คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบแฟชั่น

Computer for fashion Design

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการออกแบบแฟชั่นด้วยคอมพิวเตอร์   การสร้างมู๊ดบอร์ด (Mood board)  ของคอลเล็คชั่นเสื้อผ้า  การภาพวาดเสื้อผ้าแบบ 2 มิติ (Flat Sketch) และแบบ 3 มิติ การใส่ลวดลายให้ชิ้นงาน และการสร้างภาพแฟชั่น เสมือนจริง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะขั้นพื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบแฟชั่น เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในรายวิชาอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง  อย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานสากล
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบแฟชั่นด้วยคอมพิวเตอร์   การสร้างมู๊ดบอร์ด (Mood board) ของคอลเล็คชั่นเสื้อผ้า  การภาพวาดเสื้อผ้าแบบ 2 มิติ (Flat Sketch) และแบบ 3 มิติ การใส่ลวดลายให้ชิ้นงาน และการสร้างภาพแฟชั่น เสมือนจริง
-    อาจารย์ประจำรายวิชา  แจ้งรายละเอียดในการให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรกของการสอน  
-    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
การเคารพสิทธิทางปัญญา ในด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเนื้อหาดิจิทัล
การใช้โปรแกรมที่ถูกลิขสิทธิ์ในการเรียนการสอน และวิธีการระบุสิทธิในงานออกแบบ โดยเฉพาะเนื้อหาเรื่อง Creative Common
ประเมินการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการทำงานของนักศึกษา และการระบุสิทธิในผลงานของตนเอง
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบแฟชั่นด้วยคอมพิวเตอร์   การสร้างมู๊ดบอร์ด (Mood board) ของคอลเล็คชั่นเสื้อผ้า  การวาดแบบเสื้อผ้า (Flat Sketch) การใส่ลวดลายให้ชิ้นงาน และการสร้างภาพแฟชั่นเสมือนจริง
การบรรยาย การสาธิต การอภิปราย การทดลอง และการปฏิบัติงาน
การถามตอบ การทดสอบ และการนำเสนอผลงานจากการปฏิบัติงานของนักศึกษา
พัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์กับการปฏิบัติงานด้านการออกแบบแฟชั่น
ให้นักศึกษาทดลองปฏิบัติงานจากตัวอย่างในการปฏิบัติงานจริง
วัดผลจากการประเมินจากการนำเสนอผลงาน
พัฒนาความรับผิดชอบในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา ทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม
มอบหมายงานให้ศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง และมอบหมายงานปฏิบัติทั้งแบบรายกลุ่มและรายบุคคล
ประเมินจากผลการเรียน และผลงานนำเสนอทั้งแบบกลุ่ม และรายบุคคล
พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อใช้ในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และแนะนำรูปแบบการเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 43042420 คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบแฟชั่น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1 2.3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 ร้อยละ 30
2 2.1 3.1.1-3.1.2 4.1.1-4.1.2 5.1.1-5.1.2 การปฏิบัติงานและผลงาน ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 60
3 1.1.2-1.1.5 4.1.1 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
1. Hopkins, J. (2010). Fashion Drawing. Switzerland, AVA Publishing SA.
2. Marianne Centner, F. V. (2007). Fashion Designer's Handbook for Adobe Illustrator Singapore, Blackwell Publishing Ltd.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในการเรียน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์