด้วยตนเอง มีการมอบหมายงานให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะ รู้จักวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง รู้จักการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารกับผู้อื่น ทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สอดแทรกเนื้อหา หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมในตนเองและวิชาชีพ โดย
   1.กำหนดหัวข้อในการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นวัตถุประสงค์ของรายวิชา
   2.แบบทดสอบย่อยในชั่วโมงเรียนหรือการบ้าน สำหรับเนื้อหาในแต่ละบทเรียน
   3.ใช้ความสามารถและเทคนิคถ่ายทอด อาทิ เรื่องเล่า ประสบการณ์ กรณีศึกษา
   4.มอบหมายงานการค้นคว้า และฝึกทักษะ เพื่อการนำเสนอ
   5.บันทึกพฤติกรรมระหว่างการเรียน
   1.ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน (แต่งกาย ตรงต่อเวลา มรรยาทในสังคม)
   2.ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน(การอภิปรายผล การตอบคำถาม )
   3.ประเมินผลจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัตินำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย(การเตรียมตัว ทักษะในการสื่อสาร
การใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลงานไม้ วัสดุและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิตชิ้นงานเครื่องเรือน การกำหนดรายละเอียดขั้นตอนการผลิต  ชิ้นส่วน ชิ้นงาน  ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ  เครื่องจักรกลงานไม้  ทักษะความรู้จากการฝึกปฏิบัติ การลงมือทำการผลิตชิ้นงานเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร (Built-in Furniture)
การสอนแบบอธิบายความเข้าใจ  เอกสารประกอบการสอน เนื้อหาจากเอกสารที่ได้รับ การฝึกปฏิบัติจากการลงมือทำจริง การผลิตเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร (Built-in Furniture)
2.3.1 การให้คะแนนจากการฝึกทักษะการปฏิบัติจากเครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์
2.3.2  การให้คะแนนจากการฝึกปฏิบัติจริง ด้วยความปลอดภัย
2.3.3  การให้คะแนนจากผลงานชิ้นงานที่นักศึกษาได้ดำเนินการ
การฝึกปฏิบัติงานจริงกับชิ้นงานที่กำหนดไว้ การแก้ไขปัญหา ระหว่างการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลงานไม้  ความปลอดภัยที่  ต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการใช้เครื่องมือ  เครื่องจักรกล งานไม้ที่มีความคม
3.2.1 การตรวจสอบความพร้อมของเครื่องจักรกลงานไม้ทุกครั้ง ก่อนการลงมือปฏิบัติงานจริง
3.3.1 การให้คะแนนการตรวจสอบความพร้อมของเครื่องจักรกล งานไม้ทุกครั้งก่อนการลงมือปฏิบัติงานจริง
4.1.1 การศึกษาและการฝึกปฏิบัติบ่อยครั้งอย่างต่อเนื่องของนักศึกษา
4.2.1 การปฏิบัติการผลิตชิ้นงานที่มอบหมายให้นักศึกษา ตามขั้นตอนการผลิตชิ้นงานเครื่องเรือนติดตั้งถาวร (Built-in Furniture)
4.2.2 การใช้เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุและอุปกรณ์
4.3.1 การตรวจให้คะแนนผลงานชิ้นงานที่มอบหมายให้ นักศึกษา แต่ละคนตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ก่อนการปฏิบัติงาน จนถึงได้ผลงานชิ้นงานสำเร็จ
5.1.1   สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การหาข้อมูลจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.3.1  ประเมินผลจากผลงานที่ให้ไปค้นคว้าและรายงานที่ได้รับมอบหมาย
6.1.1   มีทักษะด้านออกแบบและใช้เครื่องมือปฏิบัติงานสองมิติ
6.1.2   มีทักษะในการสร้างหรือผลิตหุ่นจำลอง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบเครื่องเรือนติดตั้งถาวร (Built-in Furniture)
6.1.3   มีทักษะด้านแนวคิดทางการออกแบบ ด้านความงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย
6.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างแนวคิดในการออกแบบและนำเสนองานออกแบบ
6.2.2   ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติสร้างผลงานสองมิติและสามมิติ เพื่อเป็นต้นแบบผลิต
6.2.3   มอบหมายให้นักศึกษาผลิตต้นแบบ ชิ้นงานออกแบบเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร (Built-in Furniture)
6.3.1  ประเมินจากผลงานที่ได้ปฏิบัติงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ตามกระบวนการออกแบบ เขียนแบบ และปฏิบัติงานผลิตชิ้นงานออกแบบเครื่องเรือนติดตั้งถาวร (Built-in Furniture)
