การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน

Internal Audit and Internal Control

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการกำกับดูแลกิจการ แนวคิดความหมาย วัตถุประสงค์และความสำคัญของการตรวจสอบภายใน มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในหลักธรรมมาภิบาล บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบประเภทของการตรวจสอบภายใน  วัตถุประสงค์และองค์ประกอบของการควบคุมภายใน หลักและวิธีการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO การจัดการความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management : ERM) เทคนิคและวิธีการตรวจสอบ การตรวจสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน โครงสร้างองค์กรและการบริหารงานตรวจสอบภายใน การวางแผนและวิธีการจัดทำแนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบภายในวงจรต่างๆ ที่สำคัญ เช่น การเงิน บริหารสินค้าคงเหลือ บริหารทรัพยากรบุคคล การเสนอรายงานการตรวจสอบภายในและการติดตามผล หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายในต่อการทุจริตในองค์กร
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาการกำกับดูแลกิจการ แนวคิดความหมาย วัตถุประสงค์และความสำคัญของการตรวจสอบภายใน มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในหลักธรรมมาภิบาล บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบประเภทของการตรวจสอบภายใน วัตถุประสงค์และองค์ประกอบของการควบคุมภายใน หลักและวิธีการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO การจัดการความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management : ERM) เทคนิคและวิธีการตรวจสอบ การตรวจสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน โครงสร้างองค์กรและการบริหารงานตรวจสอบภายใน การวางแผนและวิธีการจัดทำแนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบภายในวงจรต่างๆ ที่สำคัญ เช่น การเงิน บริหารสินค้าคงเหลือ บริหารทรัพยากรบุคคล การเสนอรายงานการตรวจสอบภายในและการติดตามผล หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายในต่อการทุจริตในองค์กร
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 7 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์              สามารถติดต่อได้ทางโทรศัพท์ ทางกลุ่มไลน์ และทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
สร้างวัฒนธรรมองค์กร เพื่อปลูกจิตรสำนึกขั้นพื้นฐานให้กับนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรสาขาในการรักษาระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย ความมีส่วนร่วมในการพัฒนาสาขาและมหาวิทยาลัย การสอนสอดแทกรในเรื่งอคุรธรรม จริยธรรมในรายวิชาที่สอน กำหนดกติกาการเข้าเรียน การส่งงานและการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในชั้นเรียน การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการบรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา โดยอภิปรายกลุ่ม การสอนแบบเน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น จากทางเว็ปไซด์ของสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย www.theiiat.or.th สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ www.fap.or.th กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th และให้นักศึกษาหากรณีศึกษาและตัวอย่างจากเว็ปไซด์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการสอน

การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง เช่น ให้นักศึกษาแสดงความต้องการอยากทราบในสิ่งที่ผู้ตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยได้นำมาปฏิบัติและเล่าสู่ประสบการณ์
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1.3.5 ประเมินผลจากการสรุปผลภาพรวมของกิจกรรมสัมมนาเชิงวิชาการ
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ภาระหน้าที่ ของผู้เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ ประเภทข้อมูล แหล่งที่มาของสารสนเทศ ประโยชน์ของระบบอินทราเน็ตเชิงธุรกิจ ความเกี่ยวข้องของระบบสารสนเทศในชีวิตประจำวัน และธุรกิจ องค์ประกอบระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการระบบฐานความรู้ หลักการและขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ จรรยาบรรณ จริยธรรมของผู้เกี่ยวข้อง ผลกระทบของการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อบุคคลและสังคม การป้องกันอันตราย หรือภัยจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยี
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ธุรกิจ หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา
5.1.6 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การสอบกลางภาค , การสอบปลายภาค 9 , 18 40% , 30%
2 1,2,3,4,5 กรณีศึกษา ทุกสัปดาห์ 10%
3 2,3,4,5 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน ตามความเหมาะสม 10%
4 1,2,3,4,5 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง ทุกสัปดาห์ 10%
1.1 แนวทางการตรวจสอบภายใน ฉบับนักศึกษา.สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย.กรุงเทพฯ: บริษัท ทรงสิทธิวรรณ จำกัด.
1.2 จันทนา สาขากร และคณะ (2557) การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน” พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2.1 สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย.มาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน
2.2 บทความในวารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการตรวจสอบและการควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการ ที่เผยแพร่ในเว๊บไซด์ ขององค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
3.1 ข้อมูลในเว็บไซด์ ของสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย และของกรมบัญชีกลาง
3.2 ข้อมูลในเว็บไซด์ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กรเชิงบูรณาการ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ประเมินจากแนวคิดและความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอน โดยการใช้แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
การประเมินจากผลงานนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย และการประเมินจากผลการศึกษาของนักศึกษาผ่านการทดสอบกลางภาคและปลายภาค การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา และการอภิปรายโต้ตอบจากนักศึกษาที่ผ่านการมอบหมายงานและกิจกรรมที่ทำร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
นำผลที่ได้จากการประเมินในข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการเรียนการสอนโดยการปรึกษากับคณาจารย์ในหลักสูตร
มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้รายวิชา โดยการทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ การทวนสอบจากพฤติกรรมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา และการทวนสอบจากงานที่ได้รับมอบหมายและการนำเสนอผลงาน
นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินจากข้อ 1 และ 2 มาวางแผนเพื่อปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชา โดยการปรับปรุงแผนการสอน มคอ.3 ทุกปีการศึกษา ได้แก่
จุดอ่อนของผู้สอนในภาคเรียนที่ 1/2561 ด้านการประเมินผลงานนักศึกษา ซึ่งนักศึกษามีความต้องการให้แจ้งผลสอบให้ทราบและได้ชี้แจงการปรับปรุงแต่ไม่มีการแจ้งคะแนนที่ได้รับซึ่งผู้สอนก็ได้มีการระบุเป็นปัญหาพร้อมข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขในผลการเรียนรู้ทักษะทางปัญญาไว้แล้ว และผู้สอนก็ได้มอบหมายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การจัดโครงการจากคลิปวิดีโอที่ผู้สอนให้ชม และผู้สอนมีคำถามนำเพื่อผู้เรียนจะได้ระดมสมองการจัดกิจกรรมในโครงการ พบว่า ผู้เรียนมีจุดอ่อนด้านการ วิเคราะห์ ซึ่งจะเห็นได้จากการตอบคำถามในแบบฝึกหัดท้ายบทส่วนใหญ่ไม่มีการขยายความ ผู้สอนต้องใช้คำถามนำเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการนำเอาความรู้ที่ได้มาคิดต่อยอด และวิเคราะห์ได้ ผู้สอนได้มีการแจ้งผลการประเมินแต่ไม่แจ้งคะแนนโดยให้ผู้เรียนแก้ไขให้ถูกต้อง เช่น มีการนำคำตอบของผู้เรียนที่วิเคราะห์โจทย์ได้อย่างถูกต้องมาเป็นต้นแบบเพื่อเกิดการเรียนรู้

ดังนั้น ในภาคเรียนที่ 1/2562 ผู้สอนจะเพิ่มวิธีการสอนอีก 1 รูปแบบ คือให้นักศึกษาได้ลงปฏิบัติภาคสนามในสัปดาห์ที่ 16-17 เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะทางปัญญาให้มีการพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์