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 4 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BAAID143 ปฏิบัติการโรงงานเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งถาวร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - ความสนใจในการเรียน และลักษณะนิสัยในการทำงาน - การทำรายงานการศึกษาค้นคว้าพิเศษทางสื่ออีเล็กทรอนิกส์ - ประเมินจากระดับผลงานที่ปฏิบัติในแต่ละใบงานที่กำหนด - ความสมบูรณ์ของแผนการผลิตชิ้นงาน ละความเหมาะสมในการเลือกใช้เครื่องมือในการผลิต - ความสมบูรณ์ของชิ้นงานขึ้นรูป เช่น สัดส่วน ขนาด ผิวชิ้นงาน เป็นต้น - ประเมินจากความถูกต้องของขนาด และสัดส่วนของชิ้นงานที่นักศึกษากำหนด ภายใต้หัวข้อเครื่องเรือนติดตั้งถาวร (Built-in) คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 70%
2 ประเมินจากผลการทดสอบ สอบกลางภาคและปลายภาค สัปดาห์ที่ 9,17 30%
ดำเนิน  คงพาลา. (2550). เทคโนโลยีงานสี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์  ส.ส.ท.  ปนันดา  นิรนาทล้ำพงศ์  และคณะ.  (2545).  การสึกหรอ  :  ความรู้เบื้ยงต้นและการป้องกัน.  กรุงเทพมหานคร  :  ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  กระทรวงวิทยาศาสตร์  เทคโนฌลยีและสิ่งแวดล้อม.  ศุภโชค  วิริยโกศล.  (2532).  กระบวนการขัดและแต่งผิว.  (พิมพ์ครั้งที่ 4).  สงขลา  :  ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่.  เสาวรสน์  ช่วยจุลจิตน์.  (2543).  วัสดุศาสตร์มูลฐาน.  กรุงเทพมหานคร  :  ภาควิชาวัสดุศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  อรอุษา  สรวารี.  (2544).  สารเคลือบผิว (สี วาร์นิช และแลกเกอร์).  (พิมพ์ครั้งที่ 2).  กรุงเทพมหานคร :  ภาควิชาวัสดุศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา ได้ทำการจัดกิจกรรมเพื่อนำเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลของรายวิชา ดังนี้            1.  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา            2.  การให้นักศึกษาเสนอข้อคิดเห็นต่างๆเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการประเมิน            3.  ผู้สอนและนักศึกษาร่วมกันอภิปรายเกณฑ์ และข้อกำหนดต่างๆในการประเมินผล            4.  ร่วมกันสังเคราะห์และปรับปรุงวิธีการ เกณฑ์ และเครื่องมือในการประเมินผลร่วมกันระหว่างผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญ และนักศึกษา
ใช้การสร้างเครื่องมือในการประเมินผลการสอนที่หลากหลาย กำหนดสถานการณ์ในการประเมินผลการสอนที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ของผู้เรียน
   ร่วมกันสังเคราะห์และปรับปรุงวิธีการสอนร่วมกันระหว่างผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญ และนักศึกษา การวิจัยในชั้นเรียน การศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
 
 การทบสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา อาศัยทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอน การทวนสอบทั้งกระบวนการ ผลลัพธ์และผลสัมฤทธิ์เพื่อยืนยันว่าผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ผลการประเมินการสอนนั้นมีความน่าเชื่อถือ การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของรายวิชาของนักศึกษา ดำเนินการทุครั้งที่มีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชานี้      ทวนสอบจากการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน (ลักษณะนิสัย ได้แก่ การเข้าเรียน และการสังเกต   พฤติกรรรม)  โดยผู้ร่วมรับผิดชอบรายวิชา การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในหน่วยการเรียนที่ได้เรียนผ่านไปแล้ว โดยผู้เรียนและนักศึกษาร่วมกันทวนสอบผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น มีการตั้งคณะกรรมการในสาขา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน 
ปรับปรุงเนื้อหาและกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนในทุกๆภาคเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอน หรือตามข้อเสนอแนะจากผลการทวนสอบตามมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ในข้อที่ 4 ปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาตามข้อสรุปผลการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